Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

ผมสืบค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ได้ความว่า ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระเจ้าเมืองแก้วหรือพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราชหรืออีกพระนามคือพระเจ้าติลกปนัดดาธิราชกษัตริย์รัชกาลที่ 14 แห่งราชวงศ์มังราย ที่ครองอาณาจักรล้านนา ได้โปรดให้สร้างพระเจ้าเก้าตี้อองค์นี้ขึ้น ในปี พ.ศ.2048 จึงสำเร็จบริบูรณ์ องค์พระมีที่ต่อ 8 แห่ง และในปี พ.ศ.2052 จึงได้มีการชักพระพุทธรูปปฏิมากรองค์นี้ เข้าประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบุบผาราม(วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน)


      
ศาสตราจารย์สรัสวดี  อ๋องสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ล้านนา” หน้า 170 ระบุว่า “พญาแก้วได้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ คือ “พระเจ้าเก้าตื้อ” ในปี พ.ศ.2059 เมื่อเปิดหนังสือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” เขียนโดย พระยาประชากิจกรจักร ในหน้า 158 ระบุว่า พระเมืองแก้วประสูติ พ.ศ.2026 สวรรคต พ.ศ.2069 เมื่อพระชนมายุ 43 ปี และเปิดลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ในภาคผนวกหนังสือ “ประวัติศาสตร์ล้านนา” ของศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล ปรากฏว่า พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว)ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2038-2068

จึงกล่าวสรุปได้ว่า พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอกในปัจจุบัน สร้างในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว(หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แห่งราชวงศ์มังราย ระบุใน พ.ศ.2026-2069)หรือพระเมืองแก้วหรือพระติลกปนัดดาธิราชกษัตริย์รัชกาลที่ 14 โดยสร้าง พระเจ้าเก้าตื้อในปี พ.ศ.2059 ส่วนพระประธานในวิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)ที่เรียกนามว่า “พระเจ้าเก้าตื้อ”นั้น ไม่ใช่องค์ที่พระเจ้าเมืองแก้วสร้าง เพราะหลักฐานยืนยันว่า พระองค์สร้างพระเจ้าเก้าตื้อที่ประดิษฐาน ณ วัดสวนดอก เชียงใหม่ องค์เดียวเท่านั้น จึงสันนิษฐานได้เพียงว่า องค์ที่ประดิษฐานในวิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)เป็นองค์จำลอง และสร้างโดยยึดพุทธลักษณะจากองค์จริงที่วัดสวนดอก จึงเป็นที่มาของการไปสู่คำตอบว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)คงสร้างในปี พ.ศ.เดียวกับพระเจ้าเก้าตื้อของวัดทุ่งแป้ง หรืออาจสร้างหลังเล็กน้อย จึงอนุมานว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)ถูกสร้างขึ้นพร้อมพระเจ้าเก้าตื้อองค์จำลอง คือใน พ.ศ.2059 จึงเป็นข้อยุติได้ว่า วิหารวัดทุ่งแป้ง(วัดมงคล)และพระเจ้าเก้าตื้อองค์จำลอง ที่เป็นพระประธานในวิหาร มีอายุ 496 ปีในปัจจุบัน(ปัจจุบันเป็น พ.ศ.2555)

มีข้อสงสัยอีกประการหนึ่ง ที่หน้าบัน(จั่ว)วิหารวัดทุ่งแป้ง มีลวดลายเป็นรูปต่างๆแทนศิลปะแห่งยุคสมัย มีลายเด่นที่สำคัญลายหนึ่งเรียกว่า “ลายเมฆไหล” มีผู้มาเยี่ยมชมวัดท่านหนึ่งบอกว่าเป็นลายของจีน มีอายุเป็นพันๆปี จึงเกิดการขัดแย้งกับข้อมูลที่สรุปไว้เบื้องต้นว่า วิหารวัดทุ่งแป้งมีอายุได้ 496 ปี ในปัจจุบัน(ปัจจุบันเป็น พ.ศ.2555)จริงหรือ ผู้ค้นคว้าได้ไปสืบค้นเกี่ยวกับ “ลายเมฆไหล” จากอินเทอร์เน็ต จากหัวเรื่องที่ค้น ศิลปะสถาปัตย์” ได้อธิบายว่า

“ลายปูนปั้นรูปชื่อดอกไม้ และก้านเปลวทำเป็นลายเมฆไหล ประดับฉากหลังของเทวดายืนประนมมือ ที่ผนังสถูปเจดีย์เจ็ดยอดแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างลวดลาย ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจีน ซึ่งแฝงเข้ามาในรูปเครื่องลายครามจีน ในสมัยราชวงศ์หงวน(ประมาณ พ.ศ.1803-1991)และราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง(ประมาณ พ.ศ.1911-2187) แต่ล้านนาได้นำมาดัดแปลงจนกลายเป็นแบบอย่างเฉพาะตัว(ในภาพประกอบจะเห็นลายน้ำไหลคล้ายเชือกสีเหลืองขดตัวขึ้นลง
แถวหนึ่ง)

พิจารณาปีพุทธศักราชที่สร้างวิหารและพระประธานนามว่าพระเจ้าเก้าตื้อองค์ ที่สอง ซึ่งเป็นองค์จำลองที่สร้างในปี พ.ศ.2059 จะตรงกับสมัยราชวงศ์หมิง จึงกล่าวได้ว่า “ลายเมฆไหล” ที่หน้าวิหารวัดทุ่งแป้ง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแบบล้านนา ซึ่งได้มาจากอิทธิพลราชวงศ์หมิงด้วยประการฉะนี้.
                    
                                  ..............................................................................
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  อ่านกวีนิพนธ์ ของโอมาร์ คัยยัม กวีชาวเปอร์เซียหรืออิหร่าน โดยแคน สังคีต แปลเป็นภาษาไทย ได้เนื้อหาเกี่ยวกับความรักว่า                                                     อันความรัก คืออะไร          ควรใคร่คิด          …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เนาวรัตน์กวาดสายตา เข้าไปในตัวบ้านไม้ชั้นเดียว พื้นบ้านต่ำกว่าระดับถนนคอนกรีตเล็กน้อย   ข้างฝามีปฏิทิน มีรูปคณะซอ   มีรูปแม่จันทร์สม สายธารา   นั่งคู่กับผู้ชายวัยใกล้เคียงกัน   เนาวรัตน์คาดคะเนว่า คงเป็นครูคำผาย นุปิง ทั้งคู่อยู่ในชุดคนเมือง   ข้างหลังนั่งล้อมวง   สวมเสื้อหม้อฮ่อม ปี่ 3 คน ซึง 1 คน เนาวรัตน์มองดูที่หน้าบ้านริมถนน มีสิ่งก่อสร้าง คล้ายโรงครัวเล็กๆ   มีป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดข้างฝา   บอกชื่อแม่จันทร์สม สายธารา   ที่อยู่  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เสียงปี่ผสมเสียงซึงดังขึ้น  รับกับเสียงผู้ขับซอ   เสียงปีและซึงผสมกลมกลืนมีทั้งหวานแหลมและนุ่มนวล   ก่อเกิดบรรยากาศความเป็นชาวเหนือขึ้นมาทันที   ผู้ขับซอชายนั่งขัดสมาธิ มือถือไมโครโฟนไร้สาย ผู้หญิงนั่งพับเพียบเคียงกัน หันหน้าอวดผู้ชม   ยามผู้ชายขับซอ   ผู้หญิงเอียงตัวไปมา มือไม้ขยับรับเสียงดนตรี   ทำนองดนตรีนั้นเนาวรัตน์ฟังไม่ออก เป็นเพลงอะไร สมัยเด็กๆเขาเข้าใจว่า คนเป่าปี่และคนดีดซึง คงเล่นเพลงเดียวตลอดงาน เพราะฟังทีไรก็เหมือนเดิมทุกที …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เนารัตน์ข้าราชการบำนาญ นั่งเก้าอี้พลาสติกของวัด   ดูซอที่ตั้งเวทีข้างประตูวัด สถานที่ซอเป็นยกพื้นขึ้นสูงราวคอผู้ใหญ่ ปูพื้นด้วยไม้กระดาน ล้อมสามด้านด้วยไม้ไผ่ลำโตขนาดข้อมือเด็ก ด้านละ 2 ต้น คล้ายเชือกกั้นเวทีมวย อีกด้านมีบันไดพาด สำหรับให้คณะซอปีนขึ้นไป สถานที่ขับซอเรียกว่า “ผามซอ” พื้นจะปูด้วยเสื่อ ความจริงเนาวรัตน์ไม่อยากมาชมเท่าไร   อยากได้เรื่องราวเกี่ยวกับด้านบันเทิงของชาวเหนือ นำไปเขียนลงเวบเพื่อเผยแพร่ หรือส่งไปยังหนังสือที่เขาต้องการ...ในวัยเด็กย่าบอกว่า ซอสนุกมาก …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผู้ใหญ่บ้านได้พูดเสริมต่อจากเจ้าอาวาส “กรรมการวัด ได้มีการประชุมหารือกันก่อนแล้วแล้วรอบหนึ่ง มีเจ้าอาวาสเป็นประธาน คณะกรรมการวัด มีข้อคิดความเห็นว่า จะขอความร่วมมือร่วมใจจากศรัทธาญาติโยมทุกคน ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อจัดงานบวช ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 โดยจะขอเก็บหลังคาละ 140 บาท เงิน 40 บาทจะเป็นค่าจัดทำอาหารกลางวัน  เลี้ยงศรัทธาทั้งหมู่บ้าน ส่วนอีก 100 บาท จะเป็นค่าทำบุญและค่าจ้างซอมาเล่นเฉลิมฉลอง จึงอยากถามหมู่เฮาชาวบ้านว่า  จะเห็นด้วยไหม ?” มีเสียงพึมพำอึงในวิหาร …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เสียงเคาะลำโพงปลายเสาไฟฟ้า   ในหมู่บ้านทุ่งแป้ง   ดังขึ้น 3 ครั้ง แล้วมีเสียงพูด “ ฮัลโหล !   ฮัลโหล !   ครับ !   ขอประชาสัมพันธ์ วันนี้กินข้าวแลงแล้ว   เวลาประมาณ 1 ทุ่มเศษ   ขอเชิญทุกบ้านทุกหลังคาเรือน   มาประชุมพร้อมกันที่วัดทุ่งแป้งนะครับ มีหลายเรื่องที่จะประชุมหารือกัน   อย่าได้ขาดกันเน้อ   บอกต่อๆกันไปด้วยเน้อครับ...ขอขอบคุณครับ”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
   
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ได้ยินเสียงหมอเรียก เราทั้งคู่รีบเข้าไป เห็นเจ้าเหมียวนอนตะแคงนิ่งเหมือนท่อนไม้ ลิ้นแดงเล็กห้อยคาปาก หมอบอกว่า เอาลิ้นมันคาปากไว้ หากลิ้นค้างในปากขณะมันสลบ ลิ้นอาจจุกปากหายใจไม่ออกอาจตายได้ มันจะสลบสัก 1 ชั่วโมง ลุงกับป้าช่วยกันอุ้มมันขึ้นรถ   วางมันบนเบาะหลังที่มีผ้าขนหนูรอง พอถึงบ้านอุ้มมันไปวางราบบนม้ายาวที่มีหมอนรอง ลิ้นยังคาปากเหมือนเดิม อดนึกไม่ได้ว่าตอนแมว
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมมองผ่านทางเดิน ไปห้องครัว เห็นแมวต่างบ้าน เดินย่องเงียบกริบออกมา เจ้าตัวนี้มาขโมยอะไรกินบ่อยๆ ผมหมายตาจะเล่นงานมันหลายครั้ง แต่มันรอดปลอดภัยทุกที ไม่ทำร้ายอะไรมากมายหรอก จะหาไม้เล็กๆไม่ทันแล้ว เราก็นักฟุตบอล ใช้เท้าเคลื่อนไหวประจำ เตะได้ทั้งซ้ายขวา ไม่รู้จักศูนย์หน้าทีมโรงเรียนดังซะแล้ว จะหลบซ้ายขวาเจอหมด  ฮะฮ่า !..เสร็จแน่เจ้าเหมียว แมวขาวดอกลายเดินกลับออกมาใกล้ถึงมุมห้องแล้ว ผมโผล่พรวดออกไป มันตกใจยืนตลึง ผมส่งเสียงข่มขวัญ มันตั้งหลักได้ขยับวิ่งไปทางขวาแล้วแวบมาทางซ้าย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      พออากาศเริ่มเย็น เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว นกเอี้ยงที่เคยหายไป เริ่มกลับมาส่งเสียงแก๋ๆ ตามยอดต้นโพธิ์ข้างวัด ส่วนนกเขาอยู่ประจำถิ่นในหมู่บ้าน ฤดูไหนผมก็ยังเห็นนกเขาเสมอ เดินไปมาตามถนนบ้าง เกาะสายไฟบ้าง บ้านนี้นกเขามากจริงๆ คนแปลกหน้าเข้ามา จะได้ยินเสียงนกเขาคูระงมหมู่บ้าน คงนึกว่าหมู่บ้านนี้เลี้ยงนกเขา ความจริงไม่เห็นใครเลี้ยงนกเขาเลย มันเป็นนกที่หากินเอง ว่างจากหาอาหาร มันจะคูเสียงขับกล่อมผู้คนชาวทุ่งแป้ง ขณะผมพิมพ์หนังสือ ยังได้ยินเสียงคูทุ้มๆ มาจากทิศเหนือ ละแวกบ้านน้าบุญแว่วมา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  แปรงฟันล้างหน้าเสร็จเรียบร้อย ผมกลับมายืนดูที่หน้าต่างดังเดิม ฝูงนกยางยังคงบินตามกันเต็มท้องฟ้า ไม่รู้จักหมดสิ้น อากาศเริ่มเย็น ลมเย็นพัดมาจากทุ่งหน้าบ้านเอื่อยๆ บอกสัญญาณย่างเข้าสู่ฤดูหนาว นกมากมายไม่รู้มันมาจากไหน มาไกลแค่ไหน บ้างว่ามันมาจากไซบีเรีย จีน มองโกล หิมาลัย มันเป็นนกปากห่าง  นกยาง ฯลฯ จำนวนเป็นแสนตัวทีเดียว สิ่งที่ตามมาคือโรคติดต่อ ต้องระวังไข้หวัดนก ที่มันนำมาฝากเจ้าของบ้าน