Skip to main content

  

3 กันยายน 2552 ปีนี้
นอกจากจะเป็นวันรำลึกครบรอบการจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาแล้ว วันนี้ยังมาตรงกับวันจัดงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของโครงการย้อนยุคอำเภอสันป่าตอง ที่มีเป้าหมายที่จะแนะนำอำเภอสันป่าตองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นตัวหลักในการจัดงาน ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายหลายองค์กร ฯลฯ

\\/--break--\>

ปีนี้

โดยส่วนตัวผม นอกจากควรจะต้องไปงานรำลึกครบรอบการจากไปของคุณจรัลในตัวเมืองเชียงใหม่ เหมือนทุกปีแล้ว ผมยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปร่วมงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของอำเภอที่เป็นบ้านเกิดของผม ณ สวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ฯ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เนื่องจากปีนี้ ผมได้รับการคัดเลือก และยินยอมพร้อมใจ เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของอำเภอ สาขาวรรณศิลป์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน Series ของงานนี้ ร่วมกับมาลา คำจันทร์ นักเขียนนวนิยายรางวัลซีไรท์ และคุณถนอม ปาจา ศิลปินพื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญในการเขียนค่าว ( บทกวีพื้นบ้าน ) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสังคมวรรณกรรมท้องถิ่น ด้วยนามปากกาที่ชื่อว่า " รสสุคนธ์ รักษ์กวี "

 

งานนี้มี 2 วันครับ

นอกจากพิธีไหว้ครูและมอบโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลสาขาต่างๆเกือบ 20 กว่าคนแล้ว ยังมีงานกิจกรรมตลอดวันทั้งสองวันที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.00 น. เช่น

  • - นิทรรศการแสดงผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลทุกๆสาขา
  • - กาดหมั้วครัวฮอมจากหมู่บ้านต่างๆ มาร่วมขายอาหารพื้นเมือง
  • - การแสดงซอพื้นเมือง ค่าว จากคณะต่างๆ เช่น จันทร์ทองบันเทิงศิลป์
  • - การแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลงานของชาวบ้านกลุ่มต่างๆ เช่น บ้านร้องตีมีด กลุ่มจักสานบ้านป่าจู้ กลุ่มไทเขิน ฯลฯ
  • - การแสดงดนตรีของ คำ ปันเกย สะล้อ 2001 และศิลปินรับเชิญ
  • - ร้านมัจฉากาชาด ของเหล่ากาชาดอำเภอสันป่าตอง
  • - ร้านย้อนยุค ของ สโมสรโรตารี่สันป่าตอง
  • - กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เลื่องชื่อร่วมแสดง เช่น พ่อครูเพชร วิริยะ บ้านจ๊างนัก สล่าแดง บ้านน้ำต้น พ่ออุ้ยใจ๋คำ โครงการอุ้ยสอนหลาน สล่านอง หอสมังคีช้าง สล่าสมานบ้านเปียง ฯลฯ


ส่วนงานรำลึกครบรอบการจากไป ของ คุณจรัล มโนเพ็ชร ปีนี้ ผมไม่ได้ข่าวว่าจัดกันกี่ที่กี่แห่ง นอกจากข่าวที่ผมได้รับจากคุณกฤตน ชัยแก้ว เพื่อนนักดนตรี ที่เคยเล่นกีตาร์และร้องเพลงตามห้องอาหารร่วมกันมาหลายแห่ง ชึ่งปัจจุบัน ควบตำแหน่ง ฝ่ายประสานงาน สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้ข่าวแก่ผมมาว่า ปีนี้ โครงการศิลปวัฒนธรรม ในความร่วมมือเพื่อเมืองเชียงใหม่ ได้จัดงานรำลึกถึงคุณจรัล ชื่องานว่า "เรียงร้อยฮ้อยฝัน จรัล มโนเพ็ชร" ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น. 3 กันยายน 2552 ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ( หลังหอศิลป์ มช. ) ซึ่งใบปลิวโฆษณาเขาให้รายละเอียดของงานมาว่า

 

ชมฟรี พร้อมรับซีดีผลงานประวัติศาสตร์ พบ สุนทรี เวชานนท์ ปฎิญญา ตั้งตระกูล ไม้เมือง ณัฐ กิตติสาร ณัฐฐา พรหมมินทร์ บฤงคพ วรอุไร วงซึงหลวง ฯลฯ และชาวศิลปินล้านนาอีกมากมาย และทายาท 2 รุ่นของจรัล มโนเพ็ชร เสนอเพลงใหม่ นิทรรศการประวัติผลงาน ละครเวทีที่หาชมที่อื่นไม่ได้ เช่น ศึกรักประกาศิต เปาบุ้นจิ้น บารมีศรีวิชัย และงานสุดท้าย มะเมี๊ยะ วงสนทนาของนักแสดงและทีมงาน กาดหมั้วครัวฮอม ตลาดศิลปะตลอดวัน ฯลฯ

 

ครับ ถือว่างานทั้งสองงานนี้ เป็นงานใหญ่ที่น่าสนใจด้วยกันทั้งสองงาน ถ้าคุณอยากเที่ยวชมงานทั้งสองให้อิ่มอกอิ่มใจครบทุกงานทุกวัน วันแรกควรจะขับรถไปเที่ยวงาน " แอ่วสันป่าตอง" ในช่วงตอนกลางวัน แล้วตอนเย็นไปต่องานรำลึกคุณจรัลที่จัดเพียงวันเดียว แต่จัดยาวนานไปจนถึงเวลา 22 - 00 น. แล้วอีกวันกลับไปเที่ยวงาน " แอ่วสันป่าตอง " อีกวัน ก็ครบทุกงานทุกวัน หรือจะเลือกไปงานสันป่าตองวันหนึ่ง งานรำลึกจรัลวันหนึ่งเพียงงานเดียว ก็ตามแต่สะดวกกันนะครับ...


ส่วนตัวผมนี่ หลังจากรับรางวัลแล้ว ค่อยว่ากันอีกที เพราะผมสังหรณ์ใจว่าตัวเอง คงจะถูกแวดล้อมและมะรุมมะตุ้มด้วยผู้สื่อข่าวที.วี.ทั้งวัน จนออกจากงานไม่ได้ ( ฮา ) เพราะสภาวัฒนธรรมเขาทำโปสเตอร์งานขนาดใหญ่มหึมา ติดตามแยกถนนยังกะงานเปิดตัวดารา เห็นรูปตัวเองแล้วตกใจ ว่าทำไมตัวเองถึงได้หล่อในยามสูงวัยได้ถึงเพียงนี้ - อ่ะจ๊าก !

 

ขอบคุณ พ่อหลวงศิลปิน รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง คุณกฤตน ชัยแก้ว ฝ่ายประสานงาน สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ส่งข่าวและรายละเอียดของงานมาให้ประชาสัมพันธ์

 


 

ท่านผู้ใดที่เดินทางแวะเวียนผ่านอำเภอสันป่าตอง ในช่วงวันเวลานี้ ถ้าสนใจของดีจากอำเภอสันป่าตอง ที่สภาวัฒนธรรมนำมาเสนอ เชิญแวะเข้าไปชมงานนี้ได้เลยนะครับ
 

31 สิงหาคม 2552
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”