Skip to main content

แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก

สาเหตุที่ต้องพูดถึงคนกลุ่มนี้ก็เพราะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาลจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตในยุคดิจิทัล รวมไปถึงความสำเร็จของศาสตร์การบริหารธุรกิจและจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดค้นระบบการจ้างงานชั่วคราว จ้างเหมาชิ้น รายบริการ รายงาน ไม่จ้างงานระยะยาวเป็นพนักงานประจำอีกต่อไป

บางท่านอาจจะแย้งว่าอาชีพศิลปิน ดารา นักแสดงเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วก็จริง และยิ่งต้องพิเคราะห์ให้เห็นโศกนาฏกรรมของอดีตศิลปินผู้โด่งดังที่ในท้ายที่สุดมีข่าวว่าอดอยาก ตกอับ อาภัพ ไม่มีช่องทางในการประทังชีวิต   หากเราเหมารวมว่าเป็นความล้มเหลวจากความชั่ว หรือพฤติกรรมย่ำแย่ส่วนบุคคล เราจะไม่สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย

ก่อนที่มนุษย์จะสูญเสียงานโดยการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ มนุษย์โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่ใช้ความรู้ในการสร้างสรรค์งานที่ได้กล่าวไปข้างต้น เริ่มสูญเสียความมั่นคงทางเศรษฐกิจไปมากแล้ว ด้วยเหตุของความเปลี่ยนแปลงในระบบการจ้างงานยืดหยุ่น จ้างรายชิ้น หรือแม้กระทั่งจ้างเหมาช่วง สับแบ่งเป็นทอดๆ แบบที่เราเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน

สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนี้ได้เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้วในประเทศที่ระดับการศึกษาของประชากรสูงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมอุตสาหกรรม ภาคบริการและพาณิชย์ เข้าสู่ภาคสร้างสรรค์ คนจำนวนมากผลิตความรู้ งานศิลปะ การแสดง และข้อมูลจำนวนมาก เพื่อแลกเปลี่ยนกับรายได้  ซึ่งมีตัวกลางเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ บริษัทสื่อ โปรดักชั่นรายใหญ่ เป็นนายจ้าง

แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพการผลิตของผู้ผลิตเนื้อหารายย่อยอย่างมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน บรรษัทก็เริ่มเห็นช่องทางในการปรับรูปแบบบริหารจัดการให้เข้ากับเป้าหมายในการแสวงหาผลกำไรสูงสุด และลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดเช่นกัน นั่นคือ ระบบการจ้างงานยืดหยุ่น ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายแรงงานทั้งหลาย

Greig de Peuter ได้นำเสนอวิธีการมองกลุ่มคนทำงานรับจ้างอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านบทความเรื่อง Beyond the Model Worker: Surveying a Creative Precariat โดยชี้ให้เห็นว่าภาวะ การพึ่งพิงตนเอง การแบกรับความเสี่ยงไว้ลำพัง ปราศจากการรวมกลุ่มเป็นสหภาพ และต้องขูดรีดตัวเอง มักปรากฏกอยู่ในสภาพการจ้างงานและดำรงชีพของแรงงานอิสระที่ถูกจ้างในระบบการจ้างงานยืดหยุ่นของภาคอุตสาหกรรมเสมอ และเขายังได้ย้ำว่าสภาวะเช่นว่าถือเป็นตัวแบบที่ชัดเจนของการจ้างงานในระบบทุนนิยมร่วมสมัย    

แม้จะมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองจำนวนมากเสนอว่ารูปแบบการจ้างงานยืดหยุ่น หรือการจ้างงานไร้มาตรฐาน (Nonstandard Employment) ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฏการณ์ของวิธีบริหารจัดการตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการในยุคหลังระบบการผลิตและจ้างงานในโรงงานแบบสายพานการผลิต (Post-Fordism)   แต่เขาโต้แย้งว่าแนวคิดดังกล่าวให้มุมมองที่ไม่เพียงพอในการวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นเหตุขัดขวางศักยภาพของแรงงานรับจ้างอิสระในภาคสร้างสรรค์ที่จะประชันบทบาทและแสดงออกตนให้สังคมรับรู้สภาพปัญหา   

เขาได้ทบทวนงานวิจัยและกรณีศึกษาที่แรงงานรับจ้างอิสระในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะ สื่อ และวัฒนธรรม ได้ต่อสู้เรียกร้องร่วมกันอันเนื่องมาจากสภาพปัญหาที่เกิดจากการจ้างงานไร้มาตรฐาน (Nonstandard Employment)  โดยบทความได้เน้นไปที่งานวิจัยหลัก 3 ประเด็น คือ

  1. ลักษณะสัญญาจ้างงาน และสถานะในการรับจ้างแต่ละแบบนำไปสู่ การริเริมและรูปแบบขบวนการการรวมกลุ่มและเรียกร้องสิทธิหรือไม่อย่างไร
  2. การต่อสู้เรื่องค่าตอบแทน โดยชี้ให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดระบบให้แสดงหรือทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จนกลายเป็นประเด็นเรียกร้องร้องร่วมกัน
  3. การยึดครองพื้นที่เพื่อแสดงออก แสดงตัวอย่างการรวมกลุ่มกันของเหล่าแรงงานรับจ้างอิสระในพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสียงให้สังคมรับทราบถึงสภาพปัญหาความทุกข์ยากของชีวิต ในลักษณะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

โดยผู้เขียนพยายามหลีกเลี่ยงการถูกดูเบาความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการชี้ให้เห็นว่ามิใช่เพียงการจ้างงานในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้นที่เกิดปัญหานี้ แต่การจ้างงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้สร้างปัญหาอันเนื่องมาจากการจ้างงานไร้มาตรฐาน

                ในท้ายที่สุดเขาได้เสนอให้เห็นว่าการต่อสู้ด้วยวิธีการรวมกลุ่มของแรงงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในกรณีต่างๆ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาไว้ 3 ทิศทางหลัก คือ

  1. การค่อย ๆ ปรับตัวให้สามารถดำรงชีพอยู่กับความสัมพันธ์ในการจ้างงานแบบนี้ได้
  2. การพยายามเข้าไปปรับปรุงระบบความสัมพันธ์แรงงานให้ดีขึ้น
  3. การปฏิรูประบอบเศรษฐกิจและการผลิตอย่างถึงรากถึงโคน

คงถึงเวลาแล้วที่ทั้งนายจ้าง ผู้รับจ้างอิสระ หรือแม้กระทั่งภาครัฐ รวมไปถึงผู้ผลิตนโยบายการเมืองเพื่อแข่งขันแย่งคะแนนเสียงในสนามเลือกตั้ง ต้องมองให้เห็นปัญหานี้ คนกลุ่มเสี่ยงนี้ ไม่ว่าจะในแง่การสร้างนโยบายเพื่อชัยชนะทางการเมือง หรือวางมาตรการพัฒนาสังคมลดความเหลื่อมล้ำอันเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2