Skip to main content

picture

ผมมีความเชื่อว่า
คนที่เป็นนักปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาบ้านเรา ถ้าหากไม่หลงไปปฏิบัติผิดที่ผิดทาง ท่านคงจะรู้กันดีทุกคนนะครับ ว่าเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติธรรม คือการปฏิบัติเพื่อลดละและปล่อยวาง  ความยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นตัวของเรา – เป็นของของเรา ซึ่งทางพุทธบ้านเราถือว่าเป็นต้นตอรากเหง้าของความทุกข์ทางใจทั้งหลายทั้งปวง

ส่วนจะเป็นทุกข์มากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับใจของเรา ที่เข้าไปยึดเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นตัวกำหนด พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเข้าไปยึดถือมากก็ย่อมเป็นทุกข์มาก ถ้าเข้าไปยึดถือน้อยก็เป็นทุกข์น้อยนั่นเอง

ครับ
นี่เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมที่เข้าใจได้ยาก หรือถ้าสามารถเข้าใจได้แล้ว...ก็ยังมีเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก นั่นคือการปฏิบัติให้ได้จริงและเป็นจริง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฝืนใจปุถุชนคนธรรมดาอย่างเรา ที่ล้วนแล้วแต่เกิดมาเพื่อเรียนรู้การยึดมั่นถือมั่น มากกว่าการลดละและปล่อยวาง...

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรื่องนี้ ซึ่งถือกันว่าเป็นแก่นของพุทธศาสนาที่พระเดชพระคุณท่านพุทธทาสภิกขุ เคยพูดเอาไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้คน จะกลายเป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่คนจะเข้าใจและปฏิบัติได้ พวกเราส่วนมากที่สักแต่ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธ จึงกลายเป็นคนที่อยู่ใกล้...แต่กลับไกลจนสุดหล้าฟ้าเขียวจากของดีที่อยู่ใกล้ตัว เพราะมันฝืนความเคยชิน ฝืนใจคนกิเลสหนาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ  เหลือเกินครับพระคุณเจ้า...

จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกอีกเหมือนกัน
ที่คนที่หันหลังให้กับทางโลกย์เข้าไปหาทางธรรม ถึงขั้นเข้าวัดวาหรือสำนักปฏิบัติธรรม เพื่อปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง จึงมักจะเป็นคนที่ได้ประสบกับความทุกข์ทางใจอันใหญ่หลวงมาแล้วอย่างหนักหนาสาหัส และมองเห็นความทุกข์นั้นด้วยตัวเองจริง ๆ เท่านั้น ที่มักจะพากันเข้าไปด้วยความสมัครใจ และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และเมื่อเดินมุ่งหน้าเข้าไปแล้ว ก็ยากยิ่งที่จะถอยหลังกลับมา

ดังเช่นกรณี ท่านศาสตราจารย์ อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง นักปฏิบัติธรรม อาวุโส ผู้มีชื่อเสียงขจรขจายในวงการพุทธ ศาสนา ได้ให้สัมภาษณ์ คุณขวัญใจ เอมใจ เอาไว้ในหนังสือสารคดีประจำเดือนมีนาคม 2543 เกี่ยวกับเส้นทางการปฏิบัติธรรมของท่านเอาไว้ตอนหนึ่ง ซึ่งตรงกับประเด็นที่ผมได้เกริ่นกล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจ และควรค่าแก่การศึกษา ดังต่อไปนี้

สารคดี : เหตุผลหลักที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ท่านตัดสินใจบวชคืออะไรคะ ดิฉันได้ยินมาว่า มีความ    คิดสองทาง มองว่าคนที่มาบวชนั้น หนึ่ง เพราะมีความทุกข์ สอง เป็นคนที่กำลังแสวงหา บางคนมองไกลไปถึงว่า พระพุทธเจ้าก็เป็นผู้แสวงหาอีกท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ

อ.รัญจวน : เห็นทุกข์ค่ะ แต่ก่อนนี้ไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่อาการของความทุกข์ก็คืออาการซัดส่ายของใจ วุ่นวายไม่เป็นปกติ แต่ไม่รู้ว่าอยู่กับความทุกข์ เพราะไม่เคยศึกษา พอมาตอนหลังก็มีเหตุที่ทำให้เริ่มเห็นความทุกข์ชัดขึ้น คือเรื่องหลานชาย ดิฉันมีหลานชายที่ดิฉันเลี้ยงเอาไว้ตั้งแต่เล็ก ๆ  เขาเป็นเด็กเก่ง เด็กฉลาด เรียนหนังสือดี อยู่มหาวิทยาลัยก็เรียกว่าเป็นดารา แต่เขาเป็นคนคิดมาก ดิฉันไม่รู้ว่าเขาคิดมากขนาดไหน ภายนอกของเขาเป็นคนที่รื่นเริงบันเทิงใจมาก อยู่ที่ไหนมีแต่จะทำให้ที่ตรงนั้นมีเสียหัวเราะ เพื่อนฝูงจะไปไหนก็มาขอให้เขาไปด้วย เพราะเขาเป็นคนนำ ทำให้เพื่อนฝูงสนุกสนาน มีปัญหาอะไรก็แก้ไขปัญหาให้เพื่อน แต่ผลที่สุด เขาก็แก้ปัญหาให้ตัวเองไม่ได้ ต้องเข้าไปอยู่โรงพยาบาลจนทุกวันนี้  เขาไม่ก้าวร้าว แต่จะพูดจะคิดอะไรเลื่อนลอย อยู่กับความหลัง อยู่กับอนาคต แต่ไม่อยู่กับปัจจุบัน ตอนนั้นดิฉันเริ่มรู้แล้วว่า อ้อ...ความทุกข์มันเป็นเช่นนี้เอง

แล้วก็นั่งคิด เอ...นี่เราเลี้ยงเขาผิดหรือเปล่า ทั้งที่เราก็ประชาธิปไตยพอสมควร มีอะไรก็พูดอภิปรายกัน ไม่ได้เก็บกักอะไรเขาเลย ก็ถามตัวเอง โทษตัวเอง รู้สึกเศร้าใจ ยิ่งเมื่อเห็นดอกเตอร์หนุ่ม ๆ ก็นึกในใจ หลานเราก็เป็นได้ แล้วเขาก็เป็นได้อีกตั้งหลายอย่าง เป็นนักดนตรี นักพูด นักเขียน แต่กลับมาเป็นอย่างนี้ นี่ละจิตที่ทุกข์จริง ๆ ก็ตอนนั้น

สารคดี : เรื่องหลานชายถือเป็นเหตุปัจจัยหลักที่ทำให้เห็นทุกข์ กระทั่งตัดสินใจบวช
อ.รัญจวน : ใช่ค่ะ เริ่มเห็นความทุกข์ชัดเจนขึ้น ทั้ง ๆ ที่เราอยู่กับความทุกข์มาตลอดชีวิตอย่างที่เล่ามาแล้ว นี่ที่สำคัญมากนะคะ คนทุกคนในโลกนี้คลุกคลีกับความทุกข์มาตลอด แต่ทุกข์เล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันกลับมองไม่เห็น มันมีอยู่ตลอดทั้งวัน  ตลอดระยะทางของชีวิต เกือบจะทุกขณะทุกชั่วโมง ก็ที่เดี๋ยวเราดีใจ เดี๋ยวเสียใจ เดี๋ยวชอบใจ เดี๋ยวไม่ชอบใจอีกแล้ว นั่นละ

แต่เพราะไม่เคยเรียนรู้ ก็เลยไม่รู้ว่า เรามีชีวิตอยู่กับความทุกข์ จนกระทั่งวันหนึ่ง สิ่งที่เรารักมาก ยึดถือมาก...ว่ามันเป็นของเราเกิดวิปริตขึ้นมา มันถึงตีตูมเข้ามาที่ใจ ทำไมถึงเห็นว่าเป็นทุกข์มาก ทุกข์ใหญ่  เพราะเราไม่เคยได้ฝึกอบรมใจ เพื่อจะต้อนรับทุกเล็ก ๆ  ที่ผ่านใจเข้ามาตลอดชีวิตของเรา เราไม่เคยรู้ เราไม่เคยจัดการ ที่หลังมันก็จะสะสมความทุกข์ ความไม่พอใจมาเรื่อยทีละน้อย ๆ แล้วพอมีอะไรใหญ่มาก ๆ ลงมาตูมเดียว จึงไม่มีความต้านทานที่จะรับ
แต่สำหรับตัวเอง พอจะรับได้บ้าง ไม่ถึงเป็นบ้าเป็นหลังไปกับความทุกข์ ไม่ได้ล้มสลบสิ้นสติลงไป ที่เน้นเรื่องนี้ก็อยากจะบอกทุกคนว่า เราควรจะต้องศึกษาเรื่องความทุกข์ อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอริยสัจสี่ และเมื่อเกิดอะไรขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นทุกข์ใหญ่ เช่นไฟไหม้บ้าน เกิดอุบัติเหตุตายทั้งหมู่ ลูกสาวหลานสาวถูกข่มขืน ยำยี มันก็จะไม่ทำให้เราเป็นทุกข์ชอกช้ำจนถึงเสียสติ

สารคดี : อาการของท่านเองตอนที่เจอทุกข์ใหญ่มากในตอนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง
อ.รัญจวน : ข้างนอกนี่ไม่เป็นอะไร แต่ข้างในรู้สึกเหนื่อย...เหนื่อยมากเหลือเกิน เพราะพอหลานชายออกจากโรงพยาบาล แล้วก็ต้องเอาเขามานอนเตียงข้าง ๆ ติดกัน แล้วก็ต้องคอยพูดคอยปลอบใจ ให้กำลังใจ แนะนำต่าง ๆ  ไหนจะงานสอนที่รามคำแหง แล้วตอนนั้นเป็นประธานสภาอาจารย์รามคำแหง ซึ่งเริ่มมีเป็นครั้งแรกด้วย พอมาถึงบ้านก็ต้องมาทำงานพยาบาลด้วย แล้วพยาบาลโรคทางใจนี่หนักกว่าโรคทางกายนัก เพราะฉะนั้น นอกจากทุกข์เพราะสงสารว่าเขาเป็นอย่างนี้แล้ว ยังทุกข์เพราะเหนื่อยอีก มันเหนื่อยสายตัวแทบขาดทีเดียว เหนื่อยทุกอย่างทั้งกายและใจ เลยรู้ว่า อ๋อ...ลักษณะของความทุกข์ที่เกิดขึ้นมันเป็นเช่นนี้เอง

ถ้ามองจากตอนนี้ ถามว่า ที่ตอนนั้นตัวเองทุกข์เพราะอะไร ก็ตอบว่า ทุกข์เพราะอุปทาน ยึดมั่นถือมั่น  ถ้าเราไม่ยึดมั่นถือมั่นเราก็ไม่ทุกข์  มีเด็กหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่มีอาการอย่างหลานชายของเราอีกนับพันนับหมื่น ทำไมเราไม่ไปทุกข์กับเขา ก็เพราะเขาไม่ใช่หลานเรา นี่ธรรมะบอก เพราะเราไปยึดมั่น เพราะฉะนั้นจึงทุกข์มาก นี่ถ้าไม่ใช่หลานของเรา มีอะไรจะช่วยได้ก็คงช่วยกันไปเท่าที่กำลังจะช่วยได้  แต่ไม่ต้องเสียใจเศร้าหมองจนไม่คิดถึงเหตุผลอย่างใช้สติปัญญา

ครับ ผมหวังว่า บทสัมภาษณ์ บทนี้ของอาจารย์รัญจวน ที่สูญเสียหลานชายที่ท่านรัก และเป็นเหตุทำให้ท่านหันหน้าเข้ามาปฏิบัติธรรมตราบจนเท่าทุกวันนี้ คงจะทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจคำว่า ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นต้นตอความทุกข์ทางใจของคนเราได้ง่ายขึ้น และได้รับประโยชน์จากความเข้าใจนี้กันทุกคนนะครับ.

17 ตุลาคม 2550
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

ภาพประกอบจาก http://dungtrin.com ขอบคุณครับ

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง ที่ขัดแย้งกันมานาน ระหว่างรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ที่ดูเหมือนว่า นอกจากจะมองไม่เห็นทางที่จะสมานฉันท์กันได้แล้ว ยังมีแนวโน้มว่า สถานการณ์ที่ต่างฝายต่างก็ไม่ยอมลดราวาศอกให้กัน ยังมีทีท่าว่าจะทวีความรุนแรงไปสู่การนองเลือดที่น่าสยดสยอง ดังที่คาดหมายกันว่าจะเกิดขึ้น ตั้งแต่ วันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไป ตามที่เขาประกาศศึกกันแบบเอาเป็นเอาตายกัน ซึ่งเราไม่ปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้เกิดขึ้นในสังคมไทย   ดังเช่น โศกนาฏกรรมนองเลือด 6 ตุลาคม 19 และพฤษภาคมทมิฬ 35 ในอดีตที่ผ่านมา แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มีพลังแห่งความปรารถนาดีใดๆในสังคม สามารถเข้าไปยับยั้งได้…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  โอ พระเจ้า !ข้าสงสัยเหลือเกินว่า ทักษิณ ชินวัตรทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตรทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตรทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตรทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร ทักษิณ ชินวัตร และ สนธิ ลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุล สนธิลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุลสนธิ ลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้ม ทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุลสนธิ ลิ้ม ทองกุล สนธิลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุลสนธิ ลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุล
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ด่วน ! ประชาชนชาวไทย ผู้รักความสงบทุกท่าน โปรดทราบ... นับตั้งแต่ออกประกาศฉบับนี้เป็นต้นไป เวลาท่านออกจากบ้านไปไหนมาไหนคนเดียว โดยเฉพาะตามสถานที่ที่ไม่มีคนรู้จัก เวลาพบคนใส่เสื้อสีเหลือง เหลีอง เหลีอง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง เหลือง กำลังชุมนุมกันอยู่เป็นจำนวนมาก... ขอให้ท่านจงโปรดระวัง ! อย่าได้ขับรถ - หรือเดินเฉียดเข้าไปใกล้พวกเขาเป็นอันขาด ! เพราะนี่คืออันตรายเป็นอย่างยิ่ง !…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
1 พฤศจิกายน 2551ข้ามองเห็นคนรัก ทักษิณ ชินวัตร ใส่เสื้อสีแดงแดง แดง แดง แดง แดง แดง แดง แดงแดง แดง แดง แดง แดง แดง แดง แดงแดง แดง แดง แดง แดง แดง แดง แดงแดง แดง แดง แดง แดง แดง แดง แดงจำนวนนับไม่ถ้วน ณ ราชมังคลากีฬาสถานแห่แหนกันออกมายกย่องและให้กำลังใจ ทักษิณ ชินวัตร และเมื่อ ทักษิณ ชินวัตร ปรากฏภาพและเสียงผ่านโฟนอิน ออกมาพูดแล้วคนใส่เสื้อสีแดงทุกคนต่างเชื่อว่าทุกถ้อยคำที่ ทักษิณ ชินวัตร พูด ณ สถานที่แห่งนี้ เป็นความจริงหมดทุกถ้อยคำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มิใช่ บ่อ จากท่อธารบาดาลใสหลั่งรินไหล มิรู้แล้ง แห้งเหือดหายเป็นเพียง บ่อ น้ำฟ้ามาซึมทรายหลั่งรินสาย มาหล่อเลี้ยง - เพียงชั่วกาลมิใช่ บ้านดวงใจ อุ่นไอรักแค่ เพิงพัก หลบร้อนอันกร่อนกร้านริมวิถี คดเคี้ยว เปลี่ยว กันดารเป็นทางผ่าน เป็นที่พัก - นักเดินทางมิใช่ แสงดาว ชี้ชัดปลุกศรัทธาแทนดวงตาดวงใจผู้ไร้ร้างเป็นเพียง แสงหิ่งห้อย - ลอยเลือนรางอยู่ท่ามกลางคืนเดือนมืดอันยืดยาวและมิใช่ สมณะ ผู้ละโลกย์พ้นทุกข์โศกเวียนว่ายกายสีขาวยังเป็นแค่ ปุถุชน คนมากคาวยังมิก้าวพ้น ตัณหา ราคีใดคือ ตัวฉัน…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ข้าใส่เสื้อสีเหลือง ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งความชอบธรรมของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งความถูกต้องของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งความดีงามของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งข้อเท็จจริงของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งความเป็นจริงของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งเหตุผลของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อสีเหลืองแห่งอุดมการณ์ของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งพลังมวลชนอันยิ่งใหญ่ของข้า และความเชื่อในสีเหลืองทั้งหมดของข้า เป็นความเชื่อที่ข้าเชื่อว่า เป็นความเชื่อที่ถูกต้องที่สุด และดีที่สุดที่ข้ามี แต่เพียงผู้เดียวในโลกนี้ ข้าจึงไม่มีวันที่จะประนีประนอม…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผลงานน้องจูนี่ไฟไฟ ไฟ ไฟไฟ กำลังลุกไหม้บ้านเมืองของเราเร้ว เร็วเข้าเถิดรีบมาช่วยกันดับไฟเร็วๆเข้า บ้าบ้า บ้า บ้าบ้าบอคอแตกที่สุดในโลกมัวไปสนใจมัวไปทะเลาะเบาะแว้งมัวไปทุ่มเถียงกันให้เสียเวลาทำไมว่าพวกรัฐบาลหรือว่าพวกพันธมิตรใครเป็นคนลงมือจุดไฟเผาใช้น้ำมันเบนซินยี่ห้ออะไรบริษัทอะไรเป็นผู้ผลิตใครเป็นคนคิดวางแผนใครเป็นคนสั่งการ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
1. เงิน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับลมหายใจเข้าออกแทบทุกขณะจิตของผู้คน 2. เงิน คือทาสรับใช้ผู้ซื่อสัตย์ แต่เป็นนายที่โหดร้าย ยังเป็นวาทกรรมที่ทันสมัย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ที่ ดวงตา คอยมองจับจ้องอยู่ ที่ ใบหู คอยแยะแยกจำแนกเสียง ที่ จมูก คอยดมชมกลิ่นเกลี้ยง ที่ ปลายลิ้น คอยเรียงไล่ลิ้มรส
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
Canto คือยอดของภูเขาน้ำแข็ง ที่โผล่ออกมาให้เราเห็นนิดเดียวบนพื้นผิวของมหาสมุทร Canto คือการเปิดประตูเพื่อให้คนเดินเข้าไป คือการเปิดหน้าต่างเพื่อให้คนมองออกไป – สู่จินตนาการเสรี Canto คือการลงมือเขียนถ้อยคำจากความรู้สึกประทับใจจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างฉับพลัน 3 บรรทัดสั้นๆ จบ Canto คือการลดละการแสดงความคิดเห็น ความรู้ ความเฉลียวฉลาด ของผู้เขียน ออกไปให้มากเท่าไหร่ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น Canto คือการเก็บเม็ดทรายเม็ดเล็กๆของถ้อยคำ มารวมกันจนเกิดเป็น มวล ที่มีน้ำหนักและพลัง - ที่ไม่อาจปฏิเสธไม่ได้ Canto คือการเขียนเพื่อให้คนอื่นคิด มิใช่เขียนเพื่อคิดแทนคนอื่น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
1. ของแท้ ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ แต่ผมไม่ใช่ 2. ได้มาก็เสียไป สิ่งสำคัญที่สุดอยู่กับเราชั่วคราว ผิดกับความอ่อนแอ 3. ความงามหนึ่ง ชื่อการพลัดหลง น่าประทับใจจนอยากเก็บเอาไว้คนเดียว 4. แดดส่องโต๊ะรับแขกหน้าบ้าน ตำลึงเลื้อยพันขาเก้าอี้ขึ้นไปงอกงาม กาน้ำชาฝุ่นเกาะอยู่ในห้องครัวเงียบ 5. กลิ่นชาใบเตย ขยายตัวอวลอุ่น จอกหนึ่งว่าง...จอกหนึ่งพร่อง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ระบอบการเมือง                ที่ดีที่สุดในโลกนี้มี                                   หรือไม่มีถ้าหากมี                          แล้วถูกขยำขยี้ทิ้งไปยัง…