Skip to main content

เก็บตกจากงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2016/08/67197

เมื่อเราจะสร้างระบอบประชาธิปไตย เราควรหัวคนทุกคน ไม่ว่าโหวตอะไรหรือโนโหวต และไม่ควรมีสถานการณ์ยกเว้น

ถ้าเรายืนยันว่าประชากรในสังคมนั้นๆ เป็น 'พลเมือง' ไม่ใช่ subject หรือ คนในบังคับ ของรัฐหรือใคร ดังนั้นเท่ากับว่าเราเชื่อว่า พลเมืองทุกคนมีดุลยพินิจในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าเขาจะทำหรือไม่ทำอะไรย่อมมีความหมายและใช้ดุลยพินิจแล้วทั้งสิ้น

เช่นเดียวกันกับการไปโหวตอะไรหรือไม่ไปโหวต พลเมือง ย่อมเป็นการใช้ดุลยพินิจและแสดงออก โชติศักดิ์ อ่อนสูง หนึ่งในวิทยากรงานเสวนาดังกล่าว เปรียบไว้น่าสนใจด้วยว่า

“คำถามก็คือว่าถ้ามีคนเห็นว่าอะไรก็แล้วแต่ที่เล็กๆ มีค่ามากกว่าประชามติ มีคน 50% หรือมีคน 25 ล้านคนเห็นว่าการกระทำแบบนี้นอนดูทีวีอยู่บ้านหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ ต่อให้คุณยกตัวอย่างรูปธรรมการกระทำที่มันงี่เง่าอะไรก็แล้วแต่มามากแค่ไหนยิ่งยกตัวอย่างได้งี่เง่ามากที่สุดนี่แปลว่ารัฐธรรมนูญคุณยิ่งงี่เง่ายิ่งกว่าสิ่งนั้น เขาเลือกทำสิ่งงี่เง่าโดยไม่เลือก” โชติศักดิ์ กล่าว

มันเท่ากับว่าเขาไม่ออกมาให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญนั้น

ทีนี้ การเห็นหัวคนโนโหวต มีผลอย่างไรในเกมส์ประชามติ ผมมองว่ามันจะเปลี่ยนโหมดของการโหวตเพื่อแข่งกันระหว่างการรับ-ไม่รับ หรือโหวตเยสกับโหวตโน มาเป็นการโหวตรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ทั้งนี้ คสช.ไม่ยอมให้นับโนโหวต ด้วยการไม่กำหนด องค์ประชุม ของการแสวงหามตินี้ คือไม่มีการกดหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของการทำประชามติ วัดผลแพ้ชนะเพียงแค่คนที่ออกมาเท่านั้น ต่อให้ออกมาคนเดียวก็เท่ากับว่าเราจะได้ผลรับรอง ร่าง รธน.นี้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดมากๆ และผมก็แย้งมาตั้งแต่แรก เพราะ รธน. มันเ็นกติกาสูงสุดของประเทศ แถมไม่มีวาระด้วย ไม่เหมือน ส.ส.ที่อย่างน้อย 4 ปีก็เลือกใหม่ หากลงคนเดียวก็ยังมีเกณฑ์ว่าต้องเกิน 20% ของผู้มีสิทธิในพื้นที่ แต่ประชามติครั้งนี้กลับไม่มี บ้าไปแล้ว

โชติศักดิ์ ยกตัวอย่างประชามติปี 50 เราเห็นอะไร กรณีที่เราเห็นหัวคนโนโหวต ร่างรธน.50 มีคนไปรับรองแค่ 14 ล้านคนหรือเพียง 32% หรือไม่ถึง 1 ใน 3 ของผู้มีสิทธิ์ แต่เมื่อเราไม่เห็นหัวคนโนโหวตก็นับเฉพาะคนที่มาใช้สิทธิ์ ทำให้ 14 ล้านคนจากผู้มาใช้สิทธิ 25 ล้านคน ก็เลยเท่ากับสูงถึง 57% ความชอบธรรมมันเลยสูงขึ้น

ดังนั้นเห็นหัวเถอะครับ ไม่เสียหายอะไร และการที่เขาไม่ไปใช้สิทธิก็ไม่ใช่ความผิดเขา ก็เขาไม่ได้ไปรับรองกติกานั้น ส่วนความผิดถ้าจะมีจริงก็ควรเป็นของผู้จัดประชามตินั้นที่ไม่สามารถดึงให้เขามา "รับรอง" ร่าง รธน. นี้

การเห็นหัวโนโหวต มันเป็นการเปลี่ยนจากเกมส์ของการแพ้ชนะจากการโหวต เป็นการมารับรองหรือไม่รับรอง ร่าง รธน.นี้ ถ้ามารับรองไม่ถึงครึ่งอย่างไร รธน.นี้ก็ไม่มีความชอบธรรม

ส่วนถ้าบอกว่า ก็คสช. หรือผู้จัดประชามติ เขาไม่เห็นหัวคะแนนตรงนี้ ใช่ครับเขาจงใจไม่เห็นหัว แต่ทำไมคนที่บอกว่าไม่เอา คสช. จะไปเชื่อสิ่งที่ คสช.หรือผู้จัดประชามติกำหนดด้วยล่ะ

ขอบคุณครับ ด้วยมิตรภาพ

 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
"สื่อที่อิสระย่อมเป็นได้ทั้งสื่อที่ดีและสื่อที่เลว แต่ถ้าหากปราศจากเสรีภาพ สื่อ นั้นจะไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากการเป็นสื่อที่เลว"
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รวมคำอธิบายอารมณ์-นิสัยตัวเองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนตลก ใจร้อน ขี้โมโห น้อยใจ เสียใจ กล้าหาญ ตอบไปเรื่อย เป็นมนุษย์ปุตุชนธรรมดาคนหนึ่ง สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม ฯลฯ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถามนักข่าวปมดำเนินคดี 14 นักศึกษานักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในศาลทหาร ว่า ทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหนไหม คำตอบคือ ผิด มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญที่คณะท่านเขียนมาเลยครับ #จบข่าว  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ต้นไม้พิษย่อมให้ผลไม้พิษ และผลไม้พิษย่อมเป็นผลไม้พิษไม่ว่ามันจะเคลือบด้วย "ประชามติ" กี่ชั้น / ผู้มีบทบาทในการร่างส่วนมากโน้มเอียงไปทางฝั่งฝ่ายเดียว / เนื้อหาที่ร่างออกมามีหลายอย่างที่มีปัญหา / หากผ่านก็จะน้ำท่วมปาก / คสช.ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีแนวโน้มว่าจะทำและถ้าทำก็จะผ่าน แต่ไม่ผ่านก็เท่ากับต่ออายุ คสช. 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว แต่ยังมีคนงานและ SMEs รวมอยู่ด้วย หากการบอยคอตมีพลังคนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจเหล่านั้นก็จะซวยด้วย ปัญหาผูกขาดอยู่ที่ระบบไม่ใช่เจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง เสนอ ผลักดัน กม.การแข่งขันทางการค้าให้ฟังก์ชั่น ตั้งสหภาพแรงงานและเก็บภาษีทรัพย์สินมากขึ้น ฯลฯ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ขณะที่เรายังไม่มีเสรีภาพ แต่องค์กรสื่อรณรงค์ 'เสรีภาพบนความรับผิดชอบ' จะกลายกระบวนการเซ็นเซอร์สร้างสังคมที่ขาด ‘วิจารณญาณ’ หรือไม่? พร้อมสำรวจประเด็นการจำกัดเสรีภาพสื่อหลังรัฐประการ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97, 103 วิจารณ์ คสช.ก็ต้องโดยสุจริต การปิด PEACE TV และ ร่าง รธน. ฉบับใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ