Skip to main content

 

            ในยุคนี้คงไม่มีใครปฏิเสธหลักการที่เรียกว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพราะไม่ว่าจะเป็นองค์กรในภาคส่วนไหนก็ได้นำหลักการนี้มาปรับใช้กับการทำงานและแสดงออกว่าเป็นภาพลักษณ์หลักขององค์กรตนเอง

            ภาครัฐนำหลักการนี้มาเป็นกรอบในการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ทั้งหลายจนกลายมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีที่วางอยู่บนรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            บรรษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มุ่งหวังจะก้าวไปเป็นองค์กรระดับโลกก็สร้างความร่วมมือกับโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNDP) เพื่อปรับภาพลักษณ์องค์กรตนเองที่โดนถาโถมจากหลายภาคส่วน โดยจัดวางองค์กรตนเองให้มุ่งไปสู่การเป็นบริษัทที่มีเป้าหมายและกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

            แต่คำถามที่ยังคาใจใครหลายๆ คน คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนทำอย่างไร และหลักการใดบ้างที่เป็นแก่นในการพิจารณาว่าการพัฒนานั้นยั่งยืนจริง

            หลักการที่จะหยิบมาพูดในบทความนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในสังคมไทยที่คนรุ่นใหญ่เริ่มออกมาตักเตือน สั่งสอน คนรุ่นใหม่ ให้คิด วิเคราะห์แยกแยะ ว่า ให้ระวังอะไร เลือกอะไร ในลักษณะกึ่งชี้นำเมื่อองศาทางการเมืองเริ่มจะเดือดขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาตัดสินใจที่ใกล้จะถึงวันหย่อนบัตร

            การปะทะกันทางความคิดและโวหารระหว่างคนต่างรุ่นจึงเกิดขึ้น วาทะประเภท “อาบน้ำร้อนมาก่อน” หรือ “ลำเลิกบุญคุณ” จึงกลายมาเป็นแนวทางหลักของคนรุ่นเก่าที่เริ่มเพลี่ยงพล้ำในเวทีการถกเถียงเชิงเหตุผล

            ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่น้อยก็ตั้งข้อกังขาว่าคนรุ่นเก่าได้ทิ้งสมบัติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอะไรไว้ให้พวกเขา โดยเฉพาะเมื่อสังคมไทยได้ผ่านยุคสมัยแห่งความโกลาหลทางการเมืองมาเกินกว่าหนึ่งทศวรรษ

            หลักการที่นำมาวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ดี คือ หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุค (Inter-Generation Justice)

            หลักการนี้ปรากฏอยู่เป็นส่วนหนึ่งของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนเคียงคู่กับหลักการอื่นๆ โดยหลักการที่เกี่ยวข้องและสร้างความเข้าใจต่อหลักการนี้อย่างเห็นได้ชัด คือ หลักการมีส่วนร่วม กล่าวคือ ในการตัดสินใจเรื่องใดๆที่จะมีผลกระทบในวงกว้าง จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามารับรู้ข้อมูล แสดงออกถึงจุดยืนและความคิดเห็น ไปจนถึงการร่วมกำหนดอนาคตด้วยการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ หรือลงคะแนนเสียง

            หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุคได้สร้างพันธะข้ามกาลเวลาเพื่อกระตุ้นเตือนคนในยุคต่าง ๆ ด้วยว่า การตัดสินใจใด ๆ ก็ตาม ย่อมสร้างผลลัพธ์ตามมาสู่คนรุ่นหลักด้วย   ดังนั้นการเลือกทำหรือไม่ทำอะไรในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งได้กลุ่มหนึ่งเสีย จะต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อคนในยุคหลังด้วย

            ไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันจึงได้ตั้งคำถามเอากับคนรุ่นใหญ่ว่า เหตุใดตนจึงต้องมาอยู่ท่ามกลางสภาวะความเสี่ยงภัยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความคับข้องทางการเมืองที่ตนไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย แม้กฎหมายจะกำหนดไว้ว่าตนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะร่วมกำหนดอนาคตของชาติได้ก็ตาม

            ยิ่งไปกว่านั้นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับสภาวะการจ้างงานยืดหยุ่นไร้ความมั่นคง สืบเนื่องมาจากนโยบายทางเศรษฐกิจและกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคมมิได้รองรับความด้อยสิทธิของคนทำงานในรูปแบบการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายอย่าง ฟรีแลนซ์ ช่างฝีมืออิสระ หรือผู้ประกอบการรายย่อย ย่อมเป็นตัวกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ ต้องการให้มีโครงการทางการเมืองหรือพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจสถานการณ์ของพวกเขาเสนอนโยบายมารองรับปัญหาใหม่ ๆ เหล่านี้

            ในทางสังคมการอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาเป็นระยะเกินกว่าสิบปีได้ทวีความเกลียดชังหรือไม่ไว้วางใจระหว่างกลุ่มคนให้กว้างขวาง หลายกรณีเกิดเป็นความรังเกียจเดียดฉันท์ถาวร ทำให้บั่นทอนภราดรภาพของผู้คนในสังคมจนผลักดันให้เกิดความเปลี่ยวเหงาโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมมาจากทั่วโลกอย่างมหาศาล การขาดไร้ซึ่งขบวนการทางสังคมที่สามารถรองรับคนรุ่นใหม่ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างหลากหลาย มิใช่การบังคับให้รัก ชอบ ยึดมั่นถือมั่นสถาบันสังคมเพียงบางอย่าง จึงกลายเป็นการฝืนใจคนรุ่นใหม่จำนวนมาก

            สืบเนื่องไปถึงวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะปลีกย่อยไปตามความสนใจและถนัดของแต่ละคนที่กระตุ้นเร้าไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสาร  การบังคับให้เชื่อค่านิยมเดียว กระทำการร่วมกันแบบวัฒนธรรมเชิงเดี่ยว เช่นการไล่ให้ไปฟังเพลงๆเดียว ที่เปิดไว้ให้คนเกลียดชังกันเมื่อครั้งสงครามเย็น ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรู้ไม่เท่าทันของคนรุ่นเก่า

            ความเปลี่ยนแปลงมาเร็วและแรง แต่ทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน หากคนรุ่นใหญ่อยากจะเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ การรับฟังเสียงที่ต่างไปจากตนอย่างนอบน้อม และติดตามความหลากหลายที่คนรุ่นใหม่พยายามสะท้อนให้ได้ยินได้ฟังอย่างสุภาพ ย่อมเป็นขุมทรัพย์ทางข่าวกรองอันมีมูลค่ามหาศาลกว่าการจ้างหน่วยปฏิบัติการข่าวใดๆทั้งสิ้น

            บรรษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายทยอยปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เช่นเดียวกับประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศขนาดใหญ่ระดับโลก เพราะล้วนมองเห็นว่าอนาคตยังคงต้องส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป อยู่ที่ว่าคนรุ่นเก่าจะส่งอะไรไปให้กับคนรุ่นถัดไป

            หากส่งของเสียเน่าพังไปให้ก็ไม่พ้นต้องได้รับคำประณามดุจคำปราศรัยของ  Greta Thunberg ในเวทีประชุมสิ่งแวดล้อมโลก

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2