Skip to main content

แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก

สาเหตุที่ต้องพูดถึงคนกลุ่มนี้ก็เพราะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาลจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตในยุคดิจิทัล รวมไปถึงความสำเร็จของศาสตร์การบริหารธุรกิจและจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดค้นระบบการจ้างงานชั่วคราว จ้างเหมาชิ้น รายบริการ รายงาน ไม่จ้างงานระยะยาวเป็นพนักงานประจำอีกต่อไป

บางท่านอาจจะแย้งว่าอาชีพศิลปิน ดารา นักแสดงเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วก็จริง และยิ่งต้องพิเคราะห์ให้เห็นโศกนาฏกรรมของอดีตศิลปินผู้โด่งดังที่ในท้ายที่สุดมีข่าวว่าอดอยาก ตกอับ อาภัพ ไม่มีช่องทางในการประทังชีวิต   หากเราเหมารวมว่าเป็นความล้มเหลวจากความชั่ว หรือพฤติกรรมย่ำแย่ส่วนบุคคล เราจะไม่สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย

ก่อนที่มนุษย์จะสูญเสียงานโดยการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ มนุษย์โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่ใช้ความรู้ในการสร้างสรรค์งานที่ได้กล่าวไปข้างต้น เริ่มสูญเสียความมั่นคงทางเศรษฐกิจไปมากแล้ว ด้วยเหตุของความเปลี่ยนแปลงในระบบการจ้างงานยืดหยุ่น จ้างรายชิ้น หรือแม้กระทั่งจ้างเหมาช่วง สับแบ่งเป็นทอดๆ แบบที่เราเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน

สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนี้ได้เกิดขึ้นก่อนหน้าแล้วในประเทศที่ระดับการศึกษาของประชากรสูงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมอุตสาหกรรม ภาคบริการและพาณิชย์ เข้าสู่ภาคสร้างสรรค์ คนจำนวนมากผลิตความรู้ งานศิลปะ การแสดง และข้อมูลจำนวนมาก เพื่อแลกเปลี่ยนกับรายได้  ซึ่งมีตัวกลางเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ บริษัทสื่อ โปรดักชั่นรายใหญ่ เป็นนายจ้าง

แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพการผลิตของผู้ผลิตเนื้อหารายย่อยอย่างมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน บรรษัทก็เริ่มเห็นช่องทางในการปรับรูปแบบบริหารจัดการให้เข้ากับเป้าหมายในการแสวงหาผลกำไรสูงสุด และลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดเช่นกัน นั่นคือ ระบบการจ้างงานยืดหยุ่น ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายแรงงานทั้งหลาย

Greig de Peuter ได้นำเสนอวิธีการมองกลุ่มคนทำงานรับจ้างอิสระในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านบทความเรื่อง Beyond the Model Worker: Surveying a Creative Precariat โดยชี้ให้เห็นว่าภาวะ การพึ่งพิงตนเอง การแบกรับความเสี่ยงไว้ลำพัง ปราศจากการรวมกลุ่มเป็นสหภาพ และต้องขูดรีดตัวเอง มักปรากฏกอยู่ในสภาพการจ้างงานและดำรงชีพของแรงงานอิสระที่ถูกจ้างในระบบการจ้างงานยืดหยุ่นของภาคอุตสาหกรรมเสมอ และเขายังได้ย้ำว่าสภาวะเช่นว่าถือเป็นตัวแบบที่ชัดเจนของการจ้างงานในระบบทุนนิยมร่วมสมัย    

แม้จะมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองจำนวนมากเสนอว่ารูปแบบการจ้างงานยืดหยุ่น หรือการจ้างงานไร้มาตรฐาน (Nonstandard Employment) ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปรากฏการณ์ของวิธีบริหารจัดการตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการในยุคหลังระบบการผลิตและจ้างงานในโรงงานแบบสายพานการผลิต (Post-Fordism)   แต่เขาโต้แย้งว่าแนวคิดดังกล่าวให้มุมมองที่ไม่เพียงพอในการวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นเหตุขัดขวางศักยภาพของแรงงานรับจ้างอิสระในภาคสร้างสรรค์ที่จะประชันบทบาทและแสดงออกตนให้สังคมรับรู้สภาพปัญหา   

เขาได้ทบทวนงานวิจัยและกรณีศึกษาที่แรงงานรับจ้างอิสระในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะ สื่อ และวัฒนธรรม ได้ต่อสู้เรียกร้องร่วมกันอันเนื่องมาจากสภาพปัญหาที่เกิดจากการจ้างงานไร้มาตรฐาน (Nonstandard Employment)  โดยบทความได้เน้นไปที่งานวิจัยหลัก 3 ประเด็น คือ

  1. ลักษณะสัญญาจ้างงาน และสถานะในการรับจ้างแต่ละแบบนำไปสู่ การริเริมและรูปแบบขบวนการการรวมกลุ่มและเรียกร้องสิทธิหรือไม่อย่างไร
  2. การต่อสู้เรื่องค่าตอบแทน โดยชี้ให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดระบบให้แสดงหรือทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จนกลายเป็นประเด็นเรียกร้องร้องร่วมกัน
  3. การยึดครองพื้นที่เพื่อแสดงออก แสดงตัวอย่างการรวมกลุ่มกันของเหล่าแรงงานรับจ้างอิสระในพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสียงให้สังคมรับทราบถึงสภาพปัญหาความทุกข์ยากของชีวิต ในลักษณะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

โดยผู้เขียนพยายามหลีกเลี่ยงการถูกดูเบาความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการชี้ให้เห็นว่ามิใช่เพียงการจ้างงานในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้นที่เกิดปัญหานี้ แต่การจ้างงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้สร้างปัญหาอันเนื่องมาจากการจ้างงานไร้มาตรฐาน

                ในท้ายที่สุดเขาได้เสนอให้เห็นว่าการต่อสู้ด้วยวิธีการรวมกลุ่มของแรงงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในกรณีต่างๆ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาไว้ 3 ทิศทางหลัก คือ

  1. การค่อย ๆ ปรับตัวให้สามารถดำรงชีพอยู่กับความสัมพันธ์ในการจ้างงานแบบนี้ได้
  2. การพยายามเข้าไปปรับปรุงระบบความสัมพันธ์แรงงานให้ดีขึ้น
  3. การปฏิรูประบอบเศรษฐกิจและการผลิตอย่างถึงรากถึงโคน

คงถึงเวลาแล้วที่ทั้งนายจ้าง ผู้รับจ้างอิสระ หรือแม้กระทั่งภาครัฐ รวมไปถึงผู้ผลิตนโยบายการเมืองเพื่อแข่งขันแย่งคะแนนเสียงในสนามเลือกตั้ง ต้องมองให้เห็นปัญหานี้ คนกลุ่มเสี่ยงนี้ ไม่ว่าจะในแง่การสร้างนโยบายเพื่อชัยชนะทางการเมือง หรือวางมาตรการพัฒนาสังคมลดความเหลื่อมล้ำอันเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า