มีเรื่องมาเล่า ตอน สนช.โดนประชุมประจำ หรือไม่ควรเข้าประชุมตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำ สื่บเนื่องจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559 พบว่า สมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ทำการสำรวจ มาลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ
ซึ่งตาม รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 มาตรา 9 (5) และข้อบังคับการประชุม สนช. พ.ศ.2557 ข้อ 82. หมายความว่า “ในรอบระยะเวลา 90 วัน” ถ้าสมาชิก สนช.คนใด “ไม่มาลงมติเกินกว่าหนึ่งในสาม” ของจำนวนการลงมติทั้งหมดในรอบระยะเวลานั้น จะต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพความเป็นสนช. อย่างไรก็ตาม ถ้าสมาชิกมาลงมติไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด แต่ได้ลาประชุมไว้แล้ว ก็จะไม่ส่งผลให้สิ้นสุดสมาชิกภาพ
โจทย์สำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ของ สนช. อาจไม่ใช่เพียงแค่การขาดประชุม แต่เป็นเรื่องความชอบธรรมในการออกกฎหมาย ต้องไม่ลืมว่านี่ 2 ปีกว่าที่ผ่านมาเราอยู่ในในสถานการณ์พิเศษ ไม่ปกติ ภายใต้รัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ก็เป็น รัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่กลับออกกฎหมายที่มีผลในระยะยาว แถมมติออกมาแต่ละครั้งก็ยังกับทากาว เป็นหนึ่งเดียวราวกับมิได้นัดหมาย ยุคสภาเลือกตั้งเราวาทกรรมเผด็จการเสียงข้างมาก มีเสียงข้างมากลากไป ยุคนี้ไม่มีใครลาก เพราะแทบจะเป็นเสียงเดียวกันหมด ไม่มีฝ่ายค้าน
ไอลอว์ เจ้าเก่า รายงานอีกว่า การพิจารณาร่างกฎหมาย นับถึงสิ้นปี 2559 สนช.พิจารณาร่างพ.ร.บ.สำเร็จอย่างน้อย 214 ฉบับ คณะรัฐมนตรีเสนอร่างกฎหมายมากที่สุด 185 ฉบับ ผลการลงมติในร่างกฎหมายฉบับต่างๆ ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมากเกิน 90% ทุกฉบับ
จะไม่ให้เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร เพราะ ที่มา 89% เป็นทหารและข้าราชการ ที่ถูกแต่งตั้งโดนหัวหน้า คสช. และเป็นนายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการแบ่งแยกอำนาจและตรวจสอบถ่วงดุล ไม่ต่ออะไรกับการตั้งคนมาเพื่อตรวจสอบตัวเอง ดังนั้น แทนที่จะไปสนใจการขาดประชุม ควรมุงความสนใจไปที่ความชอบธรรมในการทำหน้าที่ทั้งหมดในการออกกฎหมายที่จะมีผลในระยะยาวของ สนช.หรือไม่ ว่าควรมีหน้าที่จำกัดแค่เพียงใด หรือทำเหมือยสภาปกติได้ โดยที่ไม่ต้องมีฝ่ายค้านคอยตรวจสอบ ผ่านกฎหมายด้วยเสียงเห็นชอบ มากเกิน 90% ทุกฉบับแบบที่เป็นอยู่นี้ ?
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :