Skip to main content

วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว

ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น

\\/--break--\>
ในสายลมหนาวของยามค่ำวันหนึ่ง ข้าพเจ้าหวนนึกถึงเรื่องราวบางเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเพียงชั่วไม่กี่เดือน ข้าพเจ้าลองไล่เรียงลำดับความสัมพันธ์ระหว่างข้าพเจ้ากับเรื่องราวแห่งสวนอักษรที่งอกงามขึ้นมาในใจเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ามันช่างเป็นความสัมพันธ์ที่เล็กน้อยเสียเหลือเกิน เล็กน้อยถึงขนาดที่ใครบางคนบอกกับข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ายังรู้จักมันน้อยเกินไป ไม่ต้องไปฟูมฟายกับมันมากนักก็ได้ ใช่ !! เมื่อเรารู้จักเรื่องราวบางเรื่องราวเพียงเล็กน้อย เราจะไปตัดสินใจว่า มันดีหรือเลวไม่ได้


เรื่องราวที่ข้าพเจ้ากำลังย้อนคืนความทรงจำในครั้งนี้ มันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าพบโดยบังเอิญขณะเดินย่ำไปบนถนนสายหนึ่งในเมืองหลวงพระบางยามค่ำคืน หนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ ขนาดกระดาษ A ๔ ราคา ๕,๐๐๐ กีบ (๒๕๐ กีบเท่ากับ ๑ บาท) ที่ข้าพเจ้าพบเจอนั้นชื่อ “วารสารวรรณศิลป์”


แรกพบสบตาซึ่งกันและกัน ทั้งที่ยังไม่ทันได้เอ่ยเอื้อนทำความรู้จักกัน หนังสือ ๔ เล่มก็มาอยู่ในมือของข้าพเจ้า


ยามเมื่อเรือทวนคืนสายน้ำของกลับมายังประเทศไทย ข้าพเจ้าก็ได้รู้จักวารสารเล่มนี้มากขึ้น ข้าพเจ้าเฝ้าสังเกตความเป็นไปของมันด้วยการอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรื่องสั้นบางเรื่อง บทกวีบางบท ที่ข้าพเจ้าเฝ้ามองและเฝ้าอ่าน ในที่สุดข้าพเจ้าก็ค้นพบว่า การเขียนกวีแบบลาวคือการเขียนกวีแบบผญาอีสาน


ในเรื่องสั้นบางเรื่องมีกลิ่นอายของประเทศรัสเซียปรากฏ โดยเฉพาะเรื่องสั้นของ บุญเสิน แสงมณี นักเขียนลาวที่ไปร่ำเรียนในประเทศรัสเซีย ฉากบางฉาก เรื่องเล่าบางเรื่องเล่า ล้วนมีกลิ่นอายของหิมะแห่งแผ่นดินรัสเซียโปรยปรายอยู่


ข้าพเจ้าได้รู้จักนักเขียนเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ของประเทศลาวในปี ๑๙๙๙ จากหนังสือเล่มนี้ แม้ว่างานเขียนของเขาจะแผ่วเบาทางอารมณ์ลงไปบ้างก็คงไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก แต่หากว่า ความสำคัญของมันคือ การเปลี่ยนผ่านจากนักเขียนผู้เฒ่าสู่พัฒนาการของนักเขียนรุ่นใหม่


จันที เดือนสะหวัน คือนักเขียนผู้เฒ่าคนนั้นที่ได้แสดงให้นักเขียนรุ่นใหม่ได้เข้าใจว่า เขาคือนักเขียนที่เขียนได้หลากหลายเรื่องราว ดุจเดียวกันกับพญาอินทรีแห่งดอยโป่งแยงได้แสดงให้คนรุ่นหลังได้ประจักษ์เช่นกัน


เมื่อต้นเดือนธันวาคมมาเยือนพร้อมกับการเฉลิมฉลองวันชาติของลาวได้ผ่านพ้นไป ข้าพเจ้าก็ได้รับวารสารวรรณศิลป์ปี ๒๐๐๔ จำนวน ๑๑ ฉบับ จากความปรารถนาดีของเพื่อนนักเขียนคนหนึ่งที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากนครหลวงเวียงจัน ข้าพเจ้าพินิจวารสารจำนวน ๑๑ ฉบับนั้นกลับไปกลับมา แล้วสายตาของข้าพเจ้าก็สะดุดเข้ากับตัวหนังสือแถวหนึ่งในถ้อยแถลงของบรรณาธิการคือ ท่านทองใบ โพธิสาน ในถ้อยคำนั้นมีเนื้อความว่า “ปีนี้เป็นปีครบครอบ ๒๕ ปี ของวารสารวรรณศิลป์ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี ๑๙๗๙ ” ถ้าเป็นคนหนุ่มก็เลยเบญจเพสมาหลายปี


ห้วงยามปัจจุบันวารสารวรรณศิลป์ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก (แต่ราคาคงเดิม) เนื้อหาต่างเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งเรื่องสั้น บทกวี สารคดี เรื่องแปลจากต่างประเทศ และในปีนี้เองที่วารสารวรรณศิลป์ได้จัดประกวดรางวัลสินไช-รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ดีเด่นปี ๒๐๐๔ ขึ้นมา ในจำนวนเรื่องราวที่ส่งเข้าประกวดแล้ว นอกจากกรรมการเป็นผู้ตัดสิน ผู้อ่านยังมีส่วนร่วมในการตัดสินด้วย เรื่องที่ส่งเข้าประกวดรางวัลสินไชนั้นมีทั้ง เรื่องสั้น บทกวี และนิยาย ซึ่งเรื่องที่ส่งเข้าประกวดได้ทยอยตีพิมพ์ในวารสารวรรณศิลป์เพื่อให้ผู้อ่านได้อ่าน


นอกจากเรื่องสั้น บทกวี และนิยายแล้ว วารสารวรรณศิลป์ยังมีนิทานพื้นบ้านเพิ่มเข้ามาเป็นสีสันให้คนอ่านได้อ่านสนุกสานอีกด้วย


ยิ่งข้าพเจ้าเพ่งพินิจวารสารวรรณศิลป์มากเท่าใดก็ยิ่งเกิดคำถามมากขึ้นเท่านั้นว่า “แล้ววารสารฉบับนี้ใครเป็นเจ้าของ” ในที่สุดคำตอบของคำถามก็ถูกเฉลยไว้ในหน้าแรกของวารสารนั่นเอง กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมคือผู้เป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้ โดยการผลิตหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้เป็นวารสารเพื่อวัฒนธรรม และเป็นเวทีส่งเสริมวรรณคดีและศิลปะ


ในประเทศเล็กๆ ที่ไม่เจริญและล้าหลังในสายตาของคนไทย ข้าพเจ้าเชื่อว่ายังมีบ้างสิ่งที่ไม่ล้าหลัง แต่ในประเทศที่เจริญอย่างประเทศไทยต่างหากเล่าที่กำลังล้าหลังลงเรื่อยๆ ทั้งที่เราอยากเป็นเมืองแห่งศิลปะ เมืองแห่งแฟชั่น ถ้าไม่เชื่อลองเอาเรื่องราวเหล่านี้ไปถามกระทรวงวัฒนธรรมดูก็คงจะรู้เอง


วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาวต่างมีเรื่องเล่าให้เล่าขานได้ไม่รู้จบจากการถือกำเนิดและการดำรงอยู่ของวารสารเล่มนี้ และข้าพเจ้าแอบหวังว่า มันคงอยู่อย่างเนิ่นนานและรับใช้ผู้อ่านไปอีกเนิ่นนานเช่นกัน

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…