Skip to main content

เก็บตกจากงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2016/08/67197

เมื่อเราจะสร้างระบอบประชาธิปไตย เราควรหัวคนทุกคน ไม่ว่าโหวตอะไรหรือโนโหวต และไม่ควรมีสถานการณ์ยกเว้น

ถ้าเรายืนยันว่าประชากรในสังคมนั้นๆ เป็น 'พลเมือง' ไม่ใช่ subject หรือ คนในบังคับ ของรัฐหรือใคร ดังนั้นเท่ากับว่าเราเชื่อว่า พลเมืองทุกคนมีดุลยพินิจในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าเขาจะทำหรือไม่ทำอะไรย่อมมีความหมายและใช้ดุลยพินิจแล้วทั้งสิ้น

เช่นเดียวกันกับการไปโหวตอะไรหรือไม่ไปโหวต พลเมือง ย่อมเป็นการใช้ดุลยพินิจและแสดงออก โชติศักดิ์ อ่อนสูง หนึ่งในวิทยากรงานเสวนาดังกล่าว เปรียบไว้น่าสนใจด้วยว่า

“คำถามก็คือว่าถ้ามีคนเห็นว่าอะไรก็แล้วแต่ที่เล็กๆ มีค่ามากกว่าประชามติ มีคน 50% หรือมีคน 25 ล้านคนเห็นว่าการกระทำแบบนี้นอนดูทีวีอยู่บ้านหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ ต่อให้คุณยกตัวอย่างรูปธรรมการกระทำที่มันงี่เง่าอะไรก็แล้วแต่มามากแค่ไหนยิ่งยกตัวอย่างได้งี่เง่ามากที่สุดนี่แปลว่ารัฐธรรมนูญคุณยิ่งงี่เง่ายิ่งกว่าสิ่งนั้น เขาเลือกทำสิ่งงี่เง่าโดยไม่เลือก” โชติศักดิ์ กล่าว

มันเท่ากับว่าเขาไม่ออกมาให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญนั้น

ทีนี้ การเห็นหัวคนโนโหวต มีผลอย่างไรในเกมส์ประชามติ ผมมองว่ามันจะเปลี่ยนโหมดของการโหวตเพื่อแข่งกันระหว่างการรับ-ไม่รับ หรือโหวตเยสกับโหวตโน มาเป็นการโหวตรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ทั้งนี้ คสช.ไม่ยอมให้นับโนโหวต ด้วยการไม่กำหนด องค์ประชุม ของการแสวงหามตินี้ คือไม่มีการกดหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของการทำประชามติ วัดผลแพ้ชนะเพียงแค่คนที่ออกมาเท่านั้น ต่อให้ออกมาคนเดียวก็เท่ากับว่าเราจะได้ผลรับรอง ร่าง รธน.นี้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดมากๆ และผมก็แย้งมาตั้งแต่แรก เพราะ รธน. มันเ็นกติกาสูงสุดของประเทศ แถมไม่มีวาระด้วย ไม่เหมือน ส.ส.ที่อย่างน้อย 4 ปีก็เลือกใหม่ หากลงคนเดียวก็ยังมีเกณฑ์ว่าต้องเกิน 20% ของผู้มีสิทธิในพื้นที่ แต่ประชามติครั้งนี้กลับไม่มี บ้าไปแล้ว

โชติศักดิ์ ยกตัวอย่างประชามติปี 50 เราเห็นอะไร กรณีที่เราเห็นหัวคนโนโหวต ร่างรธน.50 มีคนไปรับรองแค่ 14 ล้านคนหรือเพียง 32% หรือไม่ถึง 1 ใน 3 ของผู้มีสิทธิ์ แต่เมื่อเราไม่เห็นหัวคนโนโหวตก็นับเฉพาะคนที่มาใช้สิทธิ์ ทำให้ 14 ล้านคนจากผู้มาใช้สิทธิ 25 ล้านคน ก็เลยเท่ากับสูงถึง 57% ความชอบธรรมมันเลยสูงขึ้น

ดังนั้นเห็นหัวเถอะครับ ไม่เสียหายอะไร และการที่เขาไม่ไปใช้สิทธิก็ไม่ใช่ความผิดเขา ก็เขาไม่ได้ไปรับรองกติกานั้น ส่วนความผิดถ้าจะมีจริงก็ควรเป็นของผู้จัดประชามตินั้นที่ไม่สามารถดึงให้เขามา "รับรอง" ร่าง รธน. นี้

การเห็นหัวโนโหวต มันเป็นการเปลี่ยนจากเกมส์ของการแพ้ชนะจากการโหวต เป็นการมารับรองหรือไม่รับรอง ร่าง รธน.นี้ ถ้ามารับรองไม่ถึงครึ่งอย่างไร รธน.นี้ก็ไม่มีความชอบธรรม

ส่วนถ้าบอกว่า ก็คสช. หรือผู้จัดประชามติ เขาไม่เห็นหัวคะแนนตรงนี้ ใช่ครับเขาจงใจไม่เห็นหัว แต่ทำไมคนที่บอกว่าไม่เอา คสช. จะไปเชื่อสิ่งที่ คสช.หรือผู้จัดประชามติกำหนดด้วยล่ะ

ขอบคุณครับ ด้วยมิตรภาพ

 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการมีเรื่องมาเล่าตอนนี้ เสนอตอน เปิด 5 ศพ ทหารเกณฑ์ถูกซ้อมตาย  เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูเกณฑ์ทหาร ซึ่งปีนี้ มีความต้องการทหารกองประจำการ 103,097 นาย ความต้องการนี้เพิ่มขึ้นทุกปี  โดย สิ่งที่มาพร้อมกับการเกณฑ์ทหาร นอกจากสีสันการลุ้นใบดำใบแดง ภาพชายหนุ่มสวยๆ ต่างๆที่ต้องไปเข้าเกณฑ์ทหารแล้ว คือรายชื่อพลทหารที่ถูกซ้อมจนตายหรือบาดเจ็บสาหัส โดยมีเรื่องมาเล่าฯ ตอนนี้จะยกตัวอย่าง พลทหารที่ถูกซ้อมจนตายเท่าที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างน้อย 5 ราย ประกอบด้วย พลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม พลทหารวิเชียร เผือกสม พลทหารทรงธรรม หมุดหมัด  พลทหารอภินพ เครือสุข  และ พลทหารสมชาย ศรีเอื้องดอย เป็นต้น
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องของประเด็น 1. สู้หรือซ้อม 2. ชัยภูมิ ไม่ใช่รายแรก เดือนที่แล้วก็มีเหตุวิสามัญแบบนี้ 3. เงินจากขายยาบ้าหรือกาแฟ 4. ขนยาหรือโดนยัด 5. กล้องวงจรปิดดทำไมไม่เปิด 6. ลาหู่ และผลกระทบในช่วงสงครามยาเสพติด-โดนคุกคามหนักถึงชีวิต และ 7. ชาวบ้านกับ จนท. ทะเลาะกันบ่อยจนไม่ไว้วางใจ ตั้งแต่เรื่องที่ทำกินยันโพสต์คลิปในเฟซบุ๊ก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เปิดข้อมูลอีกด้านก่อนจะปลื้มไปกับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่โชว์ว่าไทยมีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก หรือมีความสุขที่สุด 3 ปีซื้อ ขณะที่ปัจจัยที่ใช้วัด อย่าง อัตราการว่างงาน ไทยมีปัญหาในการนับ เพราะทำงานอะไรก็ได้แค่ 1 ชม./สัปดาห์ รวมทั้งเศรษฐกิจนอกระบบเราใหญ่มาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ กลับเป็นการสะท้อนปัญหาที่จะเป็นเงินฝืด
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
มีเรื่องมาเล่า ตอน สนช.โดนประชุมประจำ หรือไม่ควรเข้าประชุมตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำ สื่บเนื่องจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559  พบว่า สมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ทำการสำรวจ มาลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมาประเด็น 'แพะ' หรือความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมจนนำมาสู่การตัดสินลงโทษผู้บริสุทธิ์ เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ '5 ประเด็นคุมกำเนิดคดีแพะ' โดยรวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดความผิดพลาดของระบบ มาเล่า ได้แก่ การพิจารณาคดีให้ครบองค์คณะ การบันทึกเป็นภาพและเสียงแทนตัวอักษร ปัญหาของระบบกล่าวหาทำจำเลยตกเป็นเบี้ยล่างตั้งแต่ต้น การนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่ และความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ... ที่ถูกนำเข้าสู่สภา 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอน ไทยความเหลื่อมล้ำ อันดับ 3 ของโลก คนรวยสุด 10% ครองทรัพย์สิน 79% ของประเทศ และข้อเสนอของ นิธิ คำตอบอยู่ที่การเมือง
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ เมื่อดัชนีคอร์รัปชั่นรัฐบาลปราบโกงหล่นฮวบ กับข้อเสนอของ ที่ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้ศึกษาเรื่องคอรัปชั่นมากว่า 20 ปี มานำเสนอบางช่วงบางตอน ซึ่งศ.ดร.ผาสุได้พูดถึงประเด็นการแก้ปัญหาคอรัปชั่นกับระชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
คลิปจากรายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ เสนอ 6 อันดับ รัฐประหารที่ขอเวลานานทีสุด 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
1. เพื่อไม่ให้เป็นการลงโทษผู้บริสุทธิ์ (ผู้ต้องหายังไม่ถูกพิพากษาถือเป็นผู้บริสุทธิ์) 2. ปิดช่องกลั่นแกล้งโดยผู้มีอำนาจรัฐหรือฝ่ายบริหาร  3. รักษาหลักประกันความยุติธรรม   และ 4. ยังยั้งการบีบให้ผู้ต้องหาเลือกที่จะสารภาพ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เก็บตกจากงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2016/08/67197