Skip to main content
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน


ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก


พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย


แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก เนื่องจากในพื้นที่มีการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลทหารพม่ามาตลอด ด้วยข้อมูลเรื่องราวๆ ต่างที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำสาละวินมีอยู่จำนวนน้อย ชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวิน จึงได้ร่วมกันศึกษาข้อมูลของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินขึ้นมา เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงบางประการที่สังคมยังไม่รู้เกี่ยวกับแม่น้ำสายนี้ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ชื่อว่า 'งานวิจัยปกากะญอ ‘วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของ ปกากะญอสาละวิน' ซึ่งจัดทำโดยนักวิจัยจาก ๕๐ หย่อมบ้านริมฝั่งน้ำสาละวิน ในเขตอำเภอแม่เสรียง และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


งานวิจัย ได้จำแนกระบบนิเวศอันหลากหลายของแม่น้ำสาละวิน ออกเป็น ๑๘ ระบบคือ เกหรือเก้-แก่ง, กุยหรือกุ้ย หรือทีเกว่อ-วังน้ำ, ทีลอจอ-น้ำตกที่ตกลงมาเป็นหยดๆ ,นออูหรู่-น้ำซับ,ทีหนึ-น้ำมุด,แมหมื่อโข่-หาดหินกรวด,แมวาโข่-หาดทราย,โหน่-หนองน้ำ,ทีสะเหน่อ-แอ่งน้ำเว้าเข้าไปในฝั่งที่มีขนาดเล็ก,ทีวอ-แอ่งน้ำเว้าเข้าไปในริมฝั่งขนาดใหญ่,เลอกะปา-แนวหินริมฝั่ง,ทีลอซู-น้ำตก,โค-บริเวณที่มีน้ำตื้นแต่มีกระแสน้ำไหลแรง,ทีโยนขุ่ยอะแล-บริเวณร่องน้ำเก่า,ทีกะติ-บริเวณที่มีร่องน้ำแคบ,เว่ยจี-บริเวณที่มีน้ำวนขนาดใหญ่,ที้นีทิ-ริมตลิ่ง,ทีถะหรือที้ท่า-ปากห้วย


นอกจากระบบนิเวศ ทั้ง ๑๘ ระบบที่กล่าวมาแล้ว บนพรมแดนไทย-พม่า ตั้งแต่ผาตั้งลงมาจนถึงบ้านสบเมย ยังมีระบบนิเวศที่สำคัญตามจุดต่างๆ ถึง ๒๓ จุด เช่น เลกวอท่า,เว่ยจี,ดากวิน,แก่งแม่คาเก,ซุแมท่า เป็นต้น


พ่อหลวงธวัชชัย อมรใฝ่ชนแดน กล่าวถึงการศึกษาวิจัยครั้งนี้ว่า

พวกเราอยากให้คนนอกรู้ว่า ที่แม่น้ำสาละวิน มันไม่ได้มีแต่แม่น้ำอย่างเดียว มันยังมีคนอยู่ตามริมน้ำ อาศัยแม่น้ำหาปลา อาศัยริมฝั่งปลูกผัก แต่ก่อนนี่คนภาย นอกจะรู้ว่าปกากะญอทำอย่างเดียว ก็คือปลูกข้าวไร่ แต่พอมาที่สาละวินนี่ปกากะญอหาปลาด้วย'


ในช่วงหน้าแล้งยามน้ำลด ริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองฝั่งจะเต็มไปด้วยพืชริมน้ำที่เกิดขึ้นตามหาดทรายซึ่งเป็นหนึ่งในระบบนิเวศแม่น้ำที่จะพบเห็นได้ในช่วงน้ำลดเท่านั้น หาดทรายที่ยาวโผล่พ้นน้ำขึ้นมา ชาวบ้านก็จะลงไปจับจองเพื่อปลูกผัก ปลูกถั่วเอาไว้กินไว้ขาย


นอกจาก ชาวบ้านจะปลูกผักตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำในหน้าแล้งแล้ว บางคนก็หาปลาในแม่น้ำไปขายเพื่อเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง


จากประสบการณ์ของชาวบ้านเช่น พะมูลอย ดีสมประสงค์ คนหาปลาบ้านสบเมย บอกเล่าถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศแม่น้ำสาละวินที่ส่งผลให้แม่น้ำสาละวิน มีปลาจำนวนมากอาศัยอยู่ตามระบบนิเวศต่างๆ ของแม่น้ำ


ปลาในน้ำสาละวินมีเยอะ ถ้าเราไปวางจา-ตาข่ายตามแก่งหินได้ปลาทุกวัน เรามีปลากินไม่ต้องไปซื้อ เราก็ประหยัดเงินไปได้ ทุกอย่างเราหาเอาจากน้ำ เงินเราอยู่ในน้ำ'


กล่าวตามความจริง ระบบนิเวศของแม่น้ำสาละวิน จึงไม่ใช่สิ่งที่ส่งผลให้แม่น้ำสาละวิน อุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่ระบบนิเวศของแม่น้ำสาละวิน ยังเป็นพื้นที่หาอยู่หากินอันส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ต่อชีวิตของคนในชุมชนสองฝั่งน้ำด้วยเช่นกัน


ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไม่ได้มีเฉพาะบริเวณพรมแดนไทย-พม่าเท่านั้น ในบริเวณปากแม่น้ำยังมีพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออยู่อีกมาก ประชาชนในเมือง ชาวไร่ชาวนา และชาวประมงกว่าครึ่งล้านที่อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำสาละวินเมือง มะละแหม่ง ประเทศพม่า ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในด้านต่างๆ ทั้งหาปลา อาศัยน้ำในการปลูกข้าว เป็นต้น


จากรายงาน "แขวนบนเส้นด้าย" (In the Balance) ซึ่งเป็นรายงานที่จัดทำโดยองค์กรเยาวชนก้าวหน้าชาวมอญ (Mon Youth Progressive Organization: MYPO) ได้เผยให้เห็นชีวิตของประชาชนที่พึ่งพาริมฝั่งน้ำ ลำน้ำสาขา และเกาะแก่งต่างๆ บริเวณปากน้ำสาละวิน อันเป็นจุดที่น้ำจืดจากแม่น้ำไหลไปบรรจบกับน้ำเค็มจากทะเลอันดามัน ชีวิตของผู้คนที่นี้จึงผูกพันลึกซึ้งกับกระแสการไหลของน้ำตามฤดูกาล และการขึ้น-ลงของน้ำในแต่ละวัน


ระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำสาละวินนั้น จัดได้ว่าเป็นระบบ ‘นิเวศสองน้ำ' คือ มีทั้งน้ำเค็ม และน้ำจืด พื้นที่ที่มีระบบนิเวศสองน้ำนั้นมีความอ่อนไหวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ถ้าน้ำจืดมามากน้ำทะเลที่หนุนขึ้นมาก็จะน้อย ส่งผลให้สัตว์หรือพืชบางชนิดที่เกิดตามป่าชายเลนลดน้อยลง หรือถ้าหากว่าน้ำเค็มหนุนขึ้นมาเยอะก็จะส่งผลให้พืชและสัตว์ที่ต้องพึ่งพาน้ำจืดลดน้อยลงเช่นกัน


ระบบนิเวศแบบสองน้ำนี้ น้ำทั้งสองชนิดย่อมมีความสำคัญเท่าๆ กัน หากน้ำจืดน้อยไม่พอต่อการไล่น้ำทะเลช่วงที่น้ำทะเลหนุนก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำเช่นกัน


ดังที่กล่าวมาแล้ว แม่น้ำสาละวิน ถือว่าเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสายหนึ่งในภูมิภาคนี้ และรัฐบาลไทยก็เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้ รัฐบาลจึงได้ออกประกาศให้แม่น้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…