Skip to main content

10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ 


เห็นกลุ่มผู้หญิง(บางกลุ่ม)ออกมาเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญบัญญัติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 โดยหวังว่าจะสร้างความเสมอภาคทางเพศ ผมคิดว่า...

1. เราต้องเข้าใจว่าการมีผู้หญิงนั่งอยู่ในตำแหน่งทางการเมืองไม่ใช่ว่าเขาจะปกป้องผลประโยชน์ของผู้หญิง และถึงปกป้องก็ใช่ว่าจะเป็นผู้หญิงส่วนใหญ่ ในทางกลับกันใช่ว่าผู้ชายหรือเพศอื่นๆ จะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ
 

2. แต่มันขึ้นอยู่กับว่า 'ใครเลือกเขามา' และเขา 'ถูกควบคุมตรวจสอบโดยใคร' นี่ต่างหากที่จะเป็นหลักประกันที่จะให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ ดำเนินนโยบายไปทิศทางใด 
 

3. จากข้อ 2. ผู้หญิงใน สนช. สปช. ที่ถูกแต่งตั้งโดย คสช. ก็จะรับผิดชอบหรือดำเนินการตาม คสช. เป็นหลัก หรืออย่างน้อยก็ไม่ต่อต้าน คสช. (ตามที่ป้า ทิชา ยืนยันว่าไม่ได้ต่อต้าน คสช.)
 

4. ถ้าบรรดาผู้หญิงเหล่านั้นเชื่อว่าการที่มีผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ และจะปกป้องสิทธิของผู้หญิงจริง ผู้หญิงเหล่านั้นก็คงจะออกมาปกป้อง ยิ่งลักษณ์ อย่างเอาเป็นเอาตายอยู่แล้ว แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น หลายคนทำในสิ่งตรงข้าม หลายคนออกมาล้มการเลือกตั้ง 2 ก.พ.ด้วยซ้ำ เพราะเขาไม่ได้มองว่ายิ่งลักษณ์ในฐานะตัวแทนผู้หญิง ซึ่งก็ไม่ผิด
 

5. การที่ผู้หญิงหลายคน(ไม่ทั้งหมด)ที่เรียกร้อง 50:50 เคยเป่านกหวีดจนล้มเลือกตั้ง 2 ก.พ. ด้านหนึ่งก็เป้นการตัดความเท่าเทียมทาเพศด้วยซ้ำ เพราะการเลือกตั้งมันเป็นกระบวนการพื้นฐานสุดของการยืนยันความเท่าเทียมบนหลักการ 1 สิทธิ 1 เสียง ผู้หญิงมีสิทธิเท่ากับผู้ชา


6. ที่มาของวันสตรีสากลส่วนหนึ่งก็มาจากการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงที่เท่าเทียมกับชายเช่นกัน
 

7. การกำหนดโควต้าในรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ ด้านหนึ่งมันคือ 'บอนไซ' คือไปบีบบังคับให้เขาตั้งยัดๆ ผู้หญิงเข้าไป แทนที่จะเป็นไปตามความต้องการของประชาชนที่จะเลือกหรือนิยมคนนั้นคนนี้ ตัวอย่าง หากชายคนหนึ่งมีคนที่ต้องการเลือกเขามากกว่า หญิงอีกคนหนึ่ง แต่ด้วยหลัก 50:50 ทำต้องกันที่ให้กับผู้หญิง ไม่ใช่แค่การตัดสิทธิชายคนดังกล่าวหากแต่เป็นการบิดเบือนเสียงที่แท้จริงของประชาชนที่เขาจะเลือกชายคนนั้นด้ว
 

8. และถึงที่สุดสัดส่วนดังกล่าวคนที่จะได้ภายใต้กระแสลดทอนสิทธิเสียงของประชาชนตั้งแต่การเลือกตั้งระดับชาติละท้องถิ่น ผู้หญิงที่จะเข้าไปนั่งในสัดส่วน 50:50 นั้นก็จะเป็นโอกาสของผู้หญิงชนชั้นสูงมากกว่า ด้วยการแต่งตั้ง ยัดเยียด ลากตั้งอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้
 

9. ผมยังคงยืนยันว่าคู่ขัดแย้งหญิง-ชาย เป็นเรื่องรองมาก เมื่อเทียบกับคู่ขัดแย้งทางชนชั้น ใช่ว่าผู้หญิงจะไม่กดขี่ผู้ชาย หากผู้หญิงนั้นเป็นชนชั้นสูง เป็นนายทุน ฯลฯ ดังนั้นการพูดถึงความเสมอภาคทางเพศ โดยไร้มิติความเหลื่่อมล้ำทางสังคม ความขัดแย้งทางชนชั้นจึงไม่นำไปสู่ความเสมอภาคที่แท้จริงแต่อย่างใด นอกจากทำให้ได้รู้สึกว่ายุติธรรมบนความอยุติธรรมรองเท่านั้น
 

10.แทนที่จะบอนไซ บีบบังคับในรัฐธรรมนูญ ให้สัดส่วน 50:50 นั้น ควรรณรงค์ให้ประชาชนเขาเลือกคนที่มีนโยบายส่งเสนอมความเสมอภาคทางเพศมากกว่า เพราะถ้าเธอเหล่านั้นดีจริงเดี๋ยวประชาชนเขาก็เลือกเอง อย่าลืมว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ 

ส่วนคนที่บอกว่า "ถ้าให้เลือกตั้งเสรี ผู้หญิงก็ไม่เลือกผู้หญิงอยู่ดี" นั่นล่ะครับยิ่งเป็นเครื่องยืนยันที่ดีที่สุดว่าเอาเข้าจริงใช่ว่าผู้หญิงจะสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ เพราะแม้แต่คุณยังยอมรับเลยว่าผู้หญิงด้วยกันใช่ว่าจะสนับสนุนผู้หญิงด้วยกัน

 

หมายเหตุ : ข้อโต้แย้งนี้ผมเขียนลงในเฟซบุ๊ก 'Bus Tewarit' เมื่อสตรีสากลหรือวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการมีเรื่องมาเล่าตอนนี้ เสนอตอน เปิด 5 ศพ ทหารเกณฑ์ถูกซ้อมตาย  เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูเกณฑ์ทหาร ซึ่งปีนี้ มีความต้องการทหารกองประจำการ 103,097 นาย ความต้องการนี้เพิ่มขึ้นทุกปี  โดย สิ่งที่มาพร้อมกับการเกณฑ์ทหาร นอกจากสีสันการลุ้นใบดำใบแดง ภาพชายหนุ่มสวยๆ ต่างๆที่ต้องไปเข้าเกณฑ์ทหารแล้ว คือรายชื่อพลทหารที่ถูกซ้อมจนตายหรือบาดเจ็บสาหัส โดยมีเรื่องมาเล่าฯ ตอนนี้จะยกตัวอย่าง พลทหารที่ถูกซ้อมจนตายเท่าที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างน้อย 5 ราย ประกอบด้วย พลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม พลทหารวิเชียร เผือกสม พลทหารทรงธรรม หมุดหมัด  พลทหารอภินพ เครือสุข  และ พลทหารสมชาย ศรีเอื้องดอย เป็นต้น
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องของประเด็น 1. สู้หรือซ้อม 2. ชัยภูมิ ไม่ใช่รายแรก เดือนที่แล้วก็มีเหตุวิสามัญแบบนี้ 3. เงินจากขายยาบ้าหรือกาแฟ 4. ขนยาหรือโดนยัด 5. กล้องวงจรปิดดทำไมไม่เปิด 6. ลาหู่ และผลกระทบในช่วงสงครามยาเสพติด-โดนคุกคามหนักถึงชีวิต และ 7. ชาวบ้านกับ จนท. ทะเลาะกันบ่อยจนไม่ไว้วางใจ ตั้งแต่เรื่องที่ทำกินยันโพสต์คลิปในเฟซบุ๊ก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เปิดข้อมูลอีกด้านก่อนจะปลื้มไปกับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่โชว์ว่าไทยมีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก หรือมีความสุขที่สุด 3 ปีซื้อ ขณะที่ปัจจัยที่ใช้วัด อย่าง อัตราการว่างงาน ไทยมีปัญหาในการนับ เพราะทำงานอะไรก็ได้แค่ 1 ชม./สัปดาห์ รวมทั้งเศรษฐกิจนอกระบบเราใหญ่มาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ กลับเป็นการสะท้อนปัญหาที่จะเป็นเงินฝืด
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
มีเรื่องมาเล่า ตอน สนช.โดนประชุมประจำ หรือไม่ควรเข้าประชุมตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำ สื่บเนื่องจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559  พบว่า สมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ทำการสำรวจ มาลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมาประเด็น 'แพะ' หรือความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมจนนำมาสู่การตัดสินลงโทษผู้บริสุทธิ์ เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ '5 ประเด็นคุมกำเนิดคดีแพะ' โดยรวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดความผิดพลาดของระบบ มาเล่า ได้แก่ การพิจารณาคดีให้ครบองค์คณะ การบันทึกเป็นภาพและเสียงแทนตัวอักษร ปัญหาของระบบกล่าวหาทำจำเลยตกเป็นเบี้ยล่างตั้งแต่ต้น การนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่ และความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ... ที่ถูกนำเข้าสู่สภา 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอน ไทยความเหลื่อมล้ำ อันดับ 3 ของโลก คนรวยสุด 10% ครองทรัพย์สิน 79% ของประเทศ และข้อเสนอของ นิธิ คำตอบอยู่ที่การเมือง
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ เมื่อดัชนีคอร์รัปชั่นรัฐบาลปราบโกงหล่นฮวบ กับข้อเสนอของ ที่ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้ศึกษาเรื่องคอรัปชั่นมากว่า 20 ปี มานำเสนอบางช่วงบางตอน ซึ่งศ.ดร.ผาสุได้พูดถึงประเด็นการแก้ปัญหาคอรัปชั่นกับระชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
คลิปจากรายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ เสนอ 6 อันดับ รัฐประหารที่ขอเวลานานทีสุด 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
1. เพื่อไม่ให้เป็นการลงโทษผู้บริสุทธิ์ (ผู้ต้องหายังไม่ถูกพิพากษาถือเป็นผู้บริสุทธิ์) 2. ปิดช่องกลั่นแกล้งโดยผู้มีอำนาจรัฐหรือฝ่ายบริหาร  3. รักษาหลักประกันความยุติธรรม   และ 4. ยังยั้งการบีบให้ผู้ต้องหาเลือกที่จะสารภาพ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เก็บตกจากงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2016/08/67197