Skip to main content

อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบ

ผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้

1. กระบวนการประชามติของอังกฤษกับของไทย แตกต่างกันมาก อีกทั้งตัวประยุทธ์เองยังไม่ได้เครมเอาของอังกฤษมาฉาบความชอบธรรมให้กับประชามติแบบเผด็จการของตนเอง ประยุทธ์พูดในทำนองว่าบ้านเมืองเขาไม่เหมือนหรือไม่มีปัญหาเหมือบ้านเมืองเราด้วยซ้ำ ดังนั้นเราไม่ควรไปยกมาเทียบกับประชามติของไทยจนทำให้ประชามติไทยดูชอบธรรมเลย
 
 
2. ถ้าเราเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย เชื่อมั่นตามคำขวัญหรือคำที่มักยกมาเวลาพูดถึงประชาชนกันว่า "ประชาชนมีดุลยพินิจ" "เสียงประชาชนเป็นเสียงสวรรค์" การที่ประชาชนเลือกที่จะไม่ไปใช้สิทธิก็มีนัยยะต่อวาระทางการเมืองนั้นๆ แม้ฝ่ายเผด็จการจะพยายาม "ไม่นับ" และทำให้รูปแบบการเลือกไม่ไปใช้สิทธิของประชาชนเป็นสิ่งที่ไม่มีนัยทางการเมือง แต่ผู้ที่สนับสนุนประชาธิปไตย ผู้ที่เชื่อว่า "ประชาชนมีดุลยพินิจ" ในการเลือก ก็ควรช่วยกันชี้ให้เห็นว่าเสียงเหล่านั้นมีความหมายทางการเมือง ไม่ใช่ทำให้เสียของ ด้วยการตราหน้าว่าเป็นพวก "นอนหลับทับสิทธิ" หรือพวกเฉื่อยชาทางการเมือง
 
3. ผมไม่ได้เหมารวมว่าคนไม่ไปใช้สิทธิเป็นพวกจงใจบอยคอตทั้งหมด แต่ยืนยันว่ามีความหมายแน่นอน ไม่ว่าจะไม่ไปโดยจงใจ ไม่ว่าจะไม่ไปเพราะกระบวนการจัดประชามติครั้งนี้มันไม่แฟร์ไม่ฟรี หรือสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวโดยรัฐและผู้จัดประชามติ หรือไม่ไปเพราะไม่อยากยุ่งเอง แต่เมื่อเขารับรู้ถึงวาระทางการเมืองและเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่ากับว่าเขาส่งเสียงหรือแสดงมติออกมาแล้ว คนรับผิดชอบไม่ควรเป็นประชาชน ว่าเป็นพวกขี้เกียจหรือไม่สนใจการเมือง แต่คนรับผิดชอบควรเป็นผู้จัดหรือผู้อำนวยประชามติครั้งนี้ ที่มันห่วยแตก ไม่ก็เผด็จการนั่นล่ะครับ
 
4. รัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกติกาสูงสุดของประเทศ ความชอบธรรมของมันควรได้รับเสียงรับรองมากกว่า 50% ของผู้มีสิทธิออกเสียงด้วยซ้ำ ความไม่ชอบธรรมของประชามติครั้งนี้อีกอย่างคือเรื่องการ เปลี่ยนมาใช้ "เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ" แทน "เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ" เพราะนี่เรากำลังทำสัญญาประชาคมต่อกติกาใหญ่ที่สุดของประชาคมนั้นๆ ไม่ใช่เลือกตัวแทนที่มันมีวาระ ดังนั้นถ้าคนมาโหวตรับรองไม่ถึง 50% หรือคนโหวตไม่รับหรือไม่มาโหวตรับเกิน 50% รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ควรมีความชอบธรรม ถ้าจะใช้ก็ต้องเรียกว่า "ฉบับชั่วคราว" และเตรียมกระบวนการร่างและแสวงหามติใหม่ ขนาดองค์กรอย่าสหภาพแรงงานหรือองค์กรอื่นๆ เวลาจะเปลี่ยนแปลงธรรมนูญองค์กรยังต้องใช้เสียงข้างมากของสมาชิกรับรองเลย
 
5. มีตัวเลขบางอยากที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนเลือกและเปลี่ยนใจเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน อย่างที่ผมเขียนไว้ใน บรรยากาศความกลัวทำคน ตอบ 'ยังไม่ตัดสินใจ' โหวตมากขึ้น ในนิด้าโพล? ความน่าสนใจคือตัวเลขจกนิด้าโพลคนตอบ "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" ที่แปรผกผันกับตัวเลขคนตอบ "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนักช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา (ดูรูปประกอบด้านล่าง) มันมีความเป็นไปได้ว่าคนเปลี่ยนจากเลือกตอบในทำนองว่า ไปแน่ๆ แต่ไม่บอกว่าจะโหวตอะไร มาเปลี่ยนเป็นตอบว่ายังไม่ตัดสินใจแทน ส่วนกรณียกว่ายิ่งสถานการณ์ปราบหนัก คนจะไม่กล้าตอบว่าไปโหวตโน แต่เขาก็ก็สามารถตอบว่า "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" ได้อยู่แล้ว แต่ผลโพลนี้หลังสถานการณ์ปราบหนังคนตอบว่าไปใช้สิทธิดังกล่าวกลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลับไปเพิ่มที่ "ยังไม่ตัดสินใจ" ดังกล่าว
 
ทั้งหมดผมขอแย้งเบื้องต้นต่อการนำเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับของไทย และการใช้วาทกรรมนอนหลับทับสิทธิสำหรับผู้ที่เห็นความสำคัญของกระบวนการประชามติและเชื่อมั่นว่าประชาชนมีดุลพินิจหรือเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ ก็ไม่ควรเอามาเทียบหรือผลิตซ้ำวาทกรรมนี้
 
ไม่เช่นนั้นจะยิ่งกลายเป็นช่วยกดทับประชาชน ทั้งที่เขาโดน คสช.หรือผู้จัดประชามติกดทับมาแล้วด้านหนึ่ง จนเขาอาจเลือกไม่ยุ่งไม่เอาด้วยกับการประชามติครั้งนี้ แต่พอเขาไม่ไปใช้สิทธิกลับถูกกดซ้ำอีกว่าเป็นพวกเฉื่อยชาหรือนอนหลับทับสิทธิอีก
 
แน่นอนผมยอมรับนับถือประชาชนที่กล้าหาญมุ่งมั่นออกไปใช้สิทธิ แต่สำหรับผู้ที่ฝักใฝ่ประชาธิปไตยก็ไม่ควรไปลดทอนประชาชนที่เขาถูกกดหรือถูกกระบวนการประชามติกระทำจนไม่อำนวยให้เขาไปเลือกไปใช้สิทธิ ผมจึงอยากชวนผู้ที่เชื่อว่าเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์หรือประชาชนมีดุลยพินิจน่าจะช่วยกันชี้ให้เห็นความหมายของสิ่งที่ประชาชนถูกกดจนเลือกไม่ไปใช้สิทธิดีกว่าครับ
 
มันไม่ยิ่งน่าน้อยใจหรอกหรือ? ถ้าจะเป็นประชาชนในประเทศนี้ถูกเผด็จการกดทับด้วยความกลัวแล้ว ยังต้องถูกฝ่ายประชาธิปไตยชี้หน้าว่าเป็นพวกนอนหลับทับสิทธิอีก 
 
#เราคือเพื่อนกัน 
 
 
 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการมีเรื่องมาเล่าตอนนี้ เสนอตอน เปิด 5 ศพ ทหารเกณฑ์ถูกซ้อมตาย  เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูเกณฑ์ทหาร ซึ่งปีนี้ มีความต้องการทหารกองประจำการ 103,097 นาย ความต้องการนี้เพิ่มขึ้นทุกปี  โดย สิ่งที่มาพร้อมกับการเกณฑ์ทหาร นอกจากสีสันการลุ้นใบดำใบแดง ภาพชายหนุ่มสวยๆ ต่างๆที่ต้องไปเข้าเกณฑ์ทหารแล้ว คือรายชื่อพลทหารที่ถูกซ้อมจนตายหรือบาดเจ็บสาหัส โดยมีเรื่องมาเล่าฯ ตอนนี้จะยกตัวอย่าง พลทหารที่ถูกซ้อมจนตายเท่าที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างน้อย 5 ราย ประกอบด้วย พลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม พลทหารวิเชียร เผือกสม พลทหารทรงธรรม หมุดหมัด  พลทหารอภินพ เครือสุข  และ พลทหารสมชาย ศรีเอื้องดอย เป็นต้น
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องของประเด็น 1. สู้หรือซ้อม 2. ชัยภูมิ ไม่ใช่รายแรก เดือนที่แล้วก็มีเหตุวิสามัญแบบนี้ 3. เงินจากขายยาบ้าหรือกาแฟ 4. ขนยาหรือโดนยัด 5. กล้องวงจรปิดดทำไมไม่เปิด 6. ลาหู่ และผลกระทบในช่วงสงครามยาเสพติด-โดนคุกคามหนักถึงชีวิต และ 7. ชาวบ้านกับ จนท. ทะเลาะกันบ่อยจนไม่ไว้วางใจ ตั้งแต่เรื่องที่ทำกินยันโพสต์คลิปในเฟซบุ๊ก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เปิดข้อมูลอีกด้านก่อนจะปลื้มไปกับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่โชว์ว่าไทยมีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก หรือมีความสุขที่สุด 3 ปีซื้อ ขณะที่ปัจจัยที่ใช้วัด อย่าง อัตราการว่างงาน ไทยมีปัญหาในการนับ เพราะทำงานอะไรก็ได้แค่ 1 ชม./สัปดาห์ รวมทั้งเศรษฐกิจนอกระบบเราใหญ่มาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ กลับเป็นการสะท้อนปัญหาที่จะเป็นเงินฝืด
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
มีเรื่องมาเล่า ตอน สนช.โดนประชุมประจำ หรือไม่ควรเข้าประชุมตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำ สื่บเนื่องจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559  พบว่า สมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ทำการสำรวจ มาลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมาประเด็น 'แพะ' หรือความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมจนนำมาสู่การตัดสินลงโทษผู้บริสุทธิ์ เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ '5 ประเด็นคุมกำเนิดคดีแพะ' โดยรวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดความผิดพลาดของระบบ มาเล่า ได้แก่ การพิจารณาคดีให้ครบองค์คณะ การบันทึกเป็นภาพและเสียงแทนตัวอักษร ปัญหาของระบบกล่าวหาทำจำเลยตกเป็นเบี้ยล่างตั้งแต่ต้น การนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่ และความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ... ที่ถูกนำเข้าสู่สภา 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอน ไทยความเหลื่อมล้ำ อันดับ 3 ของโลก คนรวยสุด 10% ครองทรัพย์สิน 79% ของประเทศ และข้อเสนอของ นิธิ คำตอบอยู่ที่การเมือง
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ เมื่อดัชนีคอร์รัปชั่นรัฐบาลปราบโกงหล่นฮวบ กับข้อเสนอของ ที่ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้ศึกษาเรื่องคอรัปชั่นมากว่า 20 ปี มานำเสนอบางช่วงบางตอน ซึ่งศ.ดร.ผาสุได้พูดถึงประเด็นการแก้ปัญหาคอรัปชั่นกับระชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
คลิปจากรายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ เสนอ 6 อันดับ รัฐประหารที่ขอเวลานานทีสุด 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
1. เพื่อไม่ให้เป็นการลงโทษผู้บริสุทธิ์ (ผู้ต้องหายังไม่ถูกพิพากษาถือเป็นผู้บริสุทธิ์) 2. ปิดช่องกลั่นแกล้งโดยผู้มีอำนาจรัฐหรือฝ่ายบริหาร  3. รักษาหลักประกันความยุติธรรม   และ 4. ยังยั้งการบีบให้ผู้ต้องหาเลือกที่จะสารภาพ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เก็บตกจากงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2016/08/67197