Skip to main content

จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก

 

นิด้าโพลเผยสำรวจ การตัดสินใจประชาชนลงประชามติรับ-ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 6 ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ 62.80% ระบุ 'ยังไม่ตัดสินใจ' เพิ่มขึ้นจากครั้งแรกที่ 38.2% ขณะที่โหวตรับ 27.3% ไม่รับ 6.8% และไปโหวตแต่ไม่มีมติไปทางใด 3.07% ขณะที่ตัดสินใจว่าไปใช้สิทธิ แต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจนอยู่ที่ 3.07 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

การสำรวจของนิด้าโพลทำมาแล้ว 6 ครั้ง ซึ่ง โหวตรับกับโหวตไม่รับตัวเลขไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง แต่ความน่าสนใจอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ ตอบว่า "ยังไม่ตัดสินใจ" กับ "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในครั้งที่ 4 เป็นต้นมา และเป็นตัวเลขที่สวนทางกันระหว่าง 2 คำตอบนี้ โดย ถ้าไปดู ครั้งที่ 3 สำรวจวันที่ 23 – 24 พ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนครั้งที่ 4 สำรวจวันที่ 6 – 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา

คำถามคือช่วงเวลาดังกล่าวมีปรากฏการณ์อะไรที่ส่งผลให้คนจาก ตอบ "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" อาจเปลี่ยนเป็นตอบ "ยังไม่ตัดสินใจ" คำตอบคือการสร้างบรรยากาศความกลัวของรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำประชามติครั้งนี้ โดยช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา มีการข่มขู่ จับกุมดำเนินคดี กับผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติจำนวนมาก รวมไปถึงนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่หลายจังหวัดมุ่งเป้าไปที่บรรดานักการเมือง หรือนักเคลื่อนไหวในจังหวัดนั้นๆ ขณะที่  มีชัย ประธาน กรธ. กลับมองว่า เป็นเรื่องปกติ และเป็นหน้าที่ของ กรธ. ที่ต้องเร่งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญให้เร็วที่สุด (อ่านรายละเอียด)

และถ้านับเฉพาะช่วงก่อนจุดเปลี่ยนนี้ คือในช่วงระหว่างวันที่ 24 พ.ค.59 (หลังการสำรวจครั้งที่3) กับ 6 มิ.ย.59 (ก่อนการสำรวจครั้งที่4) มีเหตุการณ์สร้างบรรยากาศความกลัว ดังนี้

5 มิ.ย.2559 มีการเผยแพร่มิวสิควีดีโอเพลงรณรงค์ของ กกต. ที่มีกระแสวิจารณ์ว่าเนื้อหาเหยียบภาคอีสานและเหนือ http://prachatai.com/journal/2016/06/66201

5 มิ.ย.2559 จตุพรโวยทหารเบรกเปิด 'ศูนย์ปราบโกงประชามติ' ทั้งที่ประยุทธ์-กกต. เคยไฟเขียว http://prachatai.com/journal/2016/06/66153

30 พ.ค. 2559 ส่ง กกต.กทม.ตรวจสอบ 'สุรนันทน์-พิชญ์' สวมเสื้อชี้นำ ผิด กม.ประชามติหรือไม่ http://prachatai.com/journal/2016/05/66046

30 พ.ค. 2559 เรียก 2 อดีตส.ส.เพื่อไทย อุบลฯ เข้าค่ายคุย เหตุเข้าข่ายผู้มีอิทธิพล ก่อนกลับฝากชวนคนไปประชามติ http://prachatai.com/journal/2016/05/66047 เป็นต้น
 
ดังนั้นหากคนเปลี่ยนเป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  และอาจรวมไปถึงไม่ร่วมประชามติครั้งนี้มากขึ้น คงไม่ใช่เรื่องของการไม่สนในการเมืองหรือเบื่อหน่ายการเมือง  "นอนหลับทับสิทธิ" อย่างที่ชนชั้นนำหรือรัฐสร้างวาทกรรมกดทับประชาชนเหล่านั้นมาโดยตลอด หากเป็นการสร้างเงื่อนไขและบรรยากาศความกลัวต่างๆ เกี่ยวกับประชามติครั้งนี้มากขึ้น เพราะคนที่ตอบว่า "ยังไม่ตัดสินใจ" ตอนนี้ เขาก็อาจเคยตอบว่า "ไปใช้สิทธิ แต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจน" มาก่อนหน้านี้ด้วย
 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
"สื่อที่อิสระย่อมเป็นได้ทั้งสื่อที่ดีและสื่อที่เลว แต่ถ้าหากปราศจากเสรีภาพ สื่อ นั้นจะไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากการเป็นสื่อที่เลว"
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รวมคำอธิบายอารมณ์-นิสัยตัวเองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนตลก ใจร้อน ขี้โมโห น้อยใจ เสียใจ กล้าหาญ ตอบไปเรื่อย เป็นมนุษย์ปุตุชนธรรมดาคนหนึ่ง สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม ฯลฯ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถามนักข่าวปมดำเนินคดี 14 นักศึกษานักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในศาลทหาร ว่า ทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหนไหม คำตอบคือ ผิด มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญที่คณะท่านเขียนมาเลยครับ #จบข่าว  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ต้นไม้พิษย่อมให้ผลไม้พิษ และผลไม้พิษย่อมเป็นผลไม้พิษไม่ว่ามันจะเคลือบด้วย "ประชามติ" กี่ชั้น / ผู้มีบทบาทในการร่างส่วนมากโน้มเอียงไปทางฝั่งฝ่ายเดียว / เนื้อหาที่ร่างออกมามีหลายอย่างที่มีปัญหา / หากผ่านก็จะน้ำท่วมปาก / คสช.ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีแนวโน้มว่าจะทำและถ้าทำก็จะผ่าน แต่ไม่ผ่านก็เท่ากับต่ออายุ คสช. 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว แต่ยังมีคนงานและ SMEs รวมอยู่ด้วย หากการบอยคอตมีพลังคนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจเหล่านั้นก็จะซวยด้วย ปัญหาผูกขาดอยู่ที่ระบบไม่ใช่เจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง เสนอ ผลักดัน กม.การแข่งขันทางการค้าให้ฟังก์ชั่น ตั้งสหภาพแรงงานและเก็บภาษีทรัพย์สินมากขึ้น ฯลฯ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ขณะที่เรายังไม่มีเสรีภาพ แต่องค์กรสื่อรณรงค์ 'เสรีภาพบนความรับผิดชอบ' จะกลายกระบวนการเซ็นเซอร์สร้างสังคมที่ขาด ‘วิจารณญาณ’ หรือไม่? พร้อมสำรวจประเด็นการจำกัดเสรีภาพสื่อหลังรัฐประการ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97, 103 วิจารณ์ คสช.ก็ต้องโดยสุจริต การปิด PEACE TV และ ร่าง รธน. ฉบับใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ