Skip to main content

 

 

 

ผมไม่แน่ใจว่า
ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท

พวกท่านจะทราบหรือไม่ว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดค่าจ้างหรือเงินเดือนใดๆให้แก่ผู้ว่าจ้างที่เป็นทุนเอกชน หรืออาจจะรู้อยู่เต็มอก แต่มั่นใจว่าทำได้ ทั้งๆที่รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ยากแสนยากที่จะทำได้ โดยเฉพาะการเพิ่มค่าแรงงานเป็น 300 บาท ดังนี้
 
ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ นักวิชาการอาวุโสฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษย์และสังคม สถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย ได้ชี้แจงเอาไว้ในสกู๊ปหน้า 1ของไทยรัฐ ฉบับ 13 ก.ค. 54 ที่ชื่อว่า “ใต้ภูเขาแรงงาน 300 ยังมีวิกฤตแรงงาน”ว่า
 
“เรื่องการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ จะว่าไปแล้วรัฐไม่มีหน้าที่โดยตรง มีกฎหมาย (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2551) กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้าง และ ตัวแทนฝ่ายรัฐ
 
โดยมีมาตรา 79 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่3) พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานผีมือ และมาตรา 87 กำหนดว่า “...ให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่น โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม...”
 
เมื่อได้ศึกษา ข้อมูลและพิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว ใหัคณะกรรมการค่าจ้างประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ โดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
 
ซึ่งในทางปฏิบัติ แม้จะมีคนของรัฐคือปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานคณะกรรมการค่าจ้าง แต่กระบวนการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยพื้นฐานแล้ว เป็นเรื่องของการเจรจาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยมีตัวแทนของรัฐทำหน้าที่เป็นคนกลางเท่านั้น
 
ตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้น
เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เคยตั้งเป้าค่าแรงขั้นต่ำ 250 บาท แต่คณะกรรมการค่าจ้างกลางไม่เห็นด้วย ท้ายที่สุด ค่าจ้างที่ประกาศออกมา เมื่อเดือนมกรา 2554 คือ 221 บาท สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล
 
ดร.สราวุธ บอกว่าจริงๆแล้ว การกำหนดเป้าหมายเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 25 เปอร์เซ็นต์ ในเวลา 2 ปี พอจะมีความเป็นไปได้ เพราะเพิ่มจาก 221 บาท เป็น 276 บาท แต่ที่ยากกว่าคือการจะเพิ่มจาก 221 บาท เป็น 300 บาท เพราะเท่ากับเพิ่มถึง 35.7 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้บอกว่าจะได้เมื่อไหร่
 
เมื่อพิจารณา
การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ผ่านมา
ระหว่างปี 2541 - 2554 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยไม่เคยเพิ่มถึง 10 เปอร์เซ็นต์
มีอัตราเพิ่มเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4 เปอร์เซ็นเท่านั้น
ที่เคยเพิ่มสูงสุดเกิดขึ้นในปี 2550 - 2551 อยู่ที่ 9.1 เปอร์เซ็นต์
และรองลงมา 7 เปอร์เซ็นต์ในปี 2553 - 2554
 
ครับ
นี่คือเงื่อนไขที่ไม่ง่ายเลยที่รัฐบาลในอนาคตจะเนรมิตให้แก่ผู้ขายแรงงาน ส่วนผลกระทบที่จะติดตามมา ทั้งจากการเพิ่มค่าแรงดังกล่าว รวมทั้งการปรับเงินเดือนคนจบปริญญาตรีจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท มีความเห็นจากผู้ประกอบการภาคเอกชนและนักวิชาการหลายท่าน ที่ มติชน รายวัน ฉบับ 13 ก.ค. 54 นำมาลงในหน้า 2 โดยพาดหัวว่า
“เสียงเตือนกระหึ่ม ! นโยบายยิ่งลักษณ์ ปรับค่าแรง 300 - ป.ตรี 1.5 หมื่น”
ด้วยความเห็น และการชี้ทางออกไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งผู้ประกอบการและนักวิชาการ
 
ผมขอนำ เอาเฉพาะความเห็นที่เป็นรูปธรรมที่มองเห็นเป็นจริงและจับต้องได้ง่าย จาก คุณธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย มานำเสนอ ดังนี้
“หากค่าแรงงานปรับเพิ่ม ทุกธุรกิจจะได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด แต่ภาคอหังสาฯ จะหนักสุด เพราะโดนสองเด้ง ทั้งจากราคารับเหมาและจากวัสดุก่อสร้างที่ปรับขึ้นจากค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้นสามสมาคมอหิงสาฯ ทั้งสมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอหังสาริมทรัพย์ไทย จะหารือกัน เพื่อทำหนังสือหรือออกเป็นแถลงการณ์ถึงรัฐบาลให้ชะลอการปรับขึ้น หรือค่อยๆปรับขึ้นภายในสองปี เอกชนรับได้ แต่อย่าปรับครั้งเดียว เพราะหากปรับครั้งเดียว ผู้ประกอบการ ก็จะผลักภาระไปที่ผู้บริโภคทั้งหมด
 
อุตสาหกรรมก่อสร้างนั้น เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก จึงหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องใช้แรงงานต่างด้าว ก็จะมีสาวนรับเงินตรงนี้ไปด้วย แม้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าท่ายกรัฐมนตรี จะระบุให้แรงงานไทยเท่านั้น แต่ในข้อเท็จจริงนั้นมิได้เป็นอย่างนั้น
 
ขณะนี้ยังไม่เหมาะที่จะปรับค่าแรงไปถึง 300 บาท เพราะเศรษฐกิจก็ยังไม่ดีนัก เพราะไม่เพียงแต่ค่าแรงขั้นต่ำ แต่ยังลามไปถึงมนุษย์เงินเดือนด้วย เพราะมีการระบุว่าหากจบปริญญาตรีใหม่ได้เงิน 15,000 บาท ต่อเดือน ทั้งที่ยังไม่มีฝีมืออะไรเลย
 
ดังนั้น คนที่ทำงานมานานแล้ว มีเงินเดือนสูงกว่านักศึกษาจบใหม่ไม่มากนัก ก็จะต้องขอปรับค่าแรงหรือเงินเดือนขึ้นด้วยเหมือนกัน ดังนั้นภาคแรงงานต้องมีความปั่นป่วนแน่นอน สุดท้ายจะต้องมีการปลดคนออก
 
ครับ
นี่คือ เหตุปัจจัยของความเป็นไปได้ที่ยากแสนยาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย ที่ฟังดูเป็นเหตุเป็นผลที่น่าเชื่อถือ ถ้าหากผู้ใช้แรงงานและผู้ที่เพิ่งจบปริญญาตรี จะคาดคั้นเอากันทีเดียวให้ได้ ตามที่ท่านนายกฯ ในอนาคตอันใกล้นี้ ได้โปรยยาหอมเอาไว้ตอนเลือกตั้ง
 
 แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายอะไรนักหนา เพราะผู้ที่กำหนดค่าแรงงานและเงินเดือนที่แท้จริง เขาก็ประนีประนอมเสนอทางออกที่เป็นไปได้แบบค่อยๆเป็นไป ตามเงื่อนไขที่เป็นไปได้แก่คุณยิ่งลักษณ์ดังกล่าวแล้ว
 
และผมเชื่อว่า ถึงอย่างไรคุณยิ่งลักษณ์คงไม่อยากเห็นใครๆที่เบื่อแสนจะเบื่อ...คนรูปหล่อที่เพิ่งจากไป มาชูป้ายดิสเครดิตแบบ คนอกหักซ้ำซาก แก่ตัวคุณยิ่งลักษณ์ว่า
“หล่อลากดิน...ก็แค่นั้น สวยชวนฝัน...ก็แค่นี้ เพราะดีแต่พูด...เหมือนกันอีกแล้ว !”
 
13 กรกฎาคม 2554
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่ 
 
 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ชีวิตเอย เหตุใดเล่า เจ้าจึงเศร้าโศกเสียใจร้องไห้คร่ำครวญ ให้กับบางสิ่งที่เจ้าได้สูญเสียมันไป เหมือนนมที่หกออกจากแก้วไปแล้ว...ตกลงบนพื้นดิน วันแล้ววันเล่า ไม่รู้จักจบสิ้น  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
12 เมษายน 2545 วันครบรอบวันเกิด...ที่แสนจะเจ็บปวด ขณะนั่งรถจักรยานยนต์ออกตรวจพื้นที่กับคู่หู ขับรถผ่านไปทางบ้านพ่อแม่ผู้พัน นายเก่าที่มาหยิบยืมเงินเราแล้วไม่ยอมใช้คืน เมื่อสองสามปีที่แล้ว พอเจอหน้า จอดรถจะเข้าไปถาม นายกลับรีบเดินหนี อนิจจา ! นายเอ๋ยนาย...ดอกไม่ต้องขอเพียงแค่ต้นคืนได้ไหม...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  7   ครับ รายละเอียดเรื่องราวของเขา ที่ผมอยากรู้อยากเห็นเหลือเกิน เริ่มปรากฏอยู่ในบันทึกหน้านี้นี่เอง และเมื่อหยิบหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ที่เขาถ่ายสำเนาจากหนังสือนิตยสาร “ชีวิตรัก” มาให้ผม ซึ่งเป็นหน้า คอลัมน์ - ในช่วงที่เขาได้แบกเป้ออกไปตะลอนทัวร์ ช่วยคุณวนัสนันท์ ตามที่เขาตั้งปณิธานเอาไว้ออกมาอ่าน เพื่อทำความรู้จักทั้งคอลัมน์และตัวตนของคุณวนัสนันท์ ที่นำมือแห่งความเมตตาของคุณวรรณและคุณแขคนไทยในต่างประเทศ มาฉุดเขาขึ้นมาตจากขุมนรกอันลึกล้ำดำมืดแห่งหนี้สิน และมือแห่งความเมตตาอีกมากมายที่หลั่งไหลติดตามมา... ผมพบว่าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
6 หลังจากงานศพของพ่อแล้ว เขาก็เริ่มตกเข้าไปอยู่ในวังวน - ของการหมกมุ่นครุ่นคิด...เป็นทุกข์อยู่กับหนี้สินอีก และพยายามต่อสู้กับตัวเองอย่างถึงที่สุด ระหว่างการคิดทำลายตัวเองตามพ่อไป เพื่อหนีความทุกข์ปัญหาอันหนักหนาสาหัส และการพยายามคิดหาเหตุผลต่างๆนานาที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
30 ตุลาคม 2539 วันนี้ นายเรียกข้าราชการตำรวจทั้งโรงพักมาประชุม เพื่อร่ำลาไปรับตำแหน่งใหม่ เห็นพวงมาลัย...ที่นายดาบหัวหน้าสายแต่ละสาย เตรียมมาให้นายแล้ว ได้แต่นึกเสียดาย... ท่านมากอบโกย...แล้วก็ไป
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3. เขากลับกรุงเทพฯไปได้หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ ผมก็ได้รับกล่องพัสดุขนาดใหญ่ หนักเกือบสองกิโลกรัมจากเขา เมื่อแกะกล่องออกมา ผมก็พบแฟ้มเก็บต้นฉบับที่เขาถ่ายสำเนามาจากหน้าคอลัมน์ “สะพานบุญ” ที่เขาเคยเขียนในนิตยสาร “ย้อนรอยกรรม”และ จากหน้าคอลัมน์ “ศาลาแรงบุญ” ในนิตยสาร “แรงบุญแรงกรรม” ที่เขาเขียนอยู่ในปัจจุบัน นับรวมกันได้ 60 กว่าเรื่อง หนาประมาณ 200 กว่าหน้ากระดาษ A4 รวมทั้งสำเนาต้นฉบับที่เขาถ่ายจากหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์ จากหนังสือ “ ชีวิตรัก” 15 แผ่น และจากกรอบหน้าคอลัมน์หนังสือพิมพ์รายวันที่เขียนยกย่องชื่นชมเขา 3 - 4 แผ่น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 1.  จินตวีร์ เกียงมี หรือที่มีชื่อเต็มยศว่า จ.ส.ต.จินตวีร์ เกียงมี ซึ่งปัจจุบันรับราชการตำรวจ ตำแหน่ง งานธุรการอำนวยการกองวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันทั่วไปทั้งประเทศ และเลื่องลือไปถึงเมืองนอกเมืองนาในวันนี้ ในฐานะ จ่าตำรวจใจบุญ ที่แบกเป้เที่ยวตะลอนๆ ไปช่วยเหลือคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก แทบทุกหนทุกแห่งในประเทศ ที่ส่งเสียงร้องทุกข์โอดโอยมาให้เขาได้ยิน ซึ่งเราได้รับรู้เรื่องราวของเขาจากสื่อต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ และที.วี.แทบทุกช่องที่นำเรื่องราวของเขา มาบอกเล่าแก่สาธารณะชน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 สมัยที่ผมยังทำงานเป็นนักดนตรีประจำร้าน สายหมอกกับดอกไม้ ของคุณอันยา โพธิวัฒน์ คู่ชีวิตของคุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะออกมาทำงานเขียนและงานเกี่ยวกับหนังสืออย่างเต็มตัวในทุกวันนี้ ผมจำได้อย่างแม่นยำว่า ภายในร้านสายหมอกกับดอกไม้ นอกจากเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับตกแต่งภายใน ที่ประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้ ที่เป็นเครื่องไม้ ภาพเขียน รูปปั้น และ ข้าวของเครื่องใช้ ผลงานเพลงของคุณจรัลในตู้โชว์ ตลอดจนรูปภาพของคุณจรัลตามฝาผนังห้องในอิริยาบถต่างๆแล้ว ยังมีกระจกเงาเก่าแก่บานหนึ่ง กว้างประมาณ สองฟุต สูงท่วมหัว ประดับอยู่ตรงมุมห้องโถงด้านขวามือใกล้ๆกับเวทีเล่นดนตรี…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3 กันยายน 2552 ปีนี้ นอกจากจะเป็นวันรำลึกครบรอบการจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาแล้ว วันนี้ยังมาตรงกับวันจัดงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของโครงการย้อนยุคอำเภอสันป่าตอง ที่มีเป้าหมายที่จะแนะนำอำเภอสันป่าตองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นตัวหลักในการจัดงาน ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายหลายองค์กร ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ก่อนอาทิตย์ตกในไร่ข้าวโพดสีส้มโชติโชนอยู่อีกครู่ใหญ่แผ่ร่มเงาความเวิ้งว้างกว้างออกไปอีกหนึ่งวันกลืนวันวัยในวันนี้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ฉันเอยฉันทลักษณ์ ยากยิ่งนักจะประดิษฐ์มาคิดเขียน เป็นบทกวีงามวิจิตรสนิทเนียน มิผิดเพี้ยนตามกำหนดแห่งกฎเกณฑ์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มิ่งมิตร เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม