"จงจำไว้ว่า ปัญหาไม่ใช่การคอร์รัปชั่นหรือความละโมบ ปัญหามันคือระบบ มันทำให้คุณจำต้องคอร์รัปชั่นถึงจะอยู่รอด จงระวังไม่ใช่แค่ศัตรู แต่ระวังพวกมิตรเทียมๆ ที่กำลังทำให้กระบวนการประท้วงนี้เจือจางลง เช่นเดียวกับที่คุณมีกาแฟที่ไร้คาเฟอีน เบียร์ที่ปราศจากแอลกอฮอล์ ไอศกรีมไม่มีไขมัน พวกเขากำลังจะเปลี่ยนการประท้วงของพวกคุณให้กลายเป็นการประท้วงทางศีลธรรมที่ไร้พิษภัย มันคือกระบวนการสกัดคาเฟอีน แต่เหตุผลที่เราอยู่ที่นี่คือเราพอแล้วกับโลก ที่เรารู้สึกดีกับการรีไซเคิลกระป๋องโค้ก การบริจาคเงินสองสามเหรียญกับการกุศล" Slovoj Zizek 9 ตุลา 54 @ Occupy Wall Street[1]
วันนี้ถือเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์บอยคอตสินค้า ‘ซีพี-เซเว่นฯ’ จากวันที่ 7 ถึง 11 พ.ค.58 เพื่อต่อต้านการผูกขาดของบริษัทยักษ์ ใหญ่ด้านการเกษตรและอาหาร ซึ่งขณะนี้ได้ขยายกิจการ มีอำนาจเหนือตลาด
ผมขอนำสเตตัสที่โพสต์ไว่ก่อนหน้านี้(6 พ.ค.58) มาปรับปรุงและเผยแพร่ต่อในนี้ เพื่อยืนยันจุดยืนผมว่า ไม่สนับสนุนการสู้โดยการบอยคอตสินค้า ไม่ว่าจะ เซเว่นฯ ซีพี หรือว่าอะไร เพราะ ซีพี ไม่ได้มีแต่เจ้าสัว เพราะถ้าไม่มี ซีพี โดยระบบที่เป็นอยู่ก็ยังมีธุรกิจอย่าง ซีพี อยู่ดี โดยผมมองว่า
1. บอยคอตไม่มีพลังจริง : เว็บผู้จัดการออนไลน์[2] ซึ่งเป็นเว็บข่าวสำคัญที่นำมาสู่การปลุกกระแสการบอยคอตครั้งนี้ เมื่อวานที่ผ่านมา(10 พ.ค.58)ยังรายงานข่าวว่า “ประชาชนยังคงใช้บริการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ตามปกติ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีกระแสในโซเชียลมีเดียบางกลุ่ม ออกมารณรงค์ไม่ให้สินค้าร้านสะดวกซื้อดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า มีการลอกเลียนแบบสินค้า และได้ขยายธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย”
2. ‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว : แม้หลายคนมองว่ามันอาจจะเป็นเชิงสัญลักษณ์เพื่อนำไปสู่การตระหนักรู้ของคนต่อปัญหาการทำธุรกิจในแบบซีพี แต่การบอยคอตหากมีพลังจริงๆ ผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการทำธุรกิจอยู่ดี หากแต่เป็น พนักงานและ SMEs ที่รับแฟรนไชส์ไปขายด้วย โดยเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา เพจ CP ALL โพสต์ว่า กว่าครึ่งเป็นแฟรนไชส์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ประกอบการรายย่อยของพี่น้องคนไทยทุกภูมิภาค แม้จะมีปรากฏการการเปิดร้านของ CP โดยตรงใกล้กับร้ายของแฟรนไซส์ใกล้กัน แต่การบอยคอยก็ไม่ได้หมายความว่าเหล่า SMEs จะไม่กระทบด้วย
รู้หรือไม่? ร้าน 7-Eleven กว่าครึ่งเป็นแฟรนไชส์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ประกอบการรายย่อยของพี่น้องคนไทยทุกภูมิภาค :)
Posted by CP ALL on 5 พฤษภาคม 2015
ในส่วนของพนักงานของกลุ่มบริษัทนี้ที่ไม่มีอำนาจการตัดสินใจก็มีเป็นแสนคน เฉพาะ ซีพี ออลล์ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์[3] กล่าว เมื่อ ก.พ.55 ว่า ซีพี ออลล์ เป็นองค์กรที่มีพนักงานมากที่สุดในประเทศไทย คือมีมากกว่า 100,000 คน
แน่นอนว่าหากการบอยคอตนั้นมีพลัง สร้างผลสะเทือนกับธุรกิจของ ‘ซีพี-เซเว่นฯ’ คนที่ได้นรับผลกระทบย่อมไม่ใช่เฉพาะเจ้าสัวเท่านั้น แต่ยังมีคนที่ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจเล่านี้ด้วย
3. มูลค่าของสินค้า-บริการเกิดมาจากแรงงาน การบอยคอตสินค้าและบริการด้านหนึ่งเท่ากับเป็นการบอยคอตสิ่งที่แรงงานสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วย หากดูจากกระแสความไม่พอใจมาจากการทำธุรกิจของเครือนี้ ไม่ว่าจะเป็นการมีอำนาจเหนือตลาด การมีแนวโน้มผูกขาด รูปแบบการดีลแบบเกษตรพันธสัญญา ซึ่งไม่ได้มีปัญหาที่ตัวสินค้าและบริการที่เกิดมาจากมูลค่าเพิ่มที่คนงานได้ผลิตขึ้นมา ทั้งแรงงานในปัจจุบันและแรงงานในอดีตที่ร่วมกันสะสมองค์ความรู้ แม้จะมีสินค้า house band ที่หลายคนไม่พอใจการลอกเลียนแบบ แต่คนงานที่ผลิตก็ไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจอยู่ดี ดังนั้นการใช้วิธีการบอยคอตสินค้าและบริการด้านหนึ่งก็กลายเป็นการลงโทษแรงงานด้วย ทั้งที่โดยความสัมพันธ์การผลิตแล้วเขาไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใน
ขณะที่ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ในสินค้าและบริการ ผมคิดว่าไม่ควรมีลิขสิทธิโดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหาร เพราะการรณรงค์ลิขสิทธิเข้มข้น คนที่เดือกร้อนคือผู้บริโภค เพราะราคามันจะแพง เนื่องจากความสามารถในการกีดกันการเข้าถึงได้ และมันจะนำไปสู่การผูกขาดอีกเช่นกัน ทั้งที่มูลค้าสินค้าและบริการเหล่านั้นล้วนเกิดจากแรงงานที่ร่วมผลิตและสะสมองค์ความรู้ ลองผิดลองถูกมาตั้งแต่ในอดีตจนเกิดการต่อยอดพัฒนามาถึงปัจจุบัน มันจึงควรเป็นกรรมสิทธิส่วนรวม เพื่อลดเงื่อนไขการกีดกันการเข้าถึงสินค้าและบริการเหล่านั้น
4. ปัญหาอยู่ที่ระบบไม่ใช่ปัจเจคหรือเจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง : ปัญหาที่หลายคนกังวลมันเป็นความกลัวเรื่องการผูกขาด และการบริหารจัดการของธุรกิจนี้ เช่น ระบบพันธสัญญา นั่นอยู่ภายใจอำนาจการตัดสินใจของนายทุน ก็ควรเล็งเป้าไปจัดการที่จุดนั้น และเมื่อเราทำกับ CP ก็ต้องทำกับธุรกิจอื่นเสมอหน้ากันด้วย คือไม่ใช่เลือกจัดการ และโดยระบบมันย่อมสร้างธุรกิจแบบนี้ขึ้นมาแน่นอน มันมีแนวโน้มนำไปสู่การผูกขาดอยู่แล้ว อย่างที่ Zizek เคยกล่าวไว้ว่า "จงจำไว้ว่า ปัญหาไม่ใช่การคอร์รัปชั่นหรือความละโมบ ปัญหามันคือระบบ มันทำให้คุณจำต้องคอร์รัปชั่นถึงจะอยู่รอด”
กระแสการประท้วงที่เกิดขึ้นราวกับว่าเรามีนายทุนที่ดีและมีนายทุนที่ไม่ดีหรือสามานย์ ดังนั้นเราควรบอยคอตทุนที่สามานย์ ทั้งที่โดยระบบมันก็จะนำไปสู่การผูกขาดอยู่แล้ว
ข้อเสนอของผม หากเราไม่ไปถึงขั้นปฏิวัติสังคม เพื่อทำให้กรรมสิทธิ์กลับคืนมาเป็นของของส่วนรวมของคนงานในฐานะผู้สรรสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ เหล่านั้น ก็ต้องหาทางออกเชิงปฏิรูปที่มากกว่าการบอยคอตทุนใดทุนหนึ่ง แต่ต้องปฏิรุปทั้งระบบ เช่น
1. ขับเคลื่อนให้ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า 2542 ให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ที่ตั้งมาเพื่อกันการผูกขาด มันทำงานได้จริง แม้ที่ผ่านมาจะไม่ฟังก์ชั่น แต่ก็ยังมีเครื่อไม้เครื่องมือที่จัดการเชิงระบบมากกว่าการปลุกกระแสความไม่พอใจปัจเจคหรือกลุ่มปัจเจคจำนวนหนึ่งแล้วอาจเงียบไปเมื่อกระแสลด
2. สนับสนุนให้คนงานธุรกิจพวกนี้สามรถรวมตัวต่อรอง ตั้งสหภาพแรงงาน รวมทั้งแรงงานในเกษตรพันธสัญญา เพื่อแบ่งปันประโยชน์โภชน์จากมูลค่าเพิ่มที่เขาสร้างสรรขึ้นมา ซึ่งคนงานเหล่านี้ก็เป็นสมาชิกในสัคมเช่นกัน เงินมันก็กลับมาสู่สังคมมากขึ้น มากกว่าไปอยู่ที่เจ้าสัวหรือกลุ่มนายทุน
3. รัฐก็เก็บภาษีทรัพย์สินทางตรงมากขึ้น เป็นต้น
[1] เมื่อ 'สลาวอย ชิเชก' มาเยือนขบวนการ 'ยึดครองวอลล์สตรีท' http://prachatai.com/journal/2011/10/37445
[2] ปชช.ยังใช้บริการร้านเซเว่นฯ ปกติ หลังโซเชียลต้านไม่ให้ซื้อสินค้าร้าน http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000053128
[3] "ซีพี ออลล์" ประกาศนโยบายและทิศทางองค์กร ประจำปี 2555 http://www.cpall.co.th/News-Center/corporate-news/ข่าวบริษัท/1/ซีพีออลล์-ประกาศนโยบายและทิศทางองค์กรประจำปี2555