Skip to main content
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน


ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก


พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย


แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก เนื่องจากในพื้นที่มีการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลทหารพม่ามาตลอด ด้วยข้อมูลเรื่องราวๆ ต่างที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำสาละวินมีอยู่จำนวนน้อย ชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวิน จึงได้ร่วมกันศึกษาข้อมูลของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินขึ้นมา เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงบางประการที่สังคมยังไม่รู้เกี่ยวกับแม่น้ำสายนี้ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ชื่อว่า 'งานวิจัยปกากะญอ ‘วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของ ปกากะญอสาละวิน' ซึ่งจัดทำโดยนักวิจัยจาก ๕๐ หย่อมบ้านริมฝั่งน้ำสาละวิน ในเขตอำเภอแม่เสรียง และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


งานวิจัย ได้จำแนกระบบนิเวศอันหลากหลายของแม่น้ำสาละวิน ออกเป็น ๑๘ ระบบคือ เกหรือเก้-แก่ง, กุยหรือกุ้ย หรือทีเกว่อ-วังน้ำ, ทีลอจอ-น้ำตกที่ตกลงมาเป็นหยดๆ ,นออูหรู่-น้ำซับ,ทีหนึ-น้ำมุด,แมหมื่อโข่-หาดหินกรวด,แมวาโข่-หาดทราย,โหน่-หนองน้ำ,ทีสะเหน่อ-แอ่งน้ำเว้าเข้าไปในฝั่งที่มีขนาดเล็ก,ทีวอ-แอ่งน้ำเว้าเข้าไปในริมฝั่งขนาดใหญ่,เลอกะปา-แนวหินริมฝั่ง,ทีลอซู-น้ำตก,โค-บริเวณที่มีน้ำตื้นแต่มีกระแสน้ำไหลแรง,ทีโยนขุ่ยอะแล-บริเวณร่องน้ำเก่า,ทีกะติ-บริเวณที่มีร่องน้ำแคบ,เว่ยจี-บริเวณที่มีน้ำวนขนาดใหญ่,ที้นีทิ-ริมตลิ่ง,ทีถะหรือที้ท่า-ปากห้วย


นอกจากระบบนิเวศ ทั้ง ๑๘ ระบบที่กล่าวมาแล้ว บนพรมแดนไทย-พม่า ตั้งแต่ผาตั้งลงมาจนถึงบ้านสบเมย ยังมีระบบนิเวศที่สำคัญตามจุดต่างๆ ถึง ๒๓ จุด เช่น เลกวอท่า,เว่ยจี,ดากวิน,แก่งแม่คาเก,ซุแมท่า เป็นต้น


พ่อหลวงธวัชชัย อมรใฝ่ชนแดน กล่าวถึงการศึกษาวิจัยครั้งนี้ว่า

พวกเราอยากให้คนนอกรู้ว่า ที่แม่น้ำสาละวิน มันไม่ได้มีแต่แม่น้ำอย่างเดียว มันยังมีคนอยู่ตามริมน้ำ อาศัยแม่น้ำหาปลา อาศัยริมฝั่งปลูกผัก แต่ก่อนนี่คนภาย นอกจะรู้ว่าปกากะญอทำอย่างเดียว ก็คือปลูกข้าวไร่ แต่พอมาที่สาละวินนี่ปกากะญอหาปลาด้วย'


ในช่วงหน้าแล้งยามน้ำลด ริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองฝั่งจะเต็มไปด้วยพืชริมน้ำที่เกิดขึ้นตามหาดทรายซึ่งเป็นหนึ่งในระบบนิเวศแม่น้ำที่จะพบเห็นได้ในช่วงน้ำลดเท่านั้น หาดทรายที่ยาวโผล่พ้นน้ำขึ้นมา ชาวบ้านก็จะลงไปจับจองเพื่อปลูกผัก ปลูกถั่วเอาไว้กินไว้ขาย


นอกจาก ชาวบ้านจะปลูกผักตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำในหน้าแล้งแล้ว บางคนก็หาปลาในแม่น้ำไปขายเพื่อเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง


จากประสบการณ์ของชาวบ้านเช่น พะมูลอย ดีสมประสงค์ คนหาปลาบ้านสบเมย บอกเล่าถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศแม่น้ำสาละวินที่ส่งผลให้แม่น้ำสาละวิน มีปลาจำนวนมากอาศัยอยู่ตามระบบนิเวศต่างๆ ของแม่น้ำ


ปลาในน้ำสาละวินมีเยอะ ถ้าเราไปวางจา-ตาข่ายตามแก่งหินได้ปลาทุกวัน เรามีปลากินไม่ต้องไปซื้อ เราก็ประหยัดเงินไปได้ ทุกอย่างเราหาเอาจากน้ำ เงินเราอยู่ในน้ำ'


กล่าวตามความจริง ระบบนิเวศของแม่น้ำสาละวิน จึงไม่ใช่สิ่งที่ส่งผลให้แม่น้ำสาละวิน อุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่ระบบนิเวศของแม่น้ำสาละวิน ยังเป็นพื้นที่หาอยู่หากินอันส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ต่อชีวิตของคนในชุมชนสองฝั่งน้ำด้วยเช่นกัน


ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไม่ได้มีเฉพาะบริเวณพรมแดนไทย-พม่าเท่านั้น ในบริเวณปากแม่น้ำยังมีพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออยู่อีกมาก ประชาชนในเมือง ชาวไร่ชาวนา และชาวประมงกว่าครึ่งล้านที่อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำสาละวินเมือง มะละแหม่ง ประเทศพม่า ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในด้านต่างๆ ทั้งหาปลา อาศัยน้ำในการปลูกข้าว เป็นต้น


จากรายงาน "แขวนบนเส้นด้าย" (In the Balance) ซึ่งเป็นรายงานที่จัดทำโดยองค์กรเยาวชนก้าวหน้าชาวมอญ (Mon Youth Progressive Organization: MYPO) ได้เผยให้เห็นชีวิตของประชาชนที่พึ่งพาริมฝั่งน้ำ ลำน้ำสาขา และเกาะแก่งต่างๆ บริเวณปากน้ำสาละวิน อันเป็นจุดที่น้ำจืดจากแม่น้ำไหลไปบรรจบกับน้ำเค็มจากทะเลอันดามัน ชีวิตของผู้คนที่นี้จึงผูกพันลึกซึ้งกับกระแสการไหลของน้ำตามฤดูกาล และการขึ้น-ลงของน้ำในแต่ละวัน


ระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำสาละวินนั้น จัดได้ว่าเป็นระบบ ‘นิเวศสองน้ำ' คือ มีทั้งน้ำเค็ม และน้ำจืด พื้นที่ที่มีระบบนิเวศสองน้ำนั้นมีความอ่อนไหวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ถ้าน้ำจืดมามากน้ำทะเลที่หนุนขึ้นมาก็จะน้อย ส่งผลให้สัตว์หรือพืชบางชนิดที่เกิดตามป่าชายเลนลดน้อยลง หรือถ้าหากว่าน้ำเค็มหนุนขึ้นมาเยอะก็จะส่งผลให้พืชและสัตว์ที่ต้องพึ่งพาน้ำจืดลดน้อยลงเช่นกัน


ระบบนิเวศแบบสองน้ำนี้ น้ำทั้งสองชนิดย่อมมีความสำคัญเท่าๆ กัน หากน้ำจืดน้อยไม่พอต่อการไล่น้ำทะเลช่วงที่น้ำทะเลหนุนก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำเช่นกัน


ดังที่กล่าวมาแล้ว แม่น้ำสาละวิน ถือว่าเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสายหนึ่งในภูมิภาคนี้ และรัฐบาลไทยก็เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้ รัฐบาลจึงได้ออกประกาศให้แม่น้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…