Skip to main content

 

            ในยุคนี้คงไม่มีใครปฏิเสธหลักการที่เรียกว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพราะไม่ว่าจะเป็นองค์กรในภาคส่วนไหนก็ได้นำหลักการนี้มาปรับใช้กับการทำงานและแสดงออกว่าเป็นภาพลักษณ์หลักขององค์กรตนเอง

            ภาครัฐนำหลักการนี้มาเป็นกรอบในการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ทั้งหลายจนกลายมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีที่วางอยู่บนรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            บรรษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มุ่งหวังจะก้าวไปเป็นองค์กรระดับโลกก็สร้างความร่วมมือกับโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNDP) เพื่อปรับภาพลักษณ์องค์กรตนเองที่โดนถาโถมจากหลายภาคส่วน โดยจัดวางองค์กรตนเองให้มุ่งไปสู่การเป็นบริษัทที่มีเป้าหมายและกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

            แต่คำถามที่ยังคาใจใครหลายๆ คน คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนทำอย่างไร และหลักการใดบ้างที่เป็นแก่นในการพิจารณาว่าการพัฒนานั้นยั่งยืนจริง

            หลักการที่จะหยิบมาพูดในบทความนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในสังคมไทยที่คนรุ่นใหญ่เริ่มออกมาตักเตือน สั่งสอน คนรุ่นใหม่ ให้คิด วิเคราะห์แยกแยะ ว่า ให้ระวังอะไร เลือกอะไร ในลักษณะกึ่งชี้นำเมื่อองศาทางการเมืองเริ่มจะเดือดขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาตัดสินใจที่ใกล้จะถึงวันหย่อนบัตร

            การปะทะกันทางความคิดและโวหารระหว่างคนต่างรุ่นจึงเกิดขึ้น วาทะประเภท “อาบน้ำร้อนมาก่อน” หรือ “ลำเลิกบุญคุณ” จึงกลายมาเป็นแนวทางหลักของคนรุ่นเก่าที่เริ่มเพลี่ยงพล้ำในเวทีการถกเถียงเชิงเหตุผล

            ส่วนคนรุ่นใหม่ไม่น้อยก็ตั้งข้อกังขาว่าคนรุ่นเก่าได้ทิ้งสมบัติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอะไรไว้ให้พวกเขา โดยเฉพาะเมื่อสังคมไทยได้ผ่านยุคสมัยแห่งความโกลาหลทางการเมืองมาเกินกว่าหนึ่งทศวรรษ

            หลักการที่นำมาวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ดี คือ หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุค (Inter-Generation Justice)

            หลักการนี้ปรากฏอยู่เป็นส่วนหนึ่งของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนเคียงคู่กับหลักการอื่นๆ โดยหลักการที่เกี่ยวข้องและสร้างความเข้าใจต่อหลักการนี้อย่างเห็นได้ชัด คือ หลักการมีส่วนร่วม กล่าวคือ ในการตัดสินใจเรื่องใดๆที่จะมีผลกระทบในวงกว้าง จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามารับรู้ข้อมูล แสดงออกถึงจุดยืนและความคิดเห็น ไปจนถึงการร่วมกำหนดอนาคตด้วยการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ หรือลงคะแนนเสียง

            หลักความยุติธรรมระหว่างคนต่างยุคได้สร้างพันธะข้ามกาลเวลาเพื่อกระตุ้นเตือนคนในยุคต่าง ๆ ด้วยว่า การตัดสินใจใด ๆ ก็ตาม ย่อมสร้างผลลัพธ์ตามมาสู่คนรุ่นหลักด้วย   ดังนั้นการเลือกทำหรือไม่ทำอะไรในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งได้กลุ่มหนึ่งเสีย จะต้องตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อคนในยุคหลังด้วย

            ไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันจึงได้ตั้งคำถามเอากับคนรุ่นใหญ่ว่า เหตุใดตนจึงต้องมาอยู่ท่ามกลางสภาวะความเสี่ยงภัยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความคับข้องทางการเมืองที่ตนไม่สามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย แม้กฎหมายจะกำหนดไว้ว่าตนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะร่วมกำหนดอนาคตของชาติได้ก็ตาม

            ยิ่งไปกว่านั้นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับสภาวะการจ้างงานยืดหยุ่นไร้ความมั่นคง สืบเนื่องมาจากนโยบายทางเศรษฐกิจและกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคมมิได้รองรับความด้อยสิทธิของคนทำงานในรูปแบบการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายอย่าง ฟรีแลนซ์ ช่างฝีมืออิสระ หรือผู้ประกอบการรายย่อย ย่อมเป็นตัวกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ ต้องการให้มีโครงการทางการเมืองหรือพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจสถานการณ์ของพวกเขาเสนอนโยบายมารองรับปัญหาใหม่ ๆ เหล่านี้

            ในทางสังคมการอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาเป็นระยะเกินกว่าสิบปีได้ทวีความเกลียดชังหรือไม่ไว้วางใจระหว่างกลุ่มคนให้กว้างขวาง หลายกรณีเกิดเป็นความรังเกียจเดียดฉันท์ถาวร ทำให้บั่นทอนภราดรภาพของผู้คนในสังคมจนผลักดันให้เกิดความเปลี่ยวเหงาโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมมาจากทั่วโลกอย่างมหาศาล การขาดไร้ซึ่งขบวนการทางสังคมที่สามารถรองรับคนรุ่นใหม่ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างหลากหลาย มิใช่การบังคับให้รัก ชอบ ยึดมั่นถือมั่นสถาบันสังคมเพียงบางอย่าง จึงกลายเป็นการฝืนใจคนรุ่นใหม่จำนวนมาก

            สืบเนื่องไปถึงวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะปลีกย่อยไปตามความสนใจและถนัดของแต่ละคนที่กระตุ้นเร้าไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสาร  การบังคับให้เชื่อค่านิยมเดียว กระทำการร่วมกันแบบวัฒนธรรมเชิงเดี่ยว เช่นการไล่ให้ไปฟังเพลงๆเดียว ที่เปิดไว้ให้คนเกลียดชังกันเมื่อครั้งสงครามเย็น ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรู้ไม่เท่าทันของคนรุ่นเก่า

            ความเปลี่ยนแปลงมาเร็วและแรง แต่ทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน หากคนรุ่นใหญ่อยากจะเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ การรับฟังเสียงที่ต่างไปจากตนอย่างนอบน้อม และติดตามความหลากหลายที่คนรุ่นใหม่พยายามสะท้อนให้ได้ยินได้ฟังอย่างสุภาพ ย่อมเป็นขุมทรัพย์ทางข่าวกรองอันมีมูลค่ามหาศาลกว่าการจ้างหน่วยปฏิบัติการข่าวใดๆทั้งสิ้น

            บรรษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายทยอยปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เช่นเดียวกับประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศขนาดใหญ่ระดับโลก เพราะล้วนมองเห็นว่าอนาคตยังคงต้องส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป อยู่ที่ว่าคนรุ่นเก่าจะส่งอะไรไปให้กับคนรุ่นถัดไป

            หากส่งของเสียเน่าพังไปให้ก็ไม่พ้นต้องได้รับคำประณามดุจคำปราศรัยของ  Greta Thunberg ในเวทีประชุมสิ่งแวดล้อมโลก

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า