Skip to main content

รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอน ไทยความเหลื่อมล้ำ อันดับ 3 ของโลก คนรวยสุด 10% ครองทรัพย์สิน 79% ของประเทศ และข้อเสนอของ นิธิ คำตอบอยู่ที่การเมือง


จากกรณี รายงานของเครดิตสวิส เมื่อ พ.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่า ไทยที่คนร่ำรวยร้อยละ 1 ของประเทศถือครองทรัพย์สินร้อยละ 58 โดยอันดับ 1 คือ รัสเซียมีผู้มั่งคั่งส่วนบนสุดร้อยละ 1 ของประเทศถือครองทรัพย์สินมากถึงร้อยละ 74.5 

ขณะที่ล่าสุด 2 ก.พ.ที่ผ่านมา องค์การอ็อกแฟม (Oxfam)ประเทศไทย ได้ เปิดเผย “รายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย” ซึ่งอ็อกแฟมประเทศไทยได้จัดทำและรวบรวมข้อมูลสถิติต่างๆตั้งแต่แต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 ซึ่งมี 9 ประเด็นที่น่าสนใจในรายงานฉบับนี้คือ
1. พบว่ารายได้ 1 ปีของคนรวยที่สุดในไทย สามารถนำมาใช้ลดความยากจนของคนทั้งประเทศได้ 
2. คนรวยที่สุด 10% แรกมีรายได้มากกว่าคนที่จนที่สุด 10% สุดท้ายถึง 35 เท่า
3. ช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีระดับพันล้านของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 28 คน จาก 5 คน
4. เศรษฐีระดับพันล้านนั้น มีทรัพย์สินรวมกันถึง 9,142,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประชากรของไทย 7 ล้านคนยังอยู่ใต้เส้นความยากจน
5. คนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79% ของประเทศ 
6. ใน 5 ปีที่ผ่านมาคนรวยที่สุด 1% เป็นเจ้าของความมั่งคั่งมากกว่าคนที่เหลือทั้งประเทศรวมกัน 
7. ดัชนีชี้วัดความมุ่งมั่นต่อการลดความเหลื่อมล้ำไทยอยู่ในลำดับที่ 122 จาก 155 ประเทศ
8. คนงานนอกระบบ 25 ล้านคนหรือ 64% ของแรงงานทั้งหมดไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคม สิทธิด้านสหภาพแรงงานในไทยยังห่างไกลจากมาตรฐานสากล 
9. เกษตรกร 2.2 ล้านคนมีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน โดย 40% ไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง และ 37% ไม่มีโฉนดที่ดิน ที่เหลือที่ดินไม่พอทำกิน

พร้อมกันนี้ ยังได้นำบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนเกี่ยวกับ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไว้ในบทความ "ความเหลื่อมล้ำ คำตอบอยู่ที่การเมือง" เมื่อ ม.ค.58 มาพูดคุย โดย นิธิ ชี้ว่า อุปสรรคสำคัญของการลดความเหลื่อมล้ำในทุกสังคมคือการเมือง (ในความหมายกว้าง คือแต่ละกลุ่มมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่อกันอย่างไร) แม้มีมาตรการที่ง่ายและเห็นผลในการลดความเหลื่อมล้ำอย่างไรก็ตาม หากการเมืองยังไม่หลุดออกไปจากการผูกขาดของกลุ่มคณาธิปไตย มาตรการดังกล่าวก็มักทำไม่สำเร็จ สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือมาตรการลดความเหลื่อมล้ำให้ได้ผลนั้น ล้วนเป็นมาตรการที่รัฐต้องเป็นผู้นำทั้งสิ้น ฉะนั้นการเมืองจึงยิ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญขึ้นไปใหญ่

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : 

อ็อกแฟมเปิดเหลื่อมล้ำในไทย คนรวยสุด 10% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79% ของประเทศ http://prachatai.com/journal/2017/02/69913
ไทยติดอันดับ 3 เหลื่อมล้ำสูงสุด จากรายงานประจำปี 2559 ธ.เครดิตสวิส http://prachatai.com/journal/2016/11/69033

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการมีเรื่องมาเล่าตอนนี้ เสนอตอน เปิด 5 ศพ ทหารเกณฑ์ถูกซ้อมตาย  เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูเกณฑ์ทหาร ซึ่งปีนี้ มีความต้องการทหารกองประจำการ 103,097 นาย ความต้องการนี้เพิ่มขึ้นทุกปี  โดย สิ่งที่มาพร้อมกับการเกณฑ์ทหาร นอกจากสีสันการลุ้นใบดำใบแดง ภาพชายหนุ่มสวยๆ ต่างๆที่ต้องไปเข้าเกณฑ์ทหารแล้ว คือรายชื่อพลทหารที่ถูกซ้อมจนตายหรือบาดเจ็บสาหัส โดยมีเรื่องมาเล่าฯ ตอนนี้จะยกตัวอย่าง พลทหารที่ถูกซ้อมจนตายเท่าที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างน้อย 5 ราย ประกอบด้วย พลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม พลทหารวิเชียร เผือกสม พลทหารทรงธรรม หมุดหมัด  พลทหารอภินพ เครือสุข  และ พลทหารสมชาย ศรีเอื้องดอย เป็นต้น
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องของประเด็น 1. สู้หรือซ้อม 2. ชัยภูมิ ไม่ใช่รายแรก เดือนที่แล้วก็มีเหตุวิสามัญแบบนี้ 3. เงินจากขายยาบ้าหรือกาแฟ 4. ขนยาหรือโดนยัด 5. กล้องวงจรปิดดทำไมไม่เปิด 6. ลาหู่ และผลกระทบในช่วงสงครามยาเสพติด-โดนคุกคามหนักถึงชีวิต และ 7. ชาวบ้านกับ จนท. ทะเลาะกันบ่อยจนไม่ไว้วางใจ ตั้งแต่เรื่องที่ทำกินยันโพสต์คลิปในเฟซบุ๊ก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เปิดข้อมูลอีกด้านก่อนจะปลื้มไปกับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่โชว์ว่าไทยมีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก หรือมีความสุขที่สุด 3 ปีซื้อ ขณะที่ปัจจัยที่ใช้วัด อย่าง อัตราการว่างงาน ไทยมีปัญหาในการนับ เพราะทำงานอะไรก็ได้แค่ 1 ชม./สัปดาห์ รวมทั้งเศรษฐกิจนอกระบบเราใหญ่มาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ กลับเป็นการสะท้อนปัญหาที่จะเป็นเงินฝืด
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
มีเรื่องมาเล่า ตอน สนช.โดนประชุมประจำ หรือไม่ควรเข้าประชุมตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำ สื่บเนื่องจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559  พบว่า สมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ทำการสำรวจ มาลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมาประเด็น 'แพะ' หรือความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมจนนำมาสู่การตัดสินลงโทษผู้บริสุทธิ์ เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ '5 ประเด็นคุมกำเนิดคดีแพะ' โดยรวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดความผิดพลาดของระบบ มาเล่า ได้แก่ การพิจารณาคดีให้ครบองค์คณะ การบันทึกเป็นภาพและเสียงแทนตัวอักษร ปัญหาของระบบกล่าวหาทำจำเลยตกเป็นเบี้ยล่างตั้งแต่ต้น การนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่ และความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ... ที่ถูกนำเข้าสู่สภา 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอน ไทยความเหลื่อมล้ำ อันดับ 3 ของโลก คนรวยสุด 10% ครองทรัพย์สิน 79% ของประเทศ และข้อเสนอของ นิธิ คำตอบอยู่ที่การเมือง
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ เมื่อดัชนีคอร์รัปชั่นรัฐบาลปราบโกงหล่นฮวบ กับข้อเสนอของ ที่ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้ศึกษาเรื่องคอรัปชั่นมากว่า 20 ปี มานำเสนอบางช่วงบางตอน ซึ่งศ.ดร.ผาสุได้พูดถึงประเด็นการแก้ปัญหาคอรัปชั่นกับระชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
คลิปจากรายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ เสนอ 6 อันดับ รัฐประหารที่ขอเวลานานทีสุด 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
1. เพื่อไม่ให้เป็นการลงโทษผู้บริสุทธิ์ (ผู้ต้องหายังไม่ถูกพิพากษาถือเป็นผู้บริสุทธิ์) 2. ปิดช่องกลั่นแกล้งโดยผู้มีอำนาจรัฐหรือฝ่ายบริหาร  3. รักษาหลักประกันความยุติธรรม   และ 4. ยังยั้งการบีบให้ผู้ต้องหาเลือกที่จะสารภาพ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เก็บตกจากงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2016/08/67197