Skip to main content

วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว

ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น

\\/--break--\>
ในสายลมหนาวของยามค่ำวันหนึ่ง ข้าพเจ้าหวนนึกถึงเรื่องราวบางเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเพียงชั่วไม่กี่เดือน ข้าพเจ้าลองไล่เรียงลำดับความสัมพันธ์ระหว่างข้าพเจ้ากับเรื่องราวแห่งสวนอักษรที่งอกงามขึ้นมาในใจเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ามันช่างเป็นความสัมพันธ์ที่เล็กน้อยเสียเหลือเกิน เล็กน้อยถึงขนาดที่ใครบางคนบอกกับข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ายังรู้จักมันน้อยเกินไป ไม่ต้องไปฟูมฟายกับมันมากนักก็ได้ ใช่ !! เมื่อเรารู้จักเรื่องราวบางเรื่องราวเพียงเล็กน้อย เราจะไปตัดสินใจว่า มันดีหรือเลวไม่ได้


เรื่องราวที่ข้าพเจ้ากำลังย้อนคืนความทรงจำในครั้งนี้ มันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าพบโดยบังเอิญขณะเดินย่ำไปบนถนนสายหนึ่งในเมืองหลวงพระบางยามค่ำคืน หนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ ขนาดกระดาษ A ๔ ราคา ๕,๐๐๐ กีบ (๒๕๐ กีบเท่ากับ ๑ บาท) ที่ข้าพเจ้าพบเจอนั้นชื่อ “วารสารวรรณศิลป์”


แรกพบสบตาซึ่งกันและกัน ทั้งที่ยังไม่ทันได้เอ่ยเอื้อนทำความรู้จักกัน หนังสือ ๔ เล่มก็มาอยู่ในมือของข้าพเจ้า


ยามเมื่อเรือทวนคืนสายน้ำของกลับมายังประเทศไทย ข้าพเจ้าก็ได้รู้จักวารสารเล่มนี้มากขึ้น ข้าพเจ้าเฝ้าสังเกตความเป็นไปของมันด้วยการอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรื่องสั้นบางเรื่อง บทกวีบางบท ที่ข้าพเจ้าเฝ้ามองและเฝ้าอ่าน ในที่สุดข้าพเจ้าก็ค้นพบว่า การเขียนกวีแบบลาวคือการเขียนกวีแบบผญาอีสาน


ในเรื่องสั้นบางเรื่องมีกลิ่นอายของประเทศรัสเซียปรากฏ โดยเฉพาะเรื่องสั้นของ บุญเสิน แสงมณี นักเขียนลาวที่ไปร่ำเรียนในประเทศรัสเซีย ฉากบางฉาก เรื่องเล่าบางเรื่องเล่า ล้วนมีกลิ่นอายของหิมะแห่งแผ่นดินรัสเซียโปรยปรายอยู่


ข้าพเจ้าได้รู้จักนักเขียนเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ของประเทศลาวในปี ๑๙๙๙ จากหนังสือเล่มนี้ แม้ว่างานเขียนของเขาจะแผ่วเบาทางอารมณ์ลงไปบ้างก็คงไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก แต่หากว่า ความสำคัญของมันคือ การเปลี่ยนผ่านจากนักเขียนผู้เฒ่าสู่พัฒนาการของนักเขียนรุ่นใหม่


จันที เดือนสะหวัน คือนักเขียนผู้เฒ่าคนนั้นที่ได้แสดงให้นักเขียนรุ่นใหม่ได้เข้าใจว่า เขาคือนักเขียนที่เขียนได้หลากหลายเรื่องราว ดุจเดียวกันกับพญาอินทรีแห่งดอยโป่งแยงได้แสดงให้คนรุ่นหลังได้ประจักษ์เช่นกัน


เมื่อต้นเดือนธันวาคมมาเยือนพร้อมกับการเฉลิมฉลองวันชาติของลาวได้ผ่านพ้นไป ข้าพเจ้าก็ได้รับวารสารวรรณศิลป์ปี ๒๐๐๔ จำนวน ๑๑ ฉบับ จากความปรารถนาดีของเพื่อนนักเขียนคนหนึ่งที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากนครหลวงเวียงจัน ข้าพเจ้าพินิจวารสารจำนวน ๑๑ ฉบับนั้นกลับไปกลับมา แล้วสายตาของข้าพเจ้าก็สะดุดเข้ากับตัวหนังสือแถวหนึ่งในถ้อยแถลงของบรรณาธิการคือ ท่านทองใบ โพธิสาน ในถ้อยคำนั้นมีเนื้อความว่า “ปีนี้เป็นปีครบครอบ ๒๕ ปี ของวารสารวรรณศิลป์ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี ๑๙๗๙ ” ถ้าเป็นคนหนุ่มก็เลยเบญจเพสมาหลายปี


ห้วงยามปัจจุบันวารสารวรรณศิลป์ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก (แต่ราคาคงเดิม) เนื้อหาต่างเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งเรื่องสั้น บทกวี สารคดี เรื่องแปลจากต่างประเทศ และในปีนี้เองที่วารสารวรรณศิลป์ได้จัดประกวดรางวัลสินไช-รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ดีเด่นปี ๒๐๐๔ ขึ้นมา ในจำนวนเรื่องราวที่ส่งเข้าประกวดแล้ว นอกจากกรรมการเป็นผู้ตัดสิน ผู้อ่านยังมีส่วนร่วมในการตัดสินด้วย เรื่องที่ส่งเข้าประกวดรางวัลสินไชนั้นมีทั้ง เรื่องสั้น บทกวี และนิยาย ซึ่งเรื่องที่ส่งเข้าประกวดได้ทยอยตีพิมพ์ในวารสารวรรณศิลป์เพื่อให้ผู้อ่านได้อ่าน


นอกจากเรื่องสั้น บทกวี และนิยายแล้ว วารสารวรรณศิลป์ยังมีนิทานพื้นบ้านเพิ่มเข้ามาเป็นสีสันให้คนอ่านได้อ่านสนุกสานอีกด้วย


ยิ่งข้าพเจ้าเพ่งพินิจวารสารวรรณศิลป์มากเท่าใดก็ยิ่งเกิดคำถามมากขึ้นเท่านั้นว่า “แล้ววารสารฉบับนี้ใครเป็นเจ้าของ” ในที่สุดคำตอบของคำถามก็ถูกเฉลยไว้ในหน้าแรกของวารสารนั่นเอง กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมคือผู้เป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้ โดยการผลิตหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้เป็นวารสารเพื่อวัฒนธรรม และเป็นเวทีส่งเสริมวรรณคดีและศิลปะ


ในประเทศเล็กๆ ที่ไม่เจริญและล้าหลังในสายตาของคนไทย ข้าพเจ้าเชื่อว่ายังมีบ้างสิ่งที่ไม่ล้าหลัง แต่ในประเทศที่เจริญอย่างประเทศไทยต่างหากเล่าที่กำลังล้าหลังลงเรื่อยๆ ทั้งที่เราอยากเป็นเมืองแห่งศิลปะ เมืองแห่งแฟชั่น ถ้าไม่เชื่อลองเอาเรื่องราวเหล่านี้ไปถามกระทรวงวัฒนธรรมดูก็คงจะรู้เอง


วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาวต่างมีเรื่องเล่าให้เล่าขานได้ไม่รู้จบจากการถือกำเนิดและการดำรงอยู่ของวารสารเล่มนี้ และข้าพเจ้าแอบหวังว่า มันคงอยู่อย่างเนิ่นนานและรับใช้ผู้อ่านไปอีกเนิ่นนานเช่นกัน

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’