เป็นการป้องกัน
วัวควายตกลงมาขณะรถวิ่ง พื้นที่ส่วนนี้ประมาณ 3 ไร่ ใกล้กันนั้นมีสุ่มไก่วางเต็มลานดิน บางคนอุ้มไก่ บางสุ่มมีไก่ขังไว้ ที่นี่เป็นตลาดไก่ชน มีหลายราคาแล้วแต่จะตกลงกัน เมื่อชมจนพอใจก็เดินขึ้นทางทิศเหนือแล้วเลี้ยวขวา จะพบสถานที่ขายรถจักรยานยนต์ จอดเต็มพื้นที่ราดคอนกรีต หลังคาสูง ประมาณสี่คูหา ที่ติดกันเป็นร้านขายรถจักรยานอีก 1 คูหา มีคนสนใจมากพอๆกับรถที่จอดรอซื้อขาย
\\/--break--\>
ผมได้ไปพบ
แม่ครู "บัวผิน ลอมศรี" ผู้เป็นเจ้าของกาดงัวอำเภอสันป่าตอง(ตลาดนัดทุ่งฟ้าบด) ที่บ้านหลังสวยหลังตลาด ท่านอายุปัจจุบัน 72 ปี การแต่งตัวและแต่งหน้าช่วยให้ดูสวยสมวัย ได้ให้การต้อนรับอย่างดี ที่ศาลาทรงไทยหลังงาม ซึ่งใช้ต้อนรับแขก โดยเล่าว่า
กาดงัวได้เริ่มจัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2502 โดยนายสม ลอมศรี ได้ประกาศให้พ่อค้าแม่ค้า มาค้าขายในตลาดนี้ ได้ใช้วิธีจ้างลิเก ซอ มาแสดงเพื่อดึงดูดคน เมื่อพ่อค้าแม่ค้าประชาชนมาซื้อสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆเป็นประจำ ทางเจ้าของตลาดจึงเลิกนำมหรสพมาเล่นต่อไป ในปี พ.ศ. 2502-2504 มีพ่อค้าแม่ค้ามาขายของน้อยลงมาก จึงปิดตลาดในปี พ.ศ. 2505-2506 สาเหตุที่ปิดตลาดก็เพราะ มีผู้ต้องการเปิดตลาดพื้นที่ใกล้กัน และตำรวจยังมาจับแม่ค้าพ่อค้าที่ขับขี่รถผิดกฎหมาย รวมทั้งจับพ่อค้าวัวควายที่ไม่มีตั๋วพิมพ์(ตั๋วรูปพรรณ) มีเนื้อที่ทั้งหมด 14 ไร่ ใช้เป็นตลาด 8 ไร่ เก็บค่าเช่าแผงละ 2-100 บาท พื้นที่ตลาดในปัจจุบันนี้ แม่ครูบัวผินได้เป็นผู้ดำเนินการครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้น้องสาวดูแล โดยใช้ถนนคอนกรีตหน้าบ้านแม่ครู เป็นเส้นแบ่งพื้นที่ตลาด
ทุกวันเสาร์
ตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง มีคนมาเที่ยวตลาดกันมากมาย มีจราจร 3 นาย อำนวยความสะดวกด้านจราจร การพาคนข้ามถนน โดยในตอนเช้าก่อนตลาดเปิด เจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำกรวยสีส้มมาวางกลางถนนเป็นระยะ รถมาถึงหน้าตลาด จะวิ่งช้าตามกันมาเป็นแถว ราว 11 นาฬิกาผู้คนจะเริ่มซาลง พ่อค้าแม่ค้าเริ่มเก็บของ กาดงัวจึงเป็นเสมือนที่เดินเที่ยวของทุกเพศวัย เด็กสาวเดินสวมกางเกงขาสั้นตามกันเป็นกลุ่ม ทรงผมเป็นแบบรวบผมไว้ท้ายทอยรูปหางม้า ข้างหน้าหวีผมตรงหน้าผากยาวปัดเฉียง มือถือแก้วบรรจุชามุก ดูดกินอย่างสบายอารมณ์ขณะเดิน แดดร้อนเพียงไร ไม่มีความกังวลสำหรับวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินมาด้วยกัน 5 คน อย่างน้อยจะยกมือถือแนบหู คุยโทรศัพท์ไปด้วย ข้ามถนนก็ยังคุยไม่หยุด เป็นพฤติกรรมของวัยรุ่น และคนในยุคสมัยนี้ ผู้อยู่ในวัยมีครอบคัวก็ซื้อของใช้ ของกิน ต้นไม้ ถือของพะรุงพะรุงในมือ
ห้างสรรพสินค้าดังๆ
ตั้งแต่เชียงใหม่ เรียงเรื่อยไปตามถนนหางดง สู่เส้นทางสายเชียงใหม่-สันป่าตอง บางห้างใช้ยุทธวิธีจัดตลาดนัด 1 วันหน้าห้าง สินค้าเหมือนยกแผงมาจากถนนคนเดินในวันอาทิตย์ที่เชียงใหม่ มาวางไว้หน้าห้าง มีเสื้อผ้า ของกินคนเมือง เครื่องตกแต่งบ้าน ฯลฯ ทำให้นึกถึงร้านขายของชำหรือโชห่วย ที่ถูกรุกรานโดยร้านสรรพสินค้า ตลาดนัดสันป่าตอง(กาดงัว)เป็นตลาดแห่งเดียวขณะนี้ ที่มีเอกลักษณ์ขายวัวควาย ขายไก่ชน ขายรถจักรยานยนต์และรถจักรยาน(รถถีบ) บางคนเรียกว่า "ตลาดมีชีวิต"
หวั่นใจ
จะถูกกลยุทธทางการค้าของยักษ์ใหญ่ เข้ามาบดเบียดกาดงัว เพราะหลักการธุรกิจ จะต้องเพิ่มขนาดกิจการ เพิ่มทุน และเพิ่มกำไร ขยายตัวไม่มีสิ้นสุด.