Skip to main content

จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก

 

นิด้าโพลเผยสำรวจ การตัดสินใจประชาชนลงประชามติรับ-ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 6 ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ 62.80% ระบุ 'ยังไม่ตัดสินใจ' เพิ่มขึ้นจากครั้งแรกที่ 38.2% ขณะที่โหวตรับ 27.3% ไม่รับ 6.8% และไปโหวตแต่ไม่มีมติไปทางใด 3.07% ขณะที่ตัดสินใจว่าไปใช้สิทธิ แต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจนอยู่ที่ 3.07 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

การสำรวจของนิด้าโพลทำมาแล้ว 6 ครั้ง ซึ่ง โหวตรับกับโหวตไม่รับตัวเลขไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง แต่ความน่าสนใจอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ ตอบว่า "ยังไม่ตัดสินใจ" กับ "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในครั้งที่ 4 เป็นต้นมา และเป็นตัวเลขที่สวนทางกันระหว่าง 2 คำตอบนี้ โดย ถ้าไปดู ครั้งที่ 3 สำรวจวันที่ 23 – 24 พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนครั้งที่ 4 สำรวจวันที่ 6 – 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา

คำถามคือช่วงเวลาดังกล่าวมีปรากฏการณ์อะไรที่ส่งผลให้คนจาก ตอบ "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" อาจเปลี่ยนเป็นตอบ "ยังไม่ตัดสินใจ" คำตอบคือการสร้างบรรยากาศความกลัวของรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำประชามติครั้งนี้ โดยช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา มีการข่มขู่ จับกุมดำเนินคดี กับผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติจำนวนมาก รวมไปถึงนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่หลายจังหวัดมุ่งเป้าไปที่บรรดานักการเมือง หรือนักเคลื่อนไหวในจังหวัดนั้นๆ ขณะที่  มีชัย ประธาน กรธ. กลับมองว่า เป็นเรื่องปกติ และเป็นหน้าที่ของ กรธ. ที่ต้องเร่งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญให้เร็วที่สุด (อ่านรายละเอียด)

และถ้านับเฉพาะช่วงก่อนจุดเปลี่ยนนี้ คือในช่วงระหว่างวันที่ 24 พ.ค.59 (หลังการสำรวจครั้งที่3) กับ 6 มิ.ย.59 (ก่อนการสำรวจครั้งที่4) มีเหตุการณ์สร้างบรรยากาศความกลัว ดังนี้

5 มิ.ย.2559 มีการเผยแพร่มิวสิควีดีโอเพลงรณรงค์ของ กกต. ที่มีกระแสวิจารณ์ว่าเนื้อหาเหยียบภาคอีสานและเหนือ http://prachatai.com/journal/2016/06/66201

5 มิ.ย.2559 จตุพรโวยทหารเบรกเปิด 'ศูนย์ปราบโกงประชามติ' ทั้งที่ประยุทธ์-กกต. เคยไฟเขียว http://prachatai.com/journal/2016/06/66153

30 พ.ค. 2559 ส่ง กกต.กทม.ตรวจสอบ 'สุรนันทน์-พิชญ์' สวมเสื้อชี้นำ ผิด กม.ประชามติหรือไม่ http://prachatai.com/journal/2016/05/66046

30 พ.ค. 2559 เรียก 2 อดีตส.ส.เพื่อไทย อุบลฯ เข้าค่ายคุย เหตุเข้าข่ายผู้มีอิทธิพล ก่อนกลับฝากชวนคนไปประชามติ http://prachatai.com/journal/2016/05/66047 เป็นต้น
 
ดังนั้นหากคนเปลี่ยนเป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  และอาจรวมไปถึงไม่ร่วมประชามติครั้งนี้มากขึ้น คงไม่ใช่เรื่องของการไม่สนในการเมืองหรือเบื่อหน่ายการเมือง  "นอนหลับทับสิทธิ" อย่างที่ชนชั้นนำหรือรัฐสร้างวาทกรรมกดทับประชาชนเหล่านั้นมาโดยตลอด หากเป็นการสร้างเงื่อนไขและบรรยากาศความกลัวต่างๆ เกี่ยวกับประชามติครั้งนี้มากขึ้น เพราะคนที่ตอบว่า "ยังไม่ตัดสินใจ" ตอนนี้ เขาก็อาจเคยตอบว่า "ไปใช้สิทธิ แต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจน" มาก่อนหน้านี้ด้วย
 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการมีเรื่องมาเล่าตอนนี้ เสนอตอน เปิด 5 ศพ ทหารเกณฑ์ถูกซ้อมตาย  เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูเกณฑ์ทหาร ซึ่งปีนี้ มีความต้องการทหารกองประจำการ 103,097 นาย ความต้องการนี้เพิ่มขึ้นทุกปี  โดย สิ่งที่มาพร้อมกับการเกณฑ์ทหาร นอกจากสีสันการลุ้นใบดำใบแดง ภาพชายหนุ่มสวยๆ ต่างๆที่ต้องไปเข้าเกณฑ์ทหารแล้ว คือรายชื่อพลทหารที่ถูกซ้อมจนตายหรือบาดเจ็บสาหัส โดยมีเรื่องมาเล่าฯ ตอนนี้จะยกตัวอย่าง พลทหารที่ถูกซ้อมจนตายเท่าที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างน้อย 5 ราย ประกอบด้วย พลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม พลทหารวิเชียร เผือกสม พลทหารทรงธรรม หมุดหมัด  พลทหารอภินพ เครือสุข  และ พลทหารสมชาย ศรีเอื้องดอย เป็นต้น
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องของประเด็น 1. สู้หรือซ้อม 2. ชัยภูมิ ไม่ใช่รายแรก เดือนที่แล้วก็มีเหตุวิสามัญแบบนี้ 3. เงินจากขายยาบ้าหรือกาแฟ 4. ขนยาหรือโดนยัด 5. กล้องวงจรปิดดทำไมไม่เปิด 6. ลาหู่ และผลกระทบในช่วงสงครามยาเสพติด-โดนคุกคามหนักถึงชีวิต และ 7. ชาวบ้านกับ จนท. ทะเลาะกันบ่อยจนไม่ไว้วางใจ ตั้งแต่เรื่องที่ทำกินยันโพสต์คลิปในเฟซบุ๊ก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เปิดข้อมูลอีกด้านก่อนจะปลื้มไปกับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่โชว์ว่าไทยมีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก หรือมีความสุขที่สุด 3 ปีซื้อ ขณะที่ปัจจัยที่ใช้วัด อย่าง อัตราการว่างงาน ไทยมีปัญหาในการนับ เพราะทำงานอะไรก็ได้แค่ 1 ชม./สัปดาห์ รวมทั้งเศรษฐกิจนอกระบบเราใหญ่มาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ กลับเป็นการสะท้อนปัญหาที่จะเป็นเงินฝืด
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
มีเรื่องมาเล่า ตอน สนช.โดนประชุมประจำ หรือไม่ควรเข้าประชุมตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำ สื่บเนื่องจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559  พบว่า สมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ทำการสำรวจ มาลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมาประเด็น 'แพะ' หรือความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมจนนำมาสู่การตัดสินลงโทษผู้บริสุทธิ์ เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ '5 ประเด็นคุมกำเนิดคดีแพะ' โดยรวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดความผิดพลาดของระบบ มาเล่า ได้แก่ การพิจารณาคดีให้ครบองค์คณะ การบันทึกเป็นภาพและเสียงแทนตัวอักษร ปัญหาของระบบกล่าวหาทำจำเลยตกเป็นเบี้ยล่างตั้งแต่ต้น การนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่ และความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ... ที่ถูกนำเข้าสู่สภา 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอน ไทยความเหลื่อมล้ำ อันดับ 3 ของโลก คนรวยสุด 10% ครองทรัพย์สิน 79% ของประเทศ และข้อเสนอของ นิธิ คำตอบอยู่ที่การเมือง
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ เมื่อดัชนีคอร์รัปชั่นรัฐบาลปราบโกงหล่นฮวบ กับข้อเสนอของ ที่ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้ศึกษาเรื่องคอรัปชั่นมากว่า 20 ปี มานำเสนอบางช่วงบางตอน ซึ่งศ.ดร.ผาสุได้พูดถึงประเด็นการแก้ปัญหาคอรัปชั่นกับระชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
คลิปจากรายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ เสนอ 6 อันดับ รัฐประหารที่ขอเวลานานทีสุด 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
1. เพื่อไม่ให้เป็นการลงโทษผู้บริสุทธิ์ (ผู้ต้องหายังไม่ถูกพิพากษาถือเป็นผู้บริสุทธิ์) 2. ปิดช่องกลั่นแกล้งโดยผู้มีอำนาจรัฐหรือฝ่ายบริหาร  3. รักษาหลักประกันความยุติธรรม   และ 4. ยังยั้งการบีบให้ผู้ต้องหาเลือกที่จะสารภาพ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เก็บตกจากงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2016/08/67197