Skip to main content

การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้

            หลักการสำคัญของกฎหมายสงครามที่รัฐไทยต้องผูกพันตามพันธกรณีระหว่างประเทศมีอยู่ 2 ประการสำคัญ คือ การแบ่งแยกเป้าหมายทางการทหารออกจากเป้าหมายพลเรือน   การโจมตีเป้าหมายที่มีความจำเป็นทางการทหารเท่านั้น

            หากแต่หลักการตามกฎหมายสงครามนั้นจะนำมาใช้กับความขัดแย้งที่มีลักษณะขัดกันอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น การทำสงครามระหว่างรัฐ หรือสงครามภายในประเทศที่มีลักษณะนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศ หรือสงครามภายในที่มีคู่ขัดแย้งเป็นกองกำลังที่ชัดเจน   เพราะฉะนั้นกองกำลังที่ขัดกับรัฐต้องมีสถานะตามกฎหมายสงครามก่อน จึงจะถือเป็นการปะทะกันตามกฎหมายสงคราม

          หลักการได้สถานะเป็นกองกำลังที่เข้าตามลักษณะกฎหมายสงคราม มีดังต่อไปนี้  เป็นกองกำลังติดอาวุธที่มีความสามารถในการบังคับบัญชา   กองกำลังสามารถควบคุมพื้นที่ของตนได้   กองกำลังต้องสามารถกำหนดสถานะของตนเองได้ชัดเจน   และหากกองกำลังนั้นจะนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน หรือที่เรียกกันว่า “การกำหนดอนาคตตนเอง” เพื่อตั้งรัฐใหม่นั้น จะต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการ คือ ต้องเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ของตนเอง

            ความขัดแย้งภายในประเทศไทยที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็น “สงครามกลางเมืองนั้น” ยังไม่เข้าลักษณะตาม กฎหมายสงครามระหว่างประเทศก็จริง   แต่ก็อาจนำหลักการใช้กำลังปะทะ “Rule of Engagement” มาเทียบเคียงใช้ได้บางส่วน   ทั้งนี้ต้องมีการใช้หลัก “นิติธรรม” เป็นกรอบการควบคุมการใช้อำนาจ และกำลังมิให้นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนทุกคนพึงมีตลอดเวลาไม่ว่ายามสงคราม หรือยามสงบ

  1. การแบ่งแยกเป้าหมายทางการทหารออกจากเป้าหมายพลเรือน   หลักการนี้มุ่งปกป้องพลเรือนซึ่งถือเป็นประชาชนธรรมดามิให้ได้รับผลกระทบจากการใช้กำลังเข้าปะทะกันของกองกำลังทั้งสอง   ไม่ว่าจะเป็นการ ห้ามโจมตีเป้าหมายพลเรือน เช่น บ้านเรือน เส้นทางคมนาคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หรือทำร้ายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน   ห้ามใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างกว้างขวางไม่อาจจำกัดผลได้ เช่น การใช้ระเบิดที่มีสะเก็ดกระจายในวงกว้าง กับระเบิดสังหาร กระสุนที่แตกกระจาย หรือการใช้เครื่องบินโปรยสารพิษทางอากาศ   เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการจำกัดวงความเสียหายเพียงเป้าหมายทางการรบ แต่ไม่กระทบสิทธิของประชาชน
  2. การโจมตีที่มีความจำเป็นทางการทหารเท่านั้น   หลักการนี้มุ่งลดความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของประชาชน และ”พลรบ”   เพราะสุดท้าย “คนเหมือนกัน” ที่ต้อง ตาย และได้รับความเสียหายจากการใช้กำลังปะทะกัน   ไม่ว่าจะเป็น “พลเรือน” หรือ “พลรบ” ก็ตาม   อาทิ   การโจมตีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์เท่านั้น เช่น ยิงยุทโธปกรณ์ และผู้ที่จับอาวุธเข้าปะทะกัน ไม่ทำลายทหาร หรือกองกำลังที่พักรบ บาดเจ็บอยู่ หรือโรงพยาบาล รถลำเลียงผู้บาดเจ็บ   การไม่ใช้อาวุธที่ทำให้เกิดการทำลายร้างรุนแรง เช่น ระเบิดเพลิงที่แผดเผาร่างกายทรัพย์สิน อาวุธชีวภาพหรือกัมมันตรังสีที่ตกค้างยาวนาน การใช้กระสุนบดขยี้เนื้อหรือทำลายอวัยวะอย่างรุนแรง   เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการจำกัดวงความเสียหายมิให้รุนแรงเกินกว่าจะเยียวยาสิทธิของประชาชน และทหารทั้งหลายได้ 

เป้าหมาย ของกฎหมายสงคราม ก็คือ การรักษามนุษยธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกันแม้จะขัดแย้งกัน   เนื่องจากสุดท้ายแล้วไม่มีใครชนะเด็ดขาด และเสมอไป   จึงต้องรักษาความเป็นคนไว้เพื่อเปิดช่องทางให้รื้อฟื้นความสัมพันธ์เพื่อสร้างสันติภาพต่อไปภายหลัง

ส่วนมาตรการ “หนักไปหาเบา” ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลซึ่งถูกกล่าวถึงในคำพิพากษาศาลแพ่งเกี่ยวกับแนวทางจัดการการชุมนุมให้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นก็ต้องสอดคล้องกับหลักการข้างต้น ทั้งเรื่องแบ่งแยกเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ต้องจัดการ ออกจากประชาชนผู้บริสุทธิ์   รวมถึงการพยายามลดความเสียหายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

แนวทางการจัดการกับการชุมนุมที่ปรากฏในต่างประเทศมีลักษณะไล่ระดับไป “จากเบาไปหาหนัก” นั้น อาจนำมาเทียบเคียง ปรับใช้กับการชุมนุมในประเทศไทยได้หลายประการ   ดังมีขั้นตอนต่อไปนี้

  • การจำกัดจำนวนคนที่จะเข้าร่วมชุมนุมรายใหม่ มิให้เข้าร่วมการชุมนุมได้ง่าย 
  • การเปิดโอกาสให้ผู้ชุมนุมเก่าออกไปเสมอ โดยไม่มีการขู่ว่าจะใช้กำลังสลายที่จะยิ่งปลุกเร้าอารมณ์
  • การปิดห้องน้ำ และสาธารณูปโภคภายในการชุมนุมแต่จัดให้มีนอกเขตการชุมนุมอย่างสะดวก  
  • การห้ามลำเลียงอาหารน้ำดื่มเข้าสู่บริเวณการชุมนุม แต่จัดให้มีมากมายรอบการชุมนุม  
  • การใช้กระบวนการทางจิตวิทยาเกลี้ยกล่อมโดยญาติพี่น้อง   มิใช่เพียงให้ข้อมูลผ่านสื่อของรัฐ
  • การใช้น้ำสีฉีดสลายการชุมนุม เพื่อให้สีติดผู้ชุมนุมสลายตัวออกไป   และอาจจับกุมตัวได้ภายหลัง
  • การใช้เสียง หรือเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อก่อกวนโสตประสาท และการดำรงชีวิตในที่ชุมนุม  
  • ก่อนที่จะไปถึงการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลัง อาทิ แก๊ซน้ำตา หรือใช้กำลังคนผลักดัน จับกุม

ขั้นตอน การใช้กำลังสลายการชุมนุมนี้เองที่อาจปรับเอาแนวทางการใช้กำลังของกฎหมายสงครามมาใช้ได้ในเชิงวิธีการที่รัฐจะใช้สลายการชุมนุม

            หลักการใหญ่ที่สำคัญกว่า คือ “หลักนิติธรรม” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกฎหมายสงคราม หรือกฎหมายอื่นๆ ที่ย้ำเสมอว่าหากรัฐจะใช้อำนาจนั้นจะต้องเป็นไปโดยชอบธรรม กล่าวคือ คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาค ไม่เลือกประติบัติกับคนกลุ่มใดทั้งสิ้น

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา