Skip to main content

                                                           
                                                                                                     ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง


ถึง พ.ศ. 2316 

นับเวลาผ่านไปได้ 3 ปี  มีผู้ศรัทธากราบไหว้พระดอน  หรือครูบาดอนทั่วบ้านทั่วเมือง  ชื่อเสียงยังขจรขจายไปยังหัวเมืองต่างๆในล้านนา  ผู้คนเมืองฝางอยู่กันอย่างสงบสุข  ทำมาหากินตามปรกติ  ปราศจากการรุกรานจากพม่า  สาเหตุมาจากภายในเมืองพม่าไม่สงบเรียบร้อย  มีการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างกษัตริย์กับเหล่าขุนนางและเหล่าทหาร  และพม่ายังต้องพะวงกับการแข็งเมืองของเมืองประเทศราชทั้งหลาย  รวมทั้งการรวมกำลังของชนกลุ่มน้อยต่อต้านพม่า  ที่มีมากมายหลายกลุ่ม  เมืองฝางจึงปลอดภัยจากพม่า  กองทัพทหารโสร่งด้วยเหตุนี้

ที่วัดพระบาทอุดมจึงมีคนเดินทางมากราบไหว้ทำบุญ  รวมทั้งบูชาของดีของขลังไม่ขาด  ที่ขาดไม่ได้เป็นการไปกราบครูบาดอนที่ใครๆเชื่อว่าเป็นตนบุญมาเกิด  ได้พบเห็นพระกับตา  ยิ่งได้สนทนาด้วย  จะเป็นการมาวัดพระบาทอุดมที่ครบถ้วนสมบูรณ์สมใจทีเดียว  เงินและสิ่งของที่ผู้แสวงบุญมาถวายวัด  พระดอนถวายเจ้าอาวาสต่อจนหมดสิ้น  พระเจ้าอาวาสเล่าหาได้ได้เก็บไว้ส่วนตัวไม่  นำมาประชุมหารือกรรมการวัดรวมทั้งศรัทธาญาติโยมทุกหลังคาเรือน  เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสืบพระศาสนา  การสร้างสิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อผู้คนในบ้านเมือง  บางส่วนนำมาสร้างศาลาและกุฏิเพิ่ม  ซ่อมแซมโบสถ์วิหารที่เริ่มชำรุดทรุดโทรม  บางสวนนำมาสร้างห้องอบสมุนไพรรักษาโรค  โดยไม่คิดค่ารักษา  ขอเพียงบริจาคตามกำลังศรัทธาเท่านั้น  ไม่มีการบังคับกะเกณฑ์  ผู้เจ็บป่วยยากไร้ทางวัดยินดีรักษาโดยไม่คิดเงินทอง  ด้วยเหตุฉะนี้ วัดพระบาทอุดมจึงกลายเป็นที่พึ่งทางใจและกลายของคนทั้งเมืองฝางและทั่วไป  พระเจ้าอาวาสกล่าวไว้ดังคำสอนอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้าไว้ว่า
                                                                    
               “ ทุกผู้ทุกคนมาจากความว่างเปล่า  เราเกิดมาบ่มีอะหยังติดตัว 
             ตายไปก็เช่นกัน  ใยเราต้องมายึดติดกับทรัพย์สินเงินทอง  อันเป็นทรัพย์นอกกาย 
             ทำบุญทำความดีต่อไปเถิด  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  เอื้อเฟื้อต่อกัน  มีอะหยังแบ่งกัน 
              ผักแคบ(ผักตำลึง)  ผักปั๋ง(ผักปลัง)  ที่ขึ้นตามรั้วบ้าน  เอิ้น(ตะโกน)ขอกัน 
              ก็เอ่ยปากหื้อเขาไปแกงกินได้  ดังคำพระพุทธเจ้าว่า  ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง 
              การทำบุญทำทานนั้นบ่หายไปไหน  ชาตินี้บ่ได้รับผลกรรมดี  ชาติหน้าภพหน้า
              ต้องได้รับเป็นแน่นอน  เงินทองที่ศรัทธาญาติโยมบริจาค  อาตมาและพระดอน
              ก็บ่ได้เก็บไว้ใช้ส่วนตน  ได้นำมาสร้างที่อบสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บไม่เลือก
               ยากดีมีจน  บางส่วนนำไปสร้างกุฏิเพิ่ม  ซ่อมโบสถ์วิหารพ่อง  เป็นการสืบทอด
              พระศาสนา  บุญนั้นเชื่อเต๊อะ  ใครทำใครคนนั้นก็ได้รับ  บ่ช้าก็เร็ว  เป็นสัจธรรมยิ่งแล้ว.”

                                           ..................................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …