Skip to main content

 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ กับ ความเหลื่อมล้ำ เพื่อชี้ให้เห็นว่าถ้าจะแก้ปัญหาให้ได้ จะต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ไปด้วยกัน แยกแก้เพียงบางปัญหาไม่ได้

การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic rent seeking)
  ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic rent) หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจขึ้นมาแบบไม่มีต้นทุน และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ พูดให้ชัดก็เหมือนการมีทรัพย์สินและปล่อยให้เช่า ผู้ให้เช่าไม่ได้ลงทุนอะไรในมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของทรัพย์สินของตน แต่ได้รับผลตอบแทนจากการเติบโตนั้น และลำพังการให้เช่านั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมอย่างไร (สิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมขึ้น คือ กิจกรรมของผู้เช่า) โดยกิจกรรมทั่วไปก็ไม่มีปัญหา เพราะค่าเช่าเป็นเหมือนค่าตอบแทนในการให้ใช้ประโยชน์บางอย่าง แต่เรื่องการเช่าจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจการเมืองก็ต่อเมื่อค่าเช่านั้นสูงเกินไป (High rent) กล่าวคือ ค่าเช่านั้นอาจสูงกว่าผลประกอบการที่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริง ๆ เมื่อนั้นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือทรงอิทธิพลอำนาจทางเศรษฐกิจจะมุ่งหน้าแสวงหาค่าเช่าเป็นหลัก เพราะได้ผลตอบแทนดี และง่ายกว่าการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง หรือที่เรียกกันว่า “เสือนอนกิน”


สิ่งที่เกิดขึ้นจากภาวะนี้ คือ เศรษฐกิจภาคการผลิตและบริการหรือสร้างสรรค์ไม่เกิดขึ้นจริง ปริมาณเงินเพิ่ม แต่สินค้าเท่าเดิม และคนกินเงินไม่ได้   และที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองโดยตรง คือ การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจนั้นนำมาซึ่งต้นทุนในการดำรงชีวิตและประกอบกิจกรรมทั่วไปสูงขึ้นด้วย เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าแผง ราคาน้ำมันปาล์ม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ฯลฯ


ภาวะค่าเช่าสูงนั้นเกิดจากการแข่งขันกันแสวงหาค่าเช่าจนกลายเป็นการเก็งกำไร เพราะแย่งกันหายิ่งได้มายาก ราคายิ่งสูง ดังนั้น ปัญหาแท้จริงจึงไม่ได้อยู่ค่าเช่าสูง แต่อยู่ที่ยังมี “ค่าเช่า” ให้แสวงหาอยู่ และแย่งกัน เพราะคนเริ่มมองเงินเป็นสิ่งสั่งสมและนำไปแปลงเป็นสิ่งปรารถนาได้ โดยไม่ต้องออกแรงมากเหมือนการทำงาน ผลิตินค้า ให้บริการ หรือรังสรรค์ผลงาน และมีระบบที่ทำให้เงินไหลเวียนมาโดยตนอาจไม่ต้องทำงานก็ได้


“ค่าเช่า” เกิดจากกฎหมายของและอำนาจรัฐเหนือตลาดในการแทรกแซง เพราะปกติไม่มีใครให้ประโยชน์กับคนที่ไม่ทำงาน นอกจากคนนั้นมีหรืออ้างอิงอำนาจที่เหนือกว่าการต่อรองอยู่ เช่น กรรมสิทธิ์ที่ดิน สัมปทาน พูดรวมๆ คือสิทธิในการผูกขาดทั้งหลาย ซึ่งหมายรวมถึงการฮั๊วกันเองของภาคเอกชนด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสังเกตได้ไม่ยากว่าพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่สามารถแทรกแซงอำนาจตลาดได้ คือ อำนาจรัฐ   และก็เห็นได้ชัดอีกเช่นกันว่าอำนาจรัฐที่สร้าง “ค่าเช่า” นั้นนำมาซึ่งมหาเศรษฐีหลายคน เช่น เศรษฐีผูกขาดสัญญาณโทรศัพท์ ทีวี น้ำเมา ที่ดิน ยา ฯลฯ ความร่ำรวยอย่างยิ่งใหญ่เหล่านี้เกิดจากค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เพราะได้ประโยชน์จากการไร้คู่แข่ง แนวโน้มของพวกนี้ คือ การเสพติดค่าเช่า เมื่อมีแล้วก็ไม่อยากเลิก เพราะเลิกแล้วตนจะเข้าสู่ภาวะแข่งขันต่อรองของตลาดอย่างหนักทันที และแน่นอนว่าเมื่อคู่แข่งมีอำนาจมากขึ้น ผู้ถือค่าเช่าเดิม ๆ ย่อมจนลงตามระเบียบ 

 
ปัญหาเชิงโครงสร้างของค่าเช่า คือ ค่าเช่าส่วนใหญ่นั้นเกิดจากรัฐ และเป็นสิ่งที่แย่งกันหามาเพื่อจะรวย ผลก็คือ คนที่มีฝันเป็นมหาเศรษฐีในไทยเกือบทั้งหมดต้องเข้าหาอำนาจรัฐทั้งสิ้น เพราะในสังคมไทยไม่มีทางรวยถ้าไม่มีค่าเช่า (พวกไม่มีค่าเช่าย่อมยากจะแข่งขันกับพวกมีค่าเช่า) การหยิบยื่นผลประโยชน์ให้แก่อำนาจรัฐจึงเป็นเรื่องที่เกล่อในวงการธุรกิจ และแน่นอนว่าพวกที่ได้ประโยชน์จากการแสวงหาค่าเช่านั้นไม่ใช่แค่นักธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงอำนาจรัฐที่มีบารมีพอจะกำหนดค่าเช่าด้วยเช่นกัน


หากพิเคราะห์ “ค่าเช่า” ที่แพร่หลายในสังคมไทย เนื่องมาจากนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างค่าเช่าและกำกับตลาด เพื่อแสวงหากำไรนั้น นอกจากจะสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจแล้ว ก็ทำให้ต้นทุนในการประกอบอาชีพโดยไม่มีค่าเช่าสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น และสร้างปัญหาเสพติดค่าเช่าแก่ภาคธุรกิจและภาครัฐจนนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่นด้วย   จึงเป็นที่มาว่ากลุ่มผลประโยชน์ก็เข้าสู่งวงการเมืองเพื่อมาแสวงหาค่าเช่า แต่ปัญหาคือ มีเครือข่ายบารมีในวงการเมืองและวงราชการพอที่จะกำหนดค่าเช่าเหล่านั้นด้วยตัวเอง 


ข้อโจมตีที่โจมตีต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมากที่สุด คือ ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ที่นักการเมืองกลายเป็นกลุ่มทุนและเจ้าหน้าที่ของรัฐไปพร้อมกัน ภายใต้เงื่อนไขนี้ผู้เข้าสู่อำนาจสำเร็จสามารถสร้างค่าเช่าขึ้นมาได้ไม่สิ้นสุด แต่ปัญหาคือค่าเช่านั้นไม่ค่อยถูกแบ่งให้คนอื่น หรือคนอื่นเสียหายจากการมีค่าเช่านี้มากขึ้น

 

ความเหลื่อมล้ำอย่างสูง


สังคมไทยมีความเลื่อมล้ำทางรายได้สูงมาก การกระจายรายได้ก็ต่ำมาหลายทศวรรษ สะท้อนผ่านการเขียนคำประกาศของคณะราษฎรที่ปรีดี พนมยงค์ ก็อ้างถึงนำการอภิวัฒน์ประเทศสู่ประชาธิปไตย แต่ก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน เรายังพัฒนาเศรษฐกิจให้เน้าไปสร้างความมั่นคงมั่งคั่ง แก่คนที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามภาครัฐจะไม่ตอบสนองต่อภาคประชาชน หรือคนกลุ่มรายได้น้อย ไร้ที่ดินทำกินก็มิได้ไร้สิ้นหนทาง นโยบายต่อคนทำงานจึงไม่ทำให้คนส่วนใหญ่รวยขึ้น แต่เมื่อมวลชนผู้ถูกกดขี่ขูดรีก็ย่อมตื่นรู้แล้วประณามคนรวยได้ไม่ยาก ด้วยการซุบซิบนินทา เพลงลูกทุ่ง เข้าร่วมเป็น “สหาย” กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมๆ เรียกว่า อาวุธของคนไร้อำนาจ (Weapon of the weak) สภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจว่าตวามรวยเป็นผลพวกของโครงสร้างอำนาจที่ไม่ปกติ ต้องทำอะไรไม่ชอบมาพากลแน่ เพราะคนทำงานอุตสาหะตรากตรำวันละ 10 ชั่วโมงก็ยังไม่รวย การประณามว่าคนรวยขี้โกงนั้นเกิดขึ้นง่ายๆ ในภาวะนี้ และเป็นการประณามบุคคลเป็น “กลุ่ม”

ความขัดแย้งในสังคมไทยในหลายครั้ง ก็เกี่ยวเนื่องกับความเลื่อมล้ำเรื่องรายได้ และการครองทรัพย์สิน เพราะเป็นเรื่องที่เห็นอยู่ชัดๆ มานานแล้วว่าสังคมไทยไม่มีความเป็นธรรมทางสังคม เมื่อฝ่ายที่รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมฉุกคิดเรื่องนี้ ก็จะอ้างอิงเรื่องนี้ มาวิเคราะห์ความอยุติธรรมที่ตนได้รับในสังคม แล้วเสนอทางออกที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างรัฐเสียใหม่

ดังที่เรา(ไม่)เห็นการชุมนุมหรือเดินขบวนเรียกร้องการปฏิรูปอยู่อย่างคับคั่งแต่ก็ต้องเผชิญกับการกดปราบจากรัฐบาลที่ปกป้องโครงสร้างอยุติธรรมนี้ให้ดำรงอยู่สืบไป

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า