ย้อนกลับไปทบทวนดู
คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า
“อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ข้อความที่คุณยิ่งลักษณ์กล่าวว่า
“อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้”
โดยเฉพาะความที่ว่าอุปสรรคที่ควบคุมไม่ได้ ผมตีความเอาเองว่า น่าจะเป็นอุปสรรคที่เกิดจากความสัมพันธ์เชิงบุญคุณที่ต้องตอบแทนกันในทางการเมืองจากคนภายใน ที่ร่วมกันผลักดันให้คุณยิ่งลักษณ์ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น นั่นเอง
ซึ่งบัดนี้ ก็ได้ก่อตัวขึ้นมาให้คุณยิ่งลักษณ์ตกอยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และวางตัวให้ดูดีได้ยากแสนยาก เพราะยังไม่ทันได้แถลงนโยบายเพื่อบริหารประเทศอย่างเต็มตัว ก็ถูกคนภายในนำข้อเรียกร้องปัญหาต่างๆมาเป็นบ่วงผูกมัดข้อเท้า ด้วยเงื่อนไขทางบุญคุณ คอยรั้งเอาไว้...มิให้เดินได้ตามสะดวก เริ่มตั้งแต่การเรียกร้องตำแหน่งรัฐมนตรีจากคนเสื้อแดงที่จัดการลงตัวและเงียบเสียงกันไปแล้ว และตามมาด้วยการเรียกร้องให้ส.ส.ในพรรครัฐบาลเอาตำแหน่งประกันตัวผู้ที่ถูกจับกุมด้วยข้อหา เผาบ้านเผาเมือง ออกมาจากที่คุมขัง ที่เสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นรัฐบาลของคนเสื้อแดง
แต่เรื่องนี้
เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังมากนะครับ เพราะเพียงแค่ถูกลดความเป็นคนลงไปเป็นนักโทษและถูกจองจำจำกัดอิสรภาพ ก็เป็นการตกนรกทั้งเป็นเหลือที่จะทนอยู่แล้ว แต่ว่ากันว่า พวกเขายังถูกผู้คุมและนักโทษในเรือนจำไม่ยอมรับ และคอยกระแหนะกระแหน เยาะเย้ยถากถาง กดดันพวกเขา ทำให้พวกเขาเป็นคนแปลกแยกและน่ารังเกียจราวกับตัวเสนียด เพราะคำว่า เป็นคนเผาบ้านเผาเมือง ทำให้พวกเขายิ่งแย่จนเหลือจะทนเข้าไปอีก...
โดยส่วนตัวของผม ผมเห็นด้วยกับการช่วยประกันพวกเขาออกมาจากขุมนรกที่กดดันพวกเขามากเกินไป ทั้งๆที่คดีความยังไม่ได้มีการตัดสินความผิดถูก ตามข้อกล่าวหาอันใหญ่โตที่อดีตรัฐบาลอภิสิทธิ์โยนให้พวกเขา ดังคำสัมภาษณ์ของ คุณแสงทอง ประจำเมือง ชาว ต.หมากแข้ง อ.เมืองอุดร หนึ่งใน 22 คนที่ได้รับการประกันตัวจากเรือนจำกลางอุดรธานี ได้ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 20 สิงหาคม 2554 เอาไว้ว่า
“ผมมีอาชีพ เปิดร้านขายของชำอยู่ที่บ้าน ในวันเกิดเหตุเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ผมไปยืนถ่ายวิดิโอบันทึกเหตุการณ์อยู่ และถูกทหารคนหนึ่งเข้ามากระชากกล้องแล้วทำลายกล้องจนพังหมด ก่อนจะควบคุมผมและคนอื่นๆไปที่ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ต.โนนสูง อ.เมืองอุดร
โดนควบคุมอยู่ 2 วัน ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจไปสอบสวนผมและเพื่อนๆทั้ง 22 คน ซึ่งตำรวจบอกว่าพวกผมโดนคดีกระทำผิด พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นคดีไม่ร้ายแรง ให้รับสารภาพ เสียแค่ค่าปรับเท่านั้น ซึ่งทุกคนก็รับสารภาพกันหมด
จากนั้นทหารบอกให้ญาติไปเสียค่าปรับที่ศาล และบอกว่าจะนำตัวส่งศาล แต่กลับนำพวกผมเข้าห้องขังที่เรือนจำกลางอุดรฯ เมื่อมาถึงคุก ทางศาลแจ้งโทษว่าพวกผมต้องโทษอีก 2 คดี คือ พยายามวางเพลิงเผาทรัพย์อาคารสาธารณะ สมบัติของแผ่นดิน และคดีบุกรุกโดยมีอาวุธหรือร่วมกันกระทำผิดเกิน 2 คนขึ้นไป
เมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำ รู้สึกกดดันมาก ถูกขังซอย 7 คนต่อห้องขนาด 3 คูณ 2 ตารางเมตร ไม่ได้ออกไปไหน อยู่ในห้องประมาณ 2 สัปดาห์ เขาก็นำมาขังรวมกันที่มาด้วยกัน 18 คน เฉพาะชาย ส่วนหญิงอีก 4 คนแยกไปขังซอยหญิง จึงค่อยดีขึ้น
ทุกเช้าที่หน้าเสาธง พวกผมจะรู้สึกกดดันมาก เพราะจะมีเจ้าหน้าที่เรือนจำออกมาพูดหน้าแถวว่า พวกผมเป็นคนเผาบ้านเผาเมือง เป็นพวกขบถ เป็นทรราช ทำให้พวกนักโทษในเรือนจำ พากันเยาะเย้ยถากถางเป็นประจำ...”
ถัดมา ก็เรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายค่าหัวคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตในเดือนเมษา - พฤษภาคม 53 รายละ 10 ล้านบาท อันนี้ผมไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ เพราะไม่ว่าเงินจะมากหรือน้อยสักแค่ไหน ก็ไม่อาจชุบชูชีวิต...คนที่ตายไปแล้วให้ฟื้นกลับคืนมาใหม่ได้ แต่ผมกลับมองว่า ถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำไปแล้ว แต่สังคมกลับมองว่าเป็นการลำเอียงให้คนเสื้อแดงมากเกินไป ก็เป็นเรื่องที่จะถูกโจมตี แต่ถ้าให้ด้วยตัวเลขที่คนเสื้อแดงเขาไม่พอใจ ก็จะเสียแนวร่วม นี่ คือเรื่องที่สำคัญ และยากแสนยากที่จะทำได้ให้เป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่าย เหมือนอย่างที่ภาษิตล้านนากล่าวเอาไว้ว่า
“จับใจ๋แฮ้ง บ่จับใจ๋ก๋า จับใจ๋ครูบา บ่จับใจ๋พระหน้อย”
(ถูกใจแร้ง ไม่ถูกใจกา ถูกใจครูบา ไม่ถูกใจเณรน้อย)
นั่นเอง
แล้วก็มาถึงกรณี การเดินทางไปญี่ปุ่นของ คุณทักษิณ ชินวัตร ที่ปรากฏว่า นายยูกิโอะเอดาโน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงว่า รัฐบาลไทยไม่มีนโยบายห้ามอดีตนายกฯทักษิณเดินทางเข้าประเทศใดๆ และได้ร้องขอมาทางญี่ปุ่นให้ออกวีซ่าให้ ตามคำขอดังกล่าวของรัฐบาลไทยและการพิจารณาหลายๆด้าน เราจึงตัดสินออกวีซ่าให้
เรื่องนี้ จึงเป็นเงื่อนไขให้ฝ่ายค้าน แจ้งความดำเนินคดีและถอดถอนคุณ สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีต่างประเทศออกจากตำแหน่ง ในฐานะคนช่วยเหลือโน้มน้าวญี่ปุ่นออกวีซ่าให้คุณทักษิณ และขยายผลไปถึงนายกฯยิ่งลักษณ์ แล้วก็มีกระแสข่าวติดตามมาด้วยเรื่อง ความสอดคล้องต้องกันราวกับนัดหมาย ระหว่าง คุณทักษิณ ที่มีโปแกรมจะเดินทางเข้ากัมพูชา เพื่อพบปะหารือกับ ฮุนเซน เกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันทางทะเล ที่สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของรัฐบาลไทย ที่กระทรวงกลาโหม เตรียมเจรจากับกัมพูชากรณีพิพาทชายแดนและเรื่องการถอนทหาร พร้อมๆกับที่ กระทรวงพลังงาน จะเจรจากับกัมพูชาเรื่องความร่วมมือด้านพลังงานน้ำมันและก๊าซในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เป็นเรื่องที่ทำให้สังคมระแวงว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่ผูกโยงไปถึงเรื่องธุรกิจและผลประโยชน์ทับซ้อน ที่สื่อเขามองว่า เป็นเรื่องที่ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์เลย
ส่วนเรื่องที่หนักหนาสาหัส
ก็คือเรื่องที่คนเสื้อแดงเขาเรียกร้องอีก คือเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการคดีเอาคนฆ่าคนเสื้อแดงเอาลงโทษ โดยเล็งไปที่ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คุณสุเทพเทือกสุวรรณ อดีตนายกฯและรองนายกฯ และทหารที่เกี่ยวข้องในการล้อมปราบคนเสื้อแดง และเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมาดหมายจะนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้แทนรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ใช้กันปัจจุบัน และถูกมองว่าเป้าหมายที่แท้จริง คนเสื้อแดงที่ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็เพื่อช่วยนิรกรรมโทษให้คุณทักษิณ ที่ต้องโทษจำคุก 2 ปี ติดตัว และยังลี้ภัยอยู่ที่ดูไบ กรณีทุจริตจัดซื้อที่ดินที่รัชดาฯ
ครับ
นี่คือบ่วงจากคนภายในที่เข้ามาผูกมัดข้อเท้าอันขาวผ่องและเรียวงามของคุณยิ่งลักษณ์ (ฮา) โดยไม่มีใครยอมอดทนรีรอให้คุณยิ่งลักษณ์ได้ก้าวแรกออกไปอย่างสง่างาม โดยไม่สะดุดหยุดชะงัก แต่บางที...เรื่องที่ทำให้คุณยิ่งลักษณ์ยุ่งยากลำบากใจเรื่องนี้แหละ ที่จะบีบคั้นเอาตัวตนที่แท้จริงของคุณยิ่งลักษณ์ออกมาแสดงความเป็นตัวของตัวเองให้สังคมได้แจ้งประจักษ์ ด้วยเหตุปัจจัยของตัวตน ที่อาจเกิดขึ้นได้ว่า...
ฉันพยายามให้ทุกอย่างตามที่ทุกคนต้องการแล้ว
ฉันพยายามอดทนเป็นหุ่นเชิด เป็นหนังหน้าไฟ...จนเพียงพอแล้ว
คราวนี้แหละ ถึงคราวที่ฉันจะต้อง ขบถ เพื่อตัวของฉันเองมั่งหละ
(ไชโย ! เพราะฉันขบถ ฉันจึงมีชีวิตอยู่...)
โดยส่วนตัวของผม
ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงที่เรียกร้องเอากับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ผมถือว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสที่สุดจริงๆ ก็คือ เรื่องเรียกร้องดำเนินคดีความเอาคนที่ฆ่าคนเสื้อแดงมาลงโทษ ถ้ารัฐบาลนี้ทำเรื่องนี้ให้ปรากฏออกมาเป็นความจริงให้ประจักษ์แก่สังคมได้ ฟันธงลงไปได้เลยว่า มันเป็นเรื่องสุดยอด ปาฏิหาริย์ ที่สามารถบันทึกลงไปในหน้าประวัติศาสตร์ได้เลยว่า นี่...เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย ที่มีรัฐบาลสามารถเอาคน ที่ลงมือฆ่าประชาชนตายและบาดเจ็บเป็นเบือมาลงโทษได้...
เรื่องนี้
พ่อ แม่ ญาติพี่น้องของคนเดือนตุลา 16 และคนเดือนพฤษภา 34 ที่สูญเสียคนในครอบครัวเขารู้ดี และคนเดือนตุลาฯ ที่ยังมีชีวิตอยู่ แถมยังเป็นแกนนำส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดงยิ่งรู้ดี เพราะประวัติศาสตร์สังคมได้บอกเอาไว้แล้วว่า มันเป็นเรื่องที่ยากแสนยาก เพราะว่ากันว่า ไม่ว่าฝ่ายใดขึ้นไปเป็นรัฐบาลและกลายเป็นผู้มีอำนาจแล้ว เขามักจะไปเกี้ยเซียะกับอำนาจเก่า อำนาจพิเศษ กองทัพ คนชั้นกลาง NGO ฯลฯ เพื่อการอยู่รอดของตัวเอง ยากที่จะหันกลับมาเหลียวแลช่วยเหลือคนเล็กคนน้อยอีกต่อไป โดยเฉพาะการเรียกร้องกรณีสุดยอดนี้ เป็นไปได้ยากแสนยากที่รัฐจะทำได้ ด้วยเหตุผลที่พอจะเข้าใจได้ เหมือนอย่างที่พังเพยโบราณเปรียบเปรยเอาไว้ว่า ลูบหน้าก็ปะจมูก หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ นั่นเอง
หรือบางทีวันนี้
อาจจะถึงคราวที่ปาฏิหาริย์จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นก็ไม่รู้ ผมไม่ควรมองเรื่องนี้กับท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ในแง่ร้ายจนเกินไป เช่นเดียวกับคนเสื้อแดงก็ไม่ควรจะไปคาดหวังสูงกับคุณยิ่งลักษณ์ถึงขนาดนี้ ถึงแม้รัฐบาลนี้อาจจะไม่ยอมเกี้ยเซียะกับฝ่ายใดทั้งสิ้น
ครับ
อย่างไรๆ ก็ขอเอาใจช่วยคุณยิ่งลักษณ์
นายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง
แก้ปมบ่วงที่ผูกมัดข้อเท้า
แล้วสลัดมันออกไปเพื่อทำงาน
ให้ส่วนอื่นๆที่เขากำลังรออยู่โดยเร็วพลัน
เฮ้อ...จะเอาอะไรกันนักหนากับประชาธิปไตยแบบไทยๆ.
21 สิงหาคม 2554
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน"
สมัยหนึ่ง
ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า
“เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่”
จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ
หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า
“น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก”
จื๊อกุงถามว่า
“ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า”
เธอตอบสะอื้น
“ฉันย้ายไม่ได้ดอก”
“…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์
ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์
การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่
นอกจากอำนาจนิติรัฐ
และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ
ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง
ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง
นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก
ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า
รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
คิดผิดหรือคิดถูก
ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร
แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้
ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี
เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด
ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว
โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง
ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
อ่าน ดู และฟัง
เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร
จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร
อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง
ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง
แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
26 ก.พ. 53
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร
คน
คน
คน
คน
คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ชะตากรรม
ชะตากรรม
ชะตากรรม
ชะตากรรม
ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร
ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย
ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร
ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน
หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว...
คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
“ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว”
ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า
ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คุณค่าผลงานวรรณกรรม
'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ
ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”