Skip to main content
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นการผูกขาดและการจัดการตลาด ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายมักจะอ้างถึงสถานที่เกิดความเสียหาย ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการซึ่งอาจเป็นผลลัพธ์ในบั้นปลายของการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลนั่น คือ ปัญหาความขาดแคลนทางดิจิทัล (Digital Scarcity) หมายความถึง ข้อจํากัด ที่ได้รับการดูแลจากซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล รวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ความขาดแคลนทางดิจิทัล สามารถสร้างแรงจูงใจที่จะสนับสนุนรูปแบบธุรกิจ ที่ทำกําไรจากความขาดแคลน (เช่น ธุรกิจให้เช่าภาพยนตร์ หนังสือ หรือเพลง) หรือความเป็นเอกลักษณ์ในอาณาจักรดิจิทัล เช่น การขายงานศิลปะที่มีความดั้งเดิมเพียงชิ้นเดียวในโลก เป็นต้น พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดของโทรศัพท์มือถือ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมหาศาล และสร้างอุปทานให้แก่บรรดาผู้บริโภคที่ต้องการก้าวทันเทคโนโลยี ประกอบกันกับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น และมีการสร้างเนื้อหาแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น ได้เปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า ‘ความขาดแคลนทางดิจิทัล’ ให้หมายถึง การจํากัดและเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาดิจิทัล ข้อมูลดิจิทัลสามารถคัดลอกได้ง่ายขึ้น และมีจำนวนมหาศาล โดยธรรมชาติแล้ว ข้อมูลดิจิทัลจึงไม่ขาดแคลน สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่มีการลดทอนคุณภาพ ความขาดแคลนทางดิจิทัล จึงเป็นเรื่องที่อธิบายถึงข้อจํากัดในการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล เพื่อปกป้องรูปแบบธุรกิจ ที่ต้องอาศัยความความขาดแคลนในข้อมูลบางประเภท เช่นเดียวกับในการพัฒนาตลาดดิจิทัลและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมที่ใช้ลิขสิทธิ์ พยายามที่จะกําหนดความขาดแคลนทางดิจิทัลเพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูล จนทำให้เกิดการผูกขาดด้วยพลังอำนาจของความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่หวงกันการเข้าถึงความรู้ของสังคมโดยเฉพาะประชาชนผู้ยากจนในประเทศกำลังพัฒนา หรือไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้นมาแข่งขันในตลาด เพราะไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาต่อยอดได้เพราะติดข้อจำกัดด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่ต้น ในบริบทของบล็อกเชน Bitcoin ความขาดแคลนทางดิจิทัลหมายถึง ‘ข้อจํากัดในการจัดหา Bitcoin ทั้งหมด’ ซึ่งเป็นคนละทิศทางกับความหมายของความขาดแคลนทางดิจิทัล ก่อนหน้านี้ที่การเข้าถึงข้อมูลจะไม่ถูกจํากัด ในการเข้าใช้ระบบ Bitcoin เครือข่ายบล็อกเชนได้ให้อิสระสำหรับทุกคนที่จะคัดลอก เพื่อให้ทํางานได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่กําหนดลักษณะเฉพาะของ Bitcoin จึงไม่ใช่เอกลักษณ์ในฐานะชิ้นส่วนของข้อมูล แต่มีไว้เพื่อการตรวจสอบ ในการแยกประเภทบัญชีการใช้งานแบบกระจาย จากการที่ Bitcoin ได้มีการจํากัดอุปทานการครอบครองไว้ หมายความว่าจำนวนของการธุรกรรมทั้งหมดได้มีการกำหนดขีดจำกัด เหล่านี้เป็นตัวอย่างของความขาดแคลนในการขุด (การจำกัดจำนวนการเข้าไปหาประโยชน์ในแพลตฟอร์ม) นอกเหนือจากความขาดแคลนของ Cryptocurrencies และ 'Tokens' ก็ยังมีการเกิดขึ้นใหม่ของ 'รายการดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน' เช่น Non Fungible Tokens หรือ NFTs ที่ได้ก้าวข้ามข้อจำกัดในการครอบครองเป็นเจ้าของอย่างเป็นเหนือสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง (ออฟไลน์) ไปยังของสะสมดิจิทัล และได้รับการยอมรับและใช้งานจริง การเพิ่มขึ้นของ NFTs ได้นําไปสู่การทดลองกับคุณสมบัติดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีความตั้งใจที่กว้างขึ้น โดยไม่ลดการไหลเวียนการนำมาผลิตซ้ำของงาน แต่แทนที่จะสร้างชื่อและอนุพันธ์จากการใช้งานและการไหลเวียน ตัวอย่างเช่น การครอบครอง 'ต้นฉบับ' งานอาร์ตในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มา และพิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญเพียงพอที่จะวัดเป็นมูลค่าจากการเป็นวัตถุดิจิทัล 'ที่ไม่ซ้ำกันกับงานชิ้นอื่น' อ้างอิง Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019). Jaya Klara Brekke and Aron Fischer, “Digital Scarcity,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021). *ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
6. ต่อสู้กับอาชญากรรม
ทศพล ทรรศนพรรณ
3.การกำกับดูแล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทนำ            การมีชีวิตอยู่อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและการทนทุกข์ทรมานให้ถึงที่สุด ย่อมเป็นความปรารถนาอันแรงกล้าอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกคน มนุษย์จึงสร้างสิ่งที่เรียกว่า “เกม” (Ga
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.          เสรีภาพในการแสดงออก และการควบคุมเนื้อหาของ Social Media
ทศพล ทรรศนพรรณ
5. ความหละหลวมทางความมั่นคงทางไซเบอร์นำไปสู่ชัยชนะของทรัมป์        
ทศพล ทรรศนพรรณ
 1.         บทนำเข้าสู่กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล    
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตัวเลขในงานวิจัยทั้งหลายแหล่ บอกว่าคนแห่มาอยู่ “โสด” ทั้งที่โสดมาตลอด หย่าร้างแล้วกลับมาโสด หรือคบหากันแต่จงใจแยกกันไป “โสด”  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูมักมีการบ่นจากนายจ้างว่าหาแรงงานไม่ค่อยได้ ในทางตรงข้ามก็มีการโอดครวญจากคนทำงานว่าถูกตัดสวัสดิการ ไปจนถึงลดงาน หรือให้ออก  สลับกันไป   แต่สิ่งหนึ่งที่ไทยหรือแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญก็คือ สังคมไร้เสถียรภาพ อันมีสาเหตุจากคนในสังคมรู้สึกว่าชีว
ทศพล ทรรศนพรรณ
อินเตอร์เน็ตและผลสะเทือนต่อปริมณฑลทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายไซเบอร์กับสังคมดิจิทัล
ทศพล ทรรศนพรรณ
            สถานการณ์เขม็งเกลียวทางการเมืองและสังคมที่เกิดจากการพยายามผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย(ตัน) ของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลโดยมีคะแนนเสียงในสภาล่างถึง 310 เสียงนั้น   ได้ผลักให้ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 2553 และประชาชนผู้รัก