เมื่อยังมีชีวิต
จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต
การมีชีวิต
กล่าวสำหรับมนุษย์ ย่อมนับถึงชีวิตที่แข็งแรง มีความหมายและน่ารื่นรมย์ เพราะหากขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว มนุษย์ก็มักรู้สึกทนได้ยากที่จะมีชีวิตอยู่ทำไม บางคนอาจจะบ่นว่าอยู่ไปก็ไร้ความหมาย เราไม่ทราบว่าแมลงสาบ ต้องการความหมายหรือความรื่นรมย์ในมนุษย์หรือไม่
บางที
มันอาจจะอยู่ที่มันสมองที่ใหญ่ (เกินความจำเป็น) ของมนุษย์ที่ทำให้เขาต้องแสวงหาความหมาย (จนอาจจะมากไปอีกเช่นกัน) และปล่อยให้ความหมายอยู่เหนือชีวิต จนถูกบางคนที่เป็นนักเยาะเย้ยชีวิตกล่าวว่า อะไรในโลกนี้เป็นเพียงแต่การสมมุติขึ้นของมนุษย์เท่านั้น แท้จริงหามีความหมายไม่
แต่แม้ว่า
ทุกอย่างไม่มีความหมาย เราก็ไม่สามารถปัดภาระหน้าที่ในการมีชีวิตออกไปได้ บางครั้งจึงต้องตัดเรื่องความหมายออกไปได้ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงความหมายสูงสุดหรือความหมายแท้จริง ให้เราพูดถึงความหมายในโลกนี้ โลกของมนุษย์และสังคมของเรา
ในโลกแห่งความหมาย
บางทีเราอดรู้สึกไร้ความหมายไม่ได้ ฟ้าก็หม่น เสียงเพลงก็ไม่ไพเราะ เสียงสรวลเสหัวเราะกลับทำให้เศร้า ถูกแล้วกำลังผิดหวัง เพราะเรามักตั้งความหวังไว้มากและสูงเกินไป และในสังคมแห่งการขาดแคลน ความหวังในชีวิตประจำวันก็ไม่อาจเป็นจริงได้ เช่น การหวังจะได้ขึ้นรถประจำทางว่างๆ
เราอยู่โลกของความหวังและความผิดหวัง
ความผิดหวังทำให้เราถูกกดดัน ไม่มั่นใจตนเอง และเห็นว่าตนเองไร้ความหมาย แต่ความสนหวัง แม้จะทำให้มั่นใจในตนเอง แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลใจ ความผิดหวังและความสมหวังใหญ่ๆ และอย่างไม่คาดฝัน จะทำให้ชีวิตผิดปรกติ แต่ชีวิตที่ไม่ผิดหวังและสมหวัง ไม่อาจเป็นไปได้สำหรับมนุษย์ ดังนั้น จึงต้องเตรียมตัวสำหรับความผิดหวังและสมหวัง หลังจากที่เราเลือก หรือปล่อยให้คนอื่นเลือกวิถีชีวิตของเรา
เมื่อผิดหวัง
ย่อมหมายถึงการลงแรงเกือบทั้งหมด หรือส่วนใหญ่กลายเป็นโมฆะ เราจึงอยู่ในโลกความว่างเปล่า จนบางทีไม่รู้จะปฏิบัติตอบสนองต่อสิ่งภายนอกอย่างไรถู และยิ่งจมอยู่กับความผิดหวังนานเท่าใด ความหมายของชีวิตจะลดน้อยลงเท่านั้น จนกว่าจะทะลึ่งตัวขึ้นมาอีกครั้งในทะเลแห่งความผิดหวัง คนย่อมจมความหวังตาย เช่นเดียวกับจมน้ำตาย ถ้าหากไม่รู้จักว่าย
ไม่ว่าจะผิดหวังอย่างไร
อย่าลืมหายใจ ลมหายใจจะบอกว่าเรายังมีชีวิต ถ้าคุณยังกินข้าวได้ (และยังมีข้าวกิน) ยังนอนหลับ ยังร้องไห้ได้จนน้ำตาไหลพราก และยังหัวเราะได้ก้อง มันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรร้ายแรง
ความเจ็บปวดที่ฆ่าเราไม่ได้
มักจะทำให้เราเข้มแข็งขึ้น
บาดแผลที่ลึก
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแผลเป็นที่น่าเกลียด หรือความพิการ
ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็ให้มันเป็นไป
ที่สำคัญมีอยู่ว่า คุณยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
ถ้ามีจงหายใจเข้าไว้ หากคุณไม่รู้จะทำอะไร
ชีวิต
เป็นกระบวนการที่พัฒนามาหลายพันปี ยังไม่ใครเข้าใจอย่างถ่องแท้ และมันก็คลี่คลายไปด้วยการดำเนินชีวิตของเราด้วย เมื่อความหมายของชีวิตอย่างหนึ่งสูญสลายไป ก็จะเป็นการโง่เขลาที่จะสรุปว่าชีวิตไม่มีความหมาย
ไม่ใช่สัจธรรมดอกที่อยู่ในมือเรา
แต่เป็นชีวิตต่างหากที่อยู่ในมือเรา
ใช้มันให้เต็มที่
ทุกคนไม่มีอะไรสูญเสียนอกจากชีวิต
และไม่มีอะไร
นอกจากการเกิดใหม่.
หมายเหตุ ; นี่คือทัศนะที่พูดถึงชีวิตคนเราที่เกี่ยวข้องกับความหมายของชีวิต ที่ผมถือว่าดีที่สุดเท่าที่ผมเคยได้อ่านมา และรู้สึกว่ามันเป็นความจริงที่สมเหตุสมผล มิใช่ถ้อยคำที่ฟังดูเป็นปรัชญาอันเลื่อนลอย เมื่ออ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ โดย อนุช อาภาภิรมย์ จากบทหนึ่งในหนังสือที่รวมทัศนะเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างสันติที่ชื่อว่า “ที่พักและทางเดิน” โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์ ชั้นใต้ดิน เดอะมอลล์ ราชประสงค์ พิมพ์ครั้งแรก เมษายน 2526
ผมขอมอบทัศนะเกี่ยวกับชีวิตที่ยอดเยี่ยมนี้ให้แก่ท่านผู้อ่าน ประชาไท ทุกคน ที่กำลังผิดหวังอย่างใดอย่างหนึ่งในชีวิต จนถึงขนาดรู้สึกว่า ชีวิตนี้หมดความหมาย และปล่อยตัวเองจมอยู่ในความผิดหวังได้อ่านกัน เพื่อจะเป็นการจุดประกายพลังชีวิตให้คุณเริ่มต้นใหม่อย่างมีชีวิตชีวาในวันนี้ (รวมทั้งตัวผมเองด้วยครับ ฮา...)
และขออนุญาตคุณอนุช อาภาภิรมย์ นำบทความดีๆนี้มาเผยแพร่ให้คนได้อ่านกันเยอะๆด้วยครับ ขอบคุณครับ.
10 ตุลาคม 2554
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน"
สมัยหนึ่ง
ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า
“เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่”
จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ
หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า
“น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก”
จื๊อกุงถามว่า
“ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า”
เธอตอบสะอื้น
“ฉันย้ายไม่ได้ดอก”
“…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์
ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์
การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่
นอกจากอำนาจนิติรัฐ
และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ
ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง
ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง
นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก
ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า
รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
คิดผิดหรือคิดถูก
ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร
แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้
ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี
เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด
ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว
โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง
ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
อ่าน ดู และฟัง
เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร
จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร
อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง
ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง
แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
26 ก.พ. 53
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร
คน
คน
คน
คน
คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ชะตากรรม
ชะตากรรม
ชะตากรรม
ชะตากรรม
ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร
ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย
ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร
ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน
หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว...
คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
“ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว”
ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า
ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คุณค่าผลงานวรรณกรรม
'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ
ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”