Skip to main content

อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบ

ผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้

1. กระบวนการประชามติของอังกฤษกับของไทย แตกต่างกันมาก อีกทั้งตัวประยุทธ์เองยังไม่ได้เครมเอาของอังกฤษมาฉาบความชอบธรรมให้กับประชามติแบบเผด็จการของตนเอง ประยุทธ์พูดในทำนองว่าบ้านเมืองเขาไม่เหมือนหรือไม่มีปัญหาเหมือบ้านเมืองเราด้วยซ้ำ ดังนั้นเราไม่ควรไปยกมาเทียบกับประชามติของไทยจนทำให้ประชามติไทยดูชอบธรรมเลย
 
 
2. ถ้าเราเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย เชื่อมั่นตามคำขวัญหรือคำที่มักยกมาเวลาพูดถึงประชาชนกันว่า "ประชาชนมีดุลยพินิจ" "เสียงประชาชนเป็นเสียงสวรรค์" การที่ประชาชนเลือกที่จะไม่ไปใช้สิทธิก็มีนัยยะต่อวาระทางการเมืองนั้นๆ แม้ฝ่ายเผด็จการจะพยายาม "ไม่นับ" และทำให้รูปแบบการเลือกไม่ไปใช้สิทธิของประชาชนเป็นสิ่งที่ไม่มีนัยทางการเมือง แต่ผู้ที่สนับสนุนประชาธิปไตย ผู้ที่เชื่อว่า "ประชาชนมีดุลยพินิจ" ในการเลือก ก็ควรช่วยกันชี้ให้เห็นว่าเสียงเหล่านั้นมีความหมายทางการเมือง ไม่ใช่ทำให้เสียของ ด้วยการตราหน้าว่าเป็นพวก "นอนหลับทับสิทธิ" หรือพวกเฉื่อยชาทางการเมือง
 
3. ผมไม่ได้เหมารวมว่าคนไม่ไปใช้สิทธิเป็นพวกจงใจบอยคอตทั้งหมด แต่ยืนยันว่ามีความหมายแน่นอน ไม่ว่าจะไม่ไปโดยจงใจ ไม่ว่าจะไม่ไปเพราะกระบวนการจัดประชามติครั้งนี้มันไม่แฟร์ไม่ฟรี หรือสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวโดยรัฐและผู้จัดประชามติ หรือไม่ไปเพราะไม่อยากยุ่งเอง แต่เมื่อเขารับรู้ถึงวาระทางการเมืองและเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่ากับว่าเขาส่งเสียงหรือแสดงมติออกมาแล้ว คนรับผิดชอบไม่ควรเป็นประชาชน ว่าเป็นพวกขี้เกียจหรือไม่สนใจการเมือง แต่คนรับผิดชอบควรเป็นผู้จัดหรือผู้อำนวยประชามติครั้งนี้ ที่มันห่วยแตก ไม่ก็เผด็จการนั่นล่ะครับ
 
4. รัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกติกาสูงสุดของประเทศ ความชอบธรรมของมันควรได้รับเสียงรับรองมากกว่า 50% ของผู้มีสิทธิออกเสียงด้วยซ้ำ ความไม่ชอบธรรมของประชามติครั้งนี้อีกอย่างคือเรื่องการ เปลี่ยนมาใช้ "เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ" แทน "เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ" เพราะนี่เรากำลังทำสัญญาประชาคมต่อกติกาใหญ่ที่สุดของประชาคมนั้นๆ ไม่ใช่เลือกตัวแทนที่มันมีวาระ ดังนั้นถ้าคนมาโหวตรับรองไม่ถึง 50% หรือคนโหวตไม่รับหรือไม่มาโหวตรับเกิน 50% รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ควรมีความชอบธรรม ถ้าจะใช้ก็ต้องเรียกว่า "ฉบับชั่วคราว" และเตรียมกระบวนการร่างและแสวงหามติใหม่ ขนาดองค์กรอย่าสหภาพแรงงานหรือองค์กรอื่นๆ เวลาจะเปลี่ยนแปลงธรรมนูญองค์กรยังต้องใช้เสียงข้างมากของสมาชิกรับรองเลย
 
5. มีตัวเลขบางอยากที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนเลือกและเปลี่ยนใจเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน อย่างที่ผมเขียนไว้ใน บรรยากาศความกลัวทำคน ตอบ 'ยังไม่ตัดสินใจ' โหวตมากขึ้น ในนิด้าโพล? ความน่าสนใจคือตัวเลขจกนิด้าโพลคนตอบ "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" ที่แปรผกผันกับตัวเลขคนตอบ "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนักช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา (ดูรูปประกอบด้านล่าง) มันมีความเป็นไปได้ว่าคนเปลี่ยนจากเลือกตอบในทำนองว่า ไปแน่ๆ แต่ไม่บอกว่าจะโหวตอะไร มาเปลี่ยนเป็นตอบว่ายังไม่ตัดสินใจแทน ส่วนกรณียกว่ายิ่งสถานการณ์ปราบหนัก คนจะไม่กล้าตอบว่าไปโหวตโน แต่เขาก็ก็สามารถตอบว่า "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" ได้อยู่แล้ว แต่ผลโพลนี้หลังสถานการณ์ปราบหนังคนตอบว่าไปใช้สิทธิดังกล่าวกลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลับไปเพิ่มที่ "ยังไม่ตัดสินใจ" ดังกล่าว
 
ทั้งหมดผมขอแย้งเบื้องต้นต่อการนำเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับของไทย และการใช้วาทกรรมนอนหลับทับสิทธิสำหรับผู้ที่เห็นความสำคัญของกระบวนการประชามติและเชื่อมั่นว่าประชาชนมีดุลพินิจหรือเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ ก็ไม่ควรเอามาเทียบหรือผลิตซ้ำวาทกรรมนี้
 
ไม่เช่นนั้นจะยิ่งกลายเป็นช่วยกดทับประชาชน ทั้งที่เขาโดน คสช.หรือผู้จัดประชามติกดทับมาแล้วด้านหนึ่ง จนเขาอาจเลือกไม่ยุ่งไม่เอาด้วยกับการประชามติครั้งนี้ แต่พอเขาไม่ไปใช้สิทธิกลับถูกกดซ้ำอีกว่าเป็นพวกเฉื่อยชาหรือนอนหลับทับสิทธิอีก
 
แน่นอนผมยอมรับนับถือประชาชนที่กล้าหาญมุ่งมั่นออกไปใช้สิทธิ แต่สำหรับผู้ที่ฝักใฝ่ประชาธิปไตยก็ไม่ควรไปลดทอนประชาชนที่เขาถูกกดหรือถูกกระบวนการประชามติกระทำจนไม่อำนวยให้เขาไปเลือกไปใช้สิทธิ ผมจึงอยากชวนผู้ที่เชื่อว่าเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์หรือประชาชนมีดุลยพินิจน่าจะช่วยกันชี้ให้เห็นความหมายของสิ่งที่ประชาชนถูกกดจนเลือกไม่ไปใช้สิทธิดีกว่าครับ
 
มันไม่ยิ่งน่าน้อยใจหรอกหรือ? ถ้าจะเป็นประชาชนในประเทศนี้ถูกเผด็จการกดทับด้วยความกลัวแล้ว ยังต้องถูกฝ่ายประชาธิปไตยชี้หน้าว่าเป็นพวกนอนหลับทับสิทธิอีก 
 
#เราคือเพื่อนกัน 
 
 
 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
"สื่อที่อิสระย่อมเป็นได้ทั้งสื่อที่ดีและสื่อที่เลว แต่ถ้าหากปราศจากเสรีภาพ สื่อ นั้นจะไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากการเป็นสื่อที่เลว"
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รวมคำอธิบายอารมณ์-นิสัยตัวเองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนตลก ใจร้อน ขี้โมโห น้อยใจ เสียใจ กล้าหาญ ตอบไปเรื่อย เป็นมนุษย์ปุตุชนธรรมดาคนหนึ่ง สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม ฯลฯ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถามนักข่าวปมดำเนินคดี 14 นักศึกษานักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในศาลทหาร ว่า ทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหนไหม คำตอบคือ ผิด มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญที่คณะท่านเขียนมาเลยครับ #จบข่าว  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ต้นไม้พิษย่อมให้ผลไม้พิษ และผลไม้พิษย่อมเป็นผลไม้พิษไม่ว่ามันจะเคลือบด้วย "ประชามติ" กี่ชั้น / ผู้มีบทบาทในการร่างส่วนมากโน้มเอียงไปทางฝั่งฝ่ายเดียว / เนื้อหาที่ร่างออกมามีหลายอย่างที่มีปัญหา / หากผ่านก็จะน้ำท่วมปาก / คสช.ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีแนวโน้มว่าจะทำและถ้าทำก็จะผ่าน แต่ไม่ผ่านก็เท่ากับต่ออายุ คสช. 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว แต่ยังมีคนงานและ SMEs รวมอยู่ด้วย หากการบอยคอตมีพลังคนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจเหล่านั้นก็จะซวยด้วย ปัญหาผูกขาดอยู่ที่ระบบไม่ใช่เจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง เสนอ ผลักดัน กม.การแข่งขันทางการค้าให้ฟังก์ชั่น ตั้งสหภาพแรงงานและเก็บภาษีทรัพย์สินมากขึ้น ฯลฯ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ขณะที่เรายังไม่มีเสรีภาพ แต่องค์กรสื่อรณรงค์ 'เสรีภาพบนความรับผิดชอบ' จะกลายกระบวนการเซ็นเซอร์สร้างสังคมที่ขาด ‘วิจารณญาณ’ หรือไม่? พร้อมสำรวจประเด็นการจำกัดเสรีภาพสื่อหลังรัฐประการ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97, 103 วิจารณ์ คสช.ก็ต้องโดยสุจริต การปิด PEACE TV และ ร่าง รธน. ฉบับใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ