Skip to main content

7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  

          ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เทคโนโลยีการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างไร้พรมแดนส่งผลกระทบต่อสื่อในฐานะที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ทำให้ในปัจจุบันและในอนาคตพื้นที่สื่อกลายเป็นสิ่งที่รัฐพยายามที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อสื่อมากยิ่ง

            กรณี “ซิงเกิลเกตเวย์” ในปี 2558 แสดงถึงแนวคิดโครงการของรัฐที่อาจกระทบต่อเสรีภาพในการสื่อสารและสิทธิส่วนบุคคลในข้อมูล โครงการดังกล่าวถูกคัดค้านจากหลายภาคส่วนทั้งองค์กรสิทธิ องค์กรธุรกิจ และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป หนึ่งในผลกระทบที่หลายฝ่ายกังวล นอกจากการ “สอดส่อง” ก็คือการ “เซ็นเซอร์” ที่อาจตามมา ไม่นานหลังจากกรณีดังกล่าว เมื่อต้นปี 2559 ยังปรากฏความพยายามใหม่ของรัฐในการร้องขอผู้ให้บริการอย่างกูเกิล “ลบ” ข้อมูล หรือ “ถอด” เว็บไซต์บางอย่างออกจากการเข้าถึงของผู้ใช้งานทั่วไป

          หน่วยงานของรัฐในประเทศต่างๆ มีคำร้องขอให้ผู้บริการ “ลบ” ข้อมูลหรือ “ถอด” เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมายอยู่บ่อยครั้งจนแทบเป็นเรื่องปกติ ปลายเดือนมกราคม 2559 ปรากฏข่าวว่าหน่วยงานของไทยเจราจาเรียกร้องลักษณะนี้กับกูเกิล เรื่องนี้เริ่มต้นเผยแพร่มาจากสื่อสังคมออนไลน์ของเพจเฟสบุ๊กกลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway: Thailand Internet Firewall #opsinglegateway กลุ่มสนับสนุนสิทธิเสรีภาพออนไลน์ ได้เผยแพร่เอกสารหลักฐานที่ปรากฏความพยายามของรัฐในการร้องขอกูเกิลให้ “ลบ” ข้อมูลนั้นคือ “สรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 11” ซึ่งปัจจุบันยังเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ เอกสารนี้แสดงการพูดคุยระหว่างคณะกรรมาธิการฯ กับตัวแทนกูเกิล โดยทางฝ่ายไทย “ขอ” ให้ทางกูเกิลช่วย “ถอดเว็บไซต์” ที่มีเนื้อหากระทบความมั่นคงขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยในกรณีเร่งด่วนอาจขอให้ถอดโดย “ไม่ต้องมีคำสั่งศาล” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐ ซึ่งเรียกร้องให้กูเกิล นำเนื้อหาข้อมูลออกจากระบบที่กูเกิลควบคุมดูแลอยู่ เพื่อมิให้ประชาชนเข้าถึงหรือรับรู้ข้อมูลนั้น โดยอ้างเหตุผลว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลผิดกฎหมาย

          ความพยายามของรัฐในการขอให้​ “ลบ” หรือ “ปิดกั้น” เนื้อหาข้อมูลเป็นการเรียกร้อง สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten)บนวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ที่ต่างไปจากการที่บุคคลธรรมดาขอใช้สิทธิที่จะให้โลกออนไลน์ “ลืม” ข้อมูลของตนในการรักษาศักดิ์ศรีของบุคคล เนื่องจากสิทธิดังกล่าวโดยสภาพแล้วเป็นสิทธิที่มีรากฐานจากสิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล จึงเป็นสิทธิของประชาชนคนธรรมดา ในขณะที่การเรียกร้องของรัฐเป็นการพยายามบังคับใช้กฎหมายบางอย่างที่โดยสภาพแล้วเป็นการจำกัดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิด การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากการขอให้กลไกการค้นหาต่างๆลบลิงค์ที่นำไปสู่แหล่งข้อมูล ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

 

8.ความเป็นกลางของเทคโนโลยี: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ความเป็นนิรนาม และปัญญาประดิษฐ์

               ในปัจจุบันการเพิ่มความสามารถให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิในการสื่อสารนั้นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเพิ่มความสารถแข่งขันโดยเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารขั้นสูงย่อมเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น รูปแบบธุรกิจของกูเกิลที่มีอิทธิพลแพร่หลายในตลาดทำให้เกิดการผูกขาดและกีดกันในการเข้าถึงทรัพยากรในรูปแบบของอินเทอร์เน็ต
               
               กรณี Google Monopoly Case กูเกิลได้ใช้อำนาจผูกขาดในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและคู่แข่งทางการตลาด โดยเจ้าหน้าที่ FTC ตรวจพบหลักฐานว่ากูเกิลได้ใช้กลยุทธ์ที่ต่อต้านการแข่งขันทำร้ายคู่แข่งเช่น Yelp และ Trip Adviso ที่บริษัทกูเกิลได้เสนอบริการและโปรแกรมปฏิบัติการต่างๆของตนให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อรวบรวมและดูดข้อมูลจากเว็บไซต์จำนวนมากของผู้บริโภค เพื่อแสดงไว้ในผลการค้นหาของกูเกิล ทำให้กูเกิลมีฐานข้อมูลจำนวนมากกว่าบริษัทที่เป็นคู่แข่งทางการตลาดในอินเทอร์เน็ตรายอื่นๆ 

            ในบริการ Google Shopping ที่แสดงภาพและราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา พร้อมทั้งชื่อของร้านค้าและคะแนนรีวิว ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสินค้าของบริษัทคู่แข่ง ส่วนรายละเอียดที่ปรากฎใน Google Shopping ที่ระบุว่า เป็นสินค้าที่ "จ่ายค่าโฆษณา" จะถูกจัดอันดับการค้นหาไปไว้ที่ตำแหน่งบนสุด ซึ่งสะท้อนว่าผลการสืบค้นข้อมูลของบริการนี้จะแสดงเฉพาะสินค้าที่จ่ายค่าโฆษณาให้กูเกิลเท่านั้น ต่างจากผลการสืบค้นตามปกติที่สร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบราคาสินค้าที่มักจะแสดงราคาสินค้าจากร้านค้าของกูเกิลในราคาที่ถูกกว่าร้านค้าออนไลน์เจ้าอื่นอยู่เป็นประจำ จึงผิดกฎหมายการผูกขาดการค้าของสหภาพยุโรป  จากเหตุดังกล่าวหน่วยงานกำกับดูแลด้านการค้าของสหภาพยุโรปจึงสั่งปรับกูเกิลเป็นจำนวนเงิน 2,400 ล้านยูโร หรือกว่า 84,000 พันล้านบาท ฐานผูกขาดการขายสินค้าบนเครือข่ายออนไลน์

            เห็นได้ว่ากูเกิลเป็นผู้ให้บริการที่มีฐานข้อมูลผู้ใช้บริการจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจเหนือตลาดของบริษัทกูเกิลเพราะมีฐานข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้นถือเป็นการละเมิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผูกขาดตลาด การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคและการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อีกทั้งการที่กูเกิลสามารถควบคุมช่องทางการไหลเวียนข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้ ถือเป็นการเพิ่มการผูกขาดอำนาจในการจัดการข้อมูลอีกด้วย

รูปภาพจาก เว็บไซต์ https://www.sarahdayan.com/blog/the-new-google-logo-why-it-is-a-success-despite-what-everybody-thinks

เขียนโดย นางสาววรินทรา ศรีวิชัย

อ่านตอนที่ 1 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6321

อ่านตอนที่ 2 https://blogazine.pub/blogs/streetlawyer/post/6322

แหล่งอ้างอิง

https://prachatai.com/journal/2016/01/63752

https://thainetizen.org/2016/02/state-right-to-be-forgotten/

https://www.facebook.com/OpSingleGateway/

http://money.cnn.com/2015/03/19/technology/google-monopoly-ftc/index.html

http://www.bbc.com/thai/international-40415852

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
6. ต่อสู้กับอาชญากรรม
ทศพล ทรรศนพรรณ
3.การกำกับดูแล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทนำ            การมีชีวิตอยู่อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและการทนทุกข์ทรมานให้ถึงที่สุด ย่อมเป็นความปรารถนาอันแรงกล้าอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกคน มนุษย์จึงสร้างสิ่งที่เรียกว่า “เกม” (Ga
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.          เสรีภาพในการแสดงออก และการควบคุมเนื้อหาของ Social Media
ทศพล ทรรศนพรรณ
5. ความหละหลวมทางความมั่นคงทางไซเบอร์นำไปสู่ชัยชนะของทรัมป์        
ทศพล ทรรศนพรรณ
 1.         บทนำเข้าสู่กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล    
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตัวเลขในงานวิจัยทั้งหลายแหล่ บอกว่าคนแห่มาอยู่ “โสด” ทั้งที่โสดมาตลอด หย่าร้างแล้วกลับมาโสด หรือคบหากันแต่จงใจแยกกันไป “โสด”  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูมักมีการบ่นจากนายจ้างว่าหาแรงงานไม่ค่อยได้ ในทางตรงข้ามก็มีการโอดครวญจากคนทำงานว่าถูกตัดสวัสดิการ ไปจนถึงลดงาน หรือให้ออก  สลับกันไป   แต่สิ่งหนึ่งที่ไทยหรือแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญก็คือ สังคมไร้เสถียรภาพ อันมีสาเหตุจากคนในสังคมรู้สึกว่าชีว
ทศพล ทรรศนพรรณ
อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล
ทศพล ทรรศนพรรณ
            สถานการณ์เขม็งเกลียวทางการเมืองและสังคมที่เกิดจากการพยายามผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย(ตัน) ของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลโดยมีคะแนนเสียงในสภาล่างถึง 310 เสียงนั้น   ได้ผลักให้ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 2553 และประชาชนผู้รัก