Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

ผมสืบค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ได้ความว่า ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระเจ้าเมืองแก้วหรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราชหรืออีกพระนามคือพระเจ้าติลกปนัดดาธิราชกษัตริย์รัชกาลที่ 14 แห่งราชวงศ์มังราย ที่ครองอาณาจักรล้านนา ได้โปรดให้สร้างพระเจ้าเก้าตี้อองค์นี้ขึ้น ในปี พ.ศ.2048 จึงสำเร็จบริบูรณ์ องค์พระมีที่ต่อ 8 แห่ง และในปี พ.ศ.2052 จึงได้มีการชักพระพุทธรูปปฏิมากรองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบุบผาราม(วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน)


      
ศาสตราจารย์สรัสวดี  อ๋องสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ล้านนา” หน้า 170 ระบุว่า “พญาแก้วได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ คือ “พระเจ้าเก้าตื้อ” ในปี พ.ศ.2059 เมื่อเปิดหนังสือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” เขียนโดย พระยาประชากิจกรจักร ในหน้า 158 ระบุว่า พระเมืองแก้วประสูติ พ.ศ.2026 สวรรคต พ.ศ.2069 เมื่อพระชนมายุ 43 ปี และเปิดลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ในภาคผนวกหนังสือ “ประวัติศาสตร์ล้านนา” ของศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล ปรากฏว่า พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว)ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2038-2068

จึงกล่าวสรุปได้ว่า พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอกในปัจจุบัน สร้างในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว(หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แห่งราชวงศ์มังราย ระบุใน พ.ศ.2026-2069)หรือพระเมืองแก้วหรือพระติลกปนัดดาธิราชกษัตริย์รัชกาลที่ 14 โดยสร้าง พระเจ้าเก้าตื้อในปี พ.ศ.2059 ส่วนพระประธานในวิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)ที่เรียกนามว่า “พระเจ้าเก้าตื้อ”นั้น ไม่ใช่องค์ที่พระเจ้าเมืองแก้วสร้าง เพราะหลักฐานยืนยันว่า พระองค์สร้างพระเจ้าเก้าตื้อที่ประดิษฐาน ณ วัดสวนดอก เชียงใหม่ องค์เดียวเท่านั้น จึงสันนิษฐานได้เพียงว่า องค์ที่ประดิษฐานในวิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)เป็นองค์จำลอง และสร้างโดยยึดพุทธลักษณะจากองค์จริงที่วัดสวนดอก จึงเป็นที่มาของการไปสู่คำตอบว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)คงสร้างในปี พ.ศ.เดียวกับพระเจ้าเก้าตื้อของวัดทุ่งแป้ง หรืออาจสร้างหลังเล็กน้อย จึงอนุมานว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)ถูกสร้างขึ้นพร้อมพระเจ้าเก้าตื้อองค์จำลอง คือใน พ.ศ.2059 จึงเป็นข้อยุติได้ว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)และพระเจ้าเก้าตื้อองค์จำลอง ที่เป็นพระประธานในวิหาร มีอายุ 496 ปีในปัจจุบัน(ปัจจุบันเป็น พ.ศ.2555)

มีข้อสงสัยอีกประการหนึ่ง ที่หน้าบัน(จั่ว)วิหารวัดทุ่งแป้ง มีลวดลายเป็นรูปต่างๆแทนศิลปะแห่งยุคสมัย มีลายเด่นที่สำคัญลายหนึ่งเรียกว่า “ลายเมฆไหล” มีผู้มาเยี่ยมชมวัดท่านหนึ่งบอกว่าเป็นลายของจีน มีอายุเป็นพันๆปี จึงเกิดการขัดแย้งกับข้อมูลที่สรุปไว้เบื้องต้นว่า วิหารวัดทุ่งแป้งมีอายุได้ 496 ปี ในปัจจุบัน(ปัจจุบันเป็น พ.ศ.2555)จริงหรือ ผู้ค้นคว้าได้ไปสืบค้นเกี่ยวกับ “ลายเมฆไหล” จากอินเทอร์เน็ต จากหัวเรื่องที่ค้น ศิลปะสถาปัตย์” ได้อธิบายว่า

“ลายปูนปั้นรูปชื่อดอกไม้ และก้านเปลวทำเป็นลายเมฆไหล ประดับฉากหลังของเทวดายืนประนมมือ ที่ผนังสถูปเจดีย์เจ็ดยอดแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างลวดลาย ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจีน ซึ่งแฝงเข้ามาในรูปเครื่องลายครามจีน ในสมัยราชวงศ์หงวน(ประมาณ พ.ศ.1803-1991)และราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง(ประมาณ พ.ศ.1911-2187) แต่ล้านนาได้นำมาดัดแปลงจนกลายเป็นแบบอย่างเฉพาะตัว(ในภาพประกอบจะเห็นลายน้ำไหลคล้ายเชือกสีเหลืองขดตัวขึ้นลง
แถวหนึ่ง)

พิจารณาปีพุทธศักราชที่สร้างวิหารและพระประธานนามว่าพระเจ้าเก้าตื้อองค์ ที่สอง ซึ่งเป็นองค์จำลองที่สร้างในปี พ.ศ.2059 จะตรงกับสมัยราชวงศ์หมิง จึงกล่าวได้ว่า “ลายเมฆไหล” ที่หน้าวิหารวัดทุ่งแป้ง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแบบล้านนา ซึ่งได้มาจากอิทธิพลราชวงศ์หมิงด้วยประการฉะนี้.
                    
                                  ..............................................................................
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เสียงร้องเพลงดังขึ้นพร้อมกับอิเล็กโทน แต่ยังไม่ปรากฏตัวผู้ร้อง เร้าใจผู้ชมให้อยากเห็นหน้ายิ่งนัก ครู่เดียว   บนเวทีปรากฏร่างผู้ชาย 2 คน หญิง 2 คน เดินออกมาจากหลังเวที คนแรกเดินถือไมค์ร้องนำออกมา แนวเพลง “พรศักดิ์ ส่องแสง” กล่อมผู้ชมด้วยเพลงยอดฮิตในอดีต “เมียเด็ก” เสียงดีพอใช้ได้ทีเดียว เพ่งดูชัดๆเป็นหัวหน้าคณะช่างซอ สิงห์คำนั่นเอง ยังคงสวมชุดเดิม ช่างซออีก 3 คนเต้นเป็นหางเครื่อง สะบัดแข้งขาหมุนตัวพอใช้ได้ ช่างซอหญิงทั้ง 2 คน เปลี่ยนนุ่งกางเกงขาสั้นสีขาว เสื้อแขนกุดสีสดใส …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผู้ใหญ่บ้านเดินมาหน้าเวที   ยื่นใบแดงให้ฝ่ายชาย 1 ใบ   ฝ่ายหญิงอีก 1 ใบ   ผู้รับก้มไหว้ในท่าที่คิดว่าสวยที่สุด   ยังไม่พอ   ผู้ขับซอทั้ง 4 คน ประกอบด้วย   สิงห์คำ   แจ่มจันทร์   ก้าน   ผ่องพรรณ   คนหลังนี่เนาวรัตน์จ้องดูเธอมากกว่าใคร   เธอสวยทันสมัยถูกใจมาก   ทุกคนช่วยกันขับซออ้อนรายต่อไป   มีรายชื่อในสมองมากมาย   รวมทั้งในกระดาษและที่มีคนกระซิบบอกอีกหลายชื่อ   เป็นช่วงเวลาเป็นเงินเป็นทองของพวกเขา  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ใครบ้างไม่ชอบ ความสวยงาม คนสวยคนหล่อ ดวงอาทิตย์ขึ้น ทะเลหมอกยอดดอย อาหารอร่อย กาแฟรสเข้ม ทะเลกับหาดทราย สวนดอกไม้นานาพันธุ์   เสียงนกร้อง น้ำตกสาดซัดหินผา    สายลมต้องใบไม้ผะแผ่ว ระฆังชายคาโบสถ์วะแว่ว และเสียงมนุษย์ที่ขับขานเป็นท่วงทำนองเสียงเพลง ผมชอบฟังเพลงตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงเมื่อเรียนชั้นประถมศึกษา พอโตก็ร้อง เคยร้องกับวงดนตรีครูดอย ชื่อวง “สนเกี๊ยะ” คนร้องกับดนตรีไปคนละทาง เรียกว่าร้องไม่เป็นสรรพรส ทำให้นักดนตรีวุ่นวายทั้งวง เขาคงกลัวจะเสียชื่อ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ความหนาวเย็นแห่งฤดูหนาว จากไปโดยไม่ล่ำลา ลมร้อนพัดเข้ามาแทน แม้ไม่เชื้อเชิญ ระหว่างรอยต่อปลายกุมภาพันธ์ ได้ยินเสียงนก “ปิ้ดจะลิว”(นกกรงหัวจุก) ส่งเสียง “ปิ้ดจะลิวๆ” ตอนเช้าตรู่ ยังไม่เห็นตัวเสียงมาก่อน นกจี๋เจี๊ยบ(นกกางเขน)ส่งเสียงแหลมสูงเจื้อยแจ้วประชัน จักจั่นเป็นฝูงส่งเสียงแซ่สนั่นที่ต้นสักข้างบ้าน ไม่เห็นตัวอีกเช่นกัน เหมือนนักร้องลูกทุ่งดัง ระดับหัวหน้าวง ต้องร้องอยู่หลังม่านเวทีสักท่อนหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยเดินตัวตรงมาดเท่ในชุดสากล ปรากฏตัวต่อมิตรรักแฟนเพลง น้ำแม่ขานที่คั่นระหว่างบ้านทุ่งแป้ง(อำเภอสันป่าตอง) …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พอทราบข่าว ผลการประกวดภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2553 ณ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บิช เมื่อค่ำวันที่ 6 มีนาคม 2554 ว่า ผู้ได้รับรางวัล ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เป็นสาวน้อยวัย 18 ปี หน้าตาใสๆ น่ารัก ชื่อ “หนูนา” หนึ่งธิดา โสภณ(160 ซ.ม./44 กก.) จากหนังเรื่อง “กวน มึน โฮ” เธอสามารถทำคะแนนนำสาวพลอย เฌอมาลย์ สาวสวยเข้มฝีมือจัดจ้าน ที่แสดงเรื่อง “ ชั่วฟ้าดินสลาย” จากบทประพันธ์ของ “เรียมเอง” หรือ มาลัย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมสูดปากเบาๆ มันแสบตาแทบลืมไม่ขึ้น น้ำตาเริ่มไหล “ลุงขยับหน้าเข้ามาใกล้อีกนิด ให้คางวางบนแผ่นพลาสติก หน้าผากชิด นั่งนิ่งๆนะครับ.” หมอหนุ่มเริ่มหมุนกล้องที่ติดกับส่วนที่ผมวางคาง ปรับกล้องจนผมรู้สึกว่าผิวเลนซ์กล้องมันแทบติดดวงตา แสงไฟสว่างจ้าเข้มลำเล็กพุ่งเข้าดวงตา หมอตรวจทั้งสองข้าง ปากก็พูดพึมพำ “ความดันตาปรกติ” หมอปรับระยะกล้องตรวจใหม่ บอกผมให้วางคางบนแผ่นพลาสติก ส่วนหน้าผากชิดติดกับแผ่นเหล็กข้างหน้า ฝ่ามือผมทั้งคู่วางบนโต๊ะเพื่อทรงตัว หมอส่องกล้องตรวจตาทีละข้างอีกรอบ ให้ผมกลอกตามองข้างบน แล้วมองล่าง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล   รอหมอนานๆน่าเบื่อ ส่วนใหญ่นั่งเงียบที่แถวเก้าอี้ หูคอยฟังนางพยาบาลเรียกพบหมอ ส่วนตานั้นจับจ้องดูความเคลื่อนไหวของนางพยาบาล บางคนฆ่าเวลาด้วยการพูดคุยกับคนข้างเคียง ได้ยินนางพยาบาลที่ประจำห้องตรวจรียกชื่อคนไข้เป็นระยะๆ แล้วผายมือให้นั่งรอคิวที่เก้าอี้ข้างประตูห้องตรวจ นั่งรอหมอนานๆไม่รู้ทำอะไร ผมฆ่าเวลาโดยมองดูสิ่งรอบๆตัวให้สบายตา ดูพยาบาลชุดขาวสะอาด ผิวขาวสะอาดสะอ้าน คนนี้หน้าสวย คนนั้นตาสวย คนนี้พูดเพราะ ทุกคนเคลื่อนไหวตลอด บ้างก้มหน้าพิมพ์ข้อมูลที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถยนต์ จากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตอง เวลา 7.32 น หมอนัดตรวจตา ที่โรงพยาบาลสวนดอก(มหาราช) เชียงใหม่ เป็นช่วงเวลาเร่งรีบของทุกคน บ้างรีบไปทำงาน บ้างรีบไปเรียนหนังสือ ถนนจึงมากมายด้วยรถรา พอวิ่งเข้าเขตตัวอำเภอสันป่าตอง รถเริ่มติด และติดหนาแน่นขึ้นเมื่อวิ่งเข้าเขตอำเภอหางดง เริ่มเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ รถจักรยานยนต์วิ่งกันหวาดเสียว วิ่งเร็ว แซงซิกแซกซ้ายขวา รถวิ่งเลียบตามคูเมืองด้านนอก ไปช้าๆ ผ่านหน้าโรงพยาบาลสวนดอกแล้ว เคลื่อนตัวช้ามาก ถนนมีเท่าเดิม รถมากขึ้นทุกๆวัน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมขับรถออกจากบ้าน คุณแม่จันทร์สม สายธารา เลี้ยวซ้ายปากซอย มุ่งตรงกลับบ้าน อดนึกถึงคำพูดของ พ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ ประเภทเพลงพื้นบ้าน-ขับซอ ปี พ.ศ. 2538 ที่ปรากฏในอินเตอร์เน็ต หัวข้อ “ ซอพื้นบ้านล้านนา คุณค่าแห่งดนตรีที่ถูกเมิน” “ ยุคนี้ไม่ใช่ยุคของซออีกต่อไป ในอดีตซอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในหมู่บ้านล้านนาไปที่ไหนๆก็มีซอ ซอสมัยก่อนได้เงินหลักร้อย ซึ่งถือว่าสูงมากในเวลานั้น แตกต่างจากตอนนี้ที่มีเด็กรุ่นใหม่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่สนใจจะเรียนซอกันอย่างจริงจัง กลุ่มคนฟังในปัจจุบัน …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ลองอ่านความหมาย คำว่า “รัก” ของนักเขียนเอเชียชาวญี่ปุ่น เจ้าของรางวัลโนเบลปี ค.ศ.1968 เขาคือ ยาสึนาริ คาวาบาตะ กล่าวในงานเขียนของเขาชื่อ “เสียงแห่งขุนเขา”