Skip to main content

การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้

            หลักการสำคัญของกฎหมายสงครามที่รัฐไทยต้องผูกพันตามพันธกรณีระหว่างประเทศมีอยู่ 2 ประการสำคัญ คือ การแบ่งแยกเป้าหมายทางการทหารออกจากเป้าหมายพลเรือน   การโจมตีเป้าหมายที่มีความจำเป็นทางการทหารเท่านั้น

            หากแต่หลักการตามกฎหมายสงครามนั้นจะนำมาใช้กับความขัดแย้งที่มีลักษณะขัดกันอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น การทำสงครามระหว่างรัฐ หรือสงครามภายในประเทศที่มีลักษณะนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศ หรือสงครามภายในที่มีคู่ขัดแย้งเป็นกองกำลังที่ชัดเจน   เพราะฉะนั้นกองกำลังที่ขัดกับรัฐต้องมีสถานะตามกฎหมายสงครามก่อน จึงจะถือเป็นการปะทะกันตามกฎหมายสงคราม

          หลักการได้สถานะเป็นกองกำลังที่เข้าตามลักษณะกฎหมายสงคราม มีดังต่อไปนี้  เป็นกองกำลังติดอาวุธที่มีความสามารถในการบังคับบัญชา   กองกำลังสามารถควบคุมพื้นที่ของตนได้   กองกำลังต้องสามารถกำหนดสถานะของตนเองได้ชัดเจน   และหากกองกำลังนั้นจะนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน หรือที่เรียกกันว่า “การกำหนดอนาคตตนเอง” เพื่อตั้งรัฐใหม่นั้น จะต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการ คือ ต้องเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ของตนเอง

            ความขัดแย้งภายในประเทศไทยที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็น “สงครามกลางเมืองนั้น” ยังไม่เข้าลักษณะตาม กฎหมายสงครามระหว่างประเทศก็จริง   แต่ก็อาจนำหลักการใช้กำลังปะทะ “Rule of Engagement” มาเทียบเคียงใช้ได้บางส่วน   ทั้งนี้ต้องมีการใช้หลัก “นิติธรรม” เป็นกรอบการควบคุมการใช้อำนาจ และกำลังมิให้นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนทุกคนพึงมีตลอดเวลาไม่ว่ายามสงคราม หรือยามสงบ

  1. การแบ่งแยกเป้าหมายทางการทหารออกจากเป้าหมายพลเรือน   หลักการนี้มุ่งปกป้องพลเรือนซึ่งถือเป็นประชาชนธรรมดามิให้ได้รับผลกระทบจากการใช้กำลังเข้าปะทะกันของกองกำลังทั้งสอง   ไม่ว่าจะเป็นการ ห้ามโจมตีเป้าหมายพลเรือน เช่น บ้านเรือน เส้นทางคมนาคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หรือทำร้ายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน   ห้ามใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างกว้างขวางไม่อาจจำกัดผลได้ เช่น การใช้ระเบิดที่มีสะเก็ดกระจายในวงกว้าง กับระเบิดสังหาร กระสุนที่แตกกระจาย หรือการใช้เครื่องบินโปรยสารพิษทางอากาศ   เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการจำกัดวงความเสียหายเพียงเป้าหมายทางการรบ แต่ไม่กระทบสิทธิของประชาชน
  2. การโจมตีที่มีความจำเป็นทางการทหารเท่านั้น   หลักการนี้มุ่งลดความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของประชาชน และ”พลรบ”   เพราะสุดท้าย “คนเหมือนกัน” ที่ต้อง ตาย และได้รับความเสียหายจากการใช้กำลังปะทะกัน   ไม่ว่าจะเป็น “พลเรือน” หรือ “พลรบ” ก็ตาม   อาทิ   การโจมตีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์เท่านั้น เช่น ยิงยุทโธปกรณ์ และผู้ที่จับอาวุธเข้าปะทะกัน ไม่ทำลายทหาร หรือกองกำลังที่พักรบ บาดเจ็บอยู่ หรือโรงพยาบาล รถลำเลียงผู้บาดเจ็บ   การไม่ใช้อาวุธที่ทำให้เกิดการทำลายร้างรุนแรง เช่น ระเบิดเพลิงที่แผดเผาร่างกายทรัพย์สิน อาวุธชีวภาพหรือกัมมันตรังสีที่ตกค้างยาวนาน การใช้กระสุนบดขยี้เนื้อหรือทำลายอวัยวะอย่างรุนแรง   เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการจำกัดวงความเสียหายมิให้รุนแรงเกินกว่าจะเยียวยาสิทธิของประชาชน และทหารทั้งหลายได้ 

เป้าหมาย ของกฎหมายสงคราม ก็คือ การรักษามนุษยธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกันแม้จะขัดแย้งกัน   เนื่องจากสุดท้ายแล้วไม่มีใครชนะเด็ดขาด และเสมอไป   จึงต้องรักษาความเป็นคนไว้เพื่อเปิดช่องทางให้รื้อฟื้นความสัมพันธ์เพื่อสร้างสันติภาพต่อไปภายหลัง

ส่วนมาตรการ “หนักไปหาเบา” ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลซึ่งถูกกล่าวถึงในคำพิพากษาศาลแพ่งเกี่ยวกับแนวทางจัดการการชุมนุมให้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นก็ต้องสอดคล้องกับหลักการข้างต้น ทั้งเรื่องแบ่งแยกเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ต้องจัดการ ออกจากประชาชนผู้บริสุทธิ์   รวมถึงการพยายามลดความเสียหายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

แนวทางการจัดการกับการชุมนุมที่ปรากฏในต่างประเทศมีลักษณะไล่ระดับไป “จากเบาไปหาหนัก” นั้น อาจนำมาเทียบเคียง ปรับใช้กับการชุมนุมในประเทศไทยได้หลายประการ   ดังมีขั้นตอนต่อไปนี้

  • การจำกัดจำนวนคนที่จะเข้าร่วมชุมนุมรายใหม่ มิให้เข้าร่วมการชุมนุมได้ง่าย 
  • การเปิดโอกาสให้ผู้ชุมนุมเก่าออกไปเสมอ โดยไม่มีการขู่ว่าจะใช้กำลังสลายที่จะยิ่งปลุกเร้าอารมณ์
  • การปิดห้องน้ำ และสาธารณูปโภคภายในการชุมนุมแต่จัดให้มีนอกเขตการชุมนุมอย่างสะดวก  
  • การห้ามลำเลียงอาหารน้ำดื่มเข้าสู่บริเวณการชุมนุม แต่จัดให้มีมากมายรอบการชุมนุม  
  • การใช้กระบวนการทางจิตวิทยาเกลี้ยกล่อมโดยญาติพี่น้อง   มิใช่เพียงให้ข้อมูลผ่านสื่อของรัฐ
  • การใช้น้ำสีฉีดสลายการชุมนุม เพื่อให้สีติดผู้ชุมนุมสลายตัวออกไป   และอาจจับกุมตัวได้ภายหลัง
  • การใช้เสียง หรือเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อก่อกวนโสตประสาท และการดำรงชีวิตในที่ชุมนุม  
  • ก่อนที่จะไปถึงการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลัง อาทิ แก๊ซน้ำตา หรือใช้กำลังคนผลักดัน จับกุม

ขั้นตอน การใช้กำลังสลายการชุมนุมนี้เองที่อาจปรับเอาแนวทางการใช้กำลังของกฎหมายสงครามมาใช้ได้ในเชิงวิธีการที่รัฐจะใช้สลายการชุมนุม

            หลักการใหญ่ที่สำคัญกว่า คือ “หลักนิติธรรม” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกฎหมายสงคราม หรือกฎหมายอื่นๆ ที่ย้ำเสมอว่าหากรัฐจะใช้อำนาจนั้นจะต้องเป็นไปโดยชอบธรรม กล่าวคือ คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาค ไม่เลือกประติบัติกับคนกลุ่มใดทั้งสิ้น

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ