Skip to main content

 

ครั้งหนึ่ง

ชายคนหนึ่ง ขุดรูปสลักหินอ่อนที่สวยงามอย่างยิ่ง ได้จากท้องทุ่ง เขาจึงนำมันไปหานักสะสมของเก่า ซึ่งรักของสวยๆงามๆ และเสนอขายให้แก่เขา นักสะสมก็ซื้อไปในราคาสูง แล้วคนทั้งสองก็จากกัน

ในขณะที่ชายผู้นั้นเดินถือเงินกลับบ้าน เขาก็คิดและกล่าวกับตัวเองว่า

เงินก้อนนี้มีความหมายต่อชีวิตมากมายเหลือเกิน เป็นไปได้อย่างไร ที่ยังมีคนยอมเสียเงินมากมายถึงเพียงนี้ เพื่อแลกกับหินสลักที่ไร้ชีวิต ที่ถูกฝังอยู่ในดินมาตั้งพันปีแล้ว โดยไม่มีใครนึกฝันเช่นนี้”

 

ขณะนั้น

นักสะสมก็มองดูรูปหินสลักของเขา และคิดรำพึงกับตัวเองว่า

ช่างสวยงามอะไรเช่นนี้ ช่างมีชีวิตชีวาอะไรอย่างนี้ เป็นความฝันของดวงวิญญาณทีเดียวนะนี่ สดใสไปด้วยการนอนหลับอันแสนหวาน..มานานนับพันปี ใครกันนะ ที่ยอมแลกสิ่งนี้กับเงินที่ไร้ชีวิตและความฝันได้”

 

 

ครับ

งานเขียนสั้นๆแบบสาธกนิยายเกี่ยวกับเรื่องคุณค่านี้ เป็นงานเขียนที่ผมหยิบยกมาจากหนังสือ “ผู้เบิกทาง” ของคาลิล ยิบราน จากสำนวนแปลของกิติมา อมรทัต เป็นงานเล็กๆชิ้นหนึ่ง ที่ผมชอบมากพอๆกับงานอีกมากมายหลายชิ้นในรวมเล่มนี้ของยิบราน เพราะเขาสามารถสาธกเรื่องที่ยุ่งยากเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆของมนุษย์ - ให้เราเข้าใจได้โดยง่าย และทำให้เรารู้สึกว่า การมองเห็นคุณค่าของบางสิ่งบางอย่างที่ต่างกันของคนเรา และการตัดสินที่จะเลือก - เอาสิ่งที่แต่ละคนมองเห็นคุณค่าให้แก่ตัวเองนั้น แท้จริงแล้ว - หาได้มีใครเป็นคนผิดไม่ เพราะทุกคนต่างมีเหตุผลที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ตัวเอง - ในการมองเห็นและเลือกด้วยกันทั้งนั้น

 

เช่น ชายที่มองเห็นเงินมีคุณค่าความหมายมากกว่ารูปสลักหินอ่อน ที่เขามองเห็นมันเป็นเพียงแค่ก้อนหินที่ไร้ชีวิต และไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับเขา นั่นเป็นเพราะว่า เขาอาจจะเป็นคนจนหาเช้ากินค่ำ และมีชีวิตอยู่อย่างอดๆอยากๆมาตลอดชีวิต ดังนั้น เงินย่อมมีคุณค่าความหมายแก่ชีวิตของเขา มากกว่ารูปปั้นหินอ่อนที่สวยงามอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเขาเก็บไว้ไม่ยอมเอาไปขาย มันก็ไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์ใดๆที่จะทำให้ชีวิตที่อดๆอยากๆของเขาดีขึ้น เพราะงานศิลปะนั้น (รวมทั้งอุดมการณ์ทั้งหลายแหล่ในโลกนี้ด้วย...) ไม่ว่าจะงดงามยอดเยี่ยมและเพียบพร้อมด้วยพุทธิปัญญาอันสูงส่งขนาดไหน ก็ไม่อาจทำให้ท้องของคนจนที่กำลังโหยหิวอิ่มได้...

 

ในขณะที่นักสะสมของเก่า ซึ่งคงจะเป็นคนที่มีเงินทอง และมีชีวิตที่สุขสบาย ไม่มีปัญหาเรื่องปากท้อง หรือปัญหาพื้นฐานใดๆของชีวิตที่ต้องเป็นทุกข์กังวล กลับมองเห็นว่า เงินเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่าความหมายเลย เมื่อเทียบกับรูปสลักหินอ่อนอันงดงามนั้น และเขาคงไม่มีวันที่จะเอารูปปั้นหินอ่อนที่เขาซื้อมาด้วยราคาแพงไปขายต่อ เพราะเขามองดูเงิน - ที่มีคุณค่าความหมายมากมายต่อชีวิต ตามทัศนะของชายที่อดอยากยากจน เป็นเพียงแค่...สิ่งที่ไร้ชีวิตและความฝัน เช่นเดียวกับชายที่อดอยากยากจนมองดูรูปสลักหินอ่อน เป็นสิ่งปราศจากชีวิตที่ไร้คุณค่า..สำหรับตัวเขา ตรงกันข้ามกันเหมือนขาวกับดำ...

 

 

ทำไม

คนชั้นรากหญ้า

จึงเลือกรักและชื่นชมบูชาคุณทักษิณ ชินวัตร ราวกับเทพเจ้า

เช่นเดียวกัน

ทำไม

คนชั้นกลางและคนชั้นสูง

จึงเลือกรักและชื่นชมบูชาคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่ต่างไปจากคุณทักษิณ ชินวัตร

ผมคิดว่าสาธกนิยายสั้นๆของยิบรานเรื่องนี้

ได้ให้คำตอบแก่เราไปขบคิดกันได้เป็นอย่างดี

ถ้าหากเราพอจะรู้จัก - การลดละอัตตา มานะ และทิฎฐิของตัวเอง

หันไปมองดูคนอื่นที่ต่างจากตัวเรา...จากมุมมองของเขา

บางทีคุณอาจจะพบว่า

ไม่มีใครผิดในการที่เขาจะเลือกรักและชื่นชมบูชา ทักษิณ ชินวัตร

ไม่มีใครผิดในการที่เขาจะเลือกรักและชื่นชมบูชา สนธิ ลิ้มทองกุล

เพราะการเลือกของเขาแต่ละพวกแต่ละคน

คงย่อมต่างมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่เขาจะได้รับ

จากคนที่เขาได้ตัดสินใจเลือกแล้วอย่างแน่นอน...

เช่นเดียวกับคนที่ไม่เลือกใครเลย

เขาก็ย่อมต้องมองเห็นคุณค่าและประโยชน์

ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง...จากการไม่เลือกรักและชื่นชมบูชาใคร

ไม่ว่าจะเป็นพวกสีแดงของคุณทักษิณ ชินวัตร

ไม่ว่าจะเป็นพวกสีเหลืองของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล

หรือสีอะไรของใครก็แล้วแต่

ที่กำลังขับเคี่ยวกันในทางการเมืองอย่างเอาเป็นเอาตาย - ในบ้านเมืองของเรา

ใช่ บ้านเมืองของเรา

แต่มิใช่ของเราแต่เพียงผู้เดียวที่จะต้องไปรับผิดชอบ

หรือผูกขาดความรักชาติแบบเชยๆและน่าเบื่อ...เอาไว้แต่เพียงผู้เดียว อย่างแน่นอน

สวัสดี - สวัสดี ฤดูหนาวที่น่ารัก.

 

22 พฤศจิกายน 2552

กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

ภาพถ่ายโดยปลายมนัส

 

 

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”