Skip to main content

เช้าตรู่ของวันอากาศดี

เสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้าน


พอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้า

เจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้า


ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”


เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า ทางสหกรณ์ฯ จะทำการสำรวจเรื่องความพอเพียง เพื่อจะได้จัดทำโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้แก่สมาชิก โดยเน้นเรื่องความพอเพียง และการพึ่งตนเอง

 

แบบสอบถามนั้นอยู่ไม่กี่คำถาม ไม่ยากต่อการตอบ คำถามส่วนใหญ่ถามเรื่องความรู้ ความเข้าใจเรื่องความพอเพียง คำถามบางข้อเป็นเรื่องการครอบครองที่ดินและการประกอบอาชีพ คำถามบางข้อถามเรื่องการกู้ยืมที่ทำกับสหกรณ์ฯ


จากนั้น เจ้าหน้าที่ก็พูดถึงหัวข้อการประชุมในวันนี้ซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มเกษตรกร แนวคิดเรื่องการพึ่งตนเอง โครงการที่สหกรณ์ฯ คาดว่าจะดำเนินการ และการแจ้งประเภทของที่ดินในครอบครองของตน เพื่อที่สหกรณ์ฯ จะได้จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล

...ชาวบ้านน่าจะรู้และเข้าใจเรื่องความพอเพียงกันดีอยู่แล้ว เพราะชาวบ้านอยู่กันแบบพอเพียงมาแต่ไหนแต่ไร แต่ข้าราชการอย่างเราๆ พอเพียงไม่ได้ เพราะข้าราชการมีสังคม เลยต้องจ่ายเยอะ อยากจะพอมันก็พอไม่ได้เสียที...”

คนที่เป็นหัวหน้า พูดอย่างยอมรับความจริง เรียกเสียงฮาจากชาวบ้าน


หัวหน้าเล่าว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางสหกรณ์ฯ ก็ได้จัดโครงการไปครั้งหนึ่งแล้ว โดยพาชาวบ้านส่วนหนี่งไปดูงานที่จังหวัดใกล้ๆ และจัดให้มีการอบรมเรื่องการทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ด้วยตนเอง ซึ่งดำเนินไปด้วยดี มาคราวนี้ก็จะจัดโครงการต่อเนื่องเพื่อขยายความรู้ความเข้าใจออกไปอีก


หัวหน้าถามว่า

...ใครอยากจะไปดูงาน หรืออยากจะเข้าอบรมตามที่สหกรณ์ฯ จัดบ้าง? ...”

ชาวบ้านยกมือกันพรึ่บ

เจ้าหน้าที่ยิ้มหน้าบาน

ชาวบ้านแอบกระซิบกัน

...ใครก็อยากไปทั้งนั้นแหละ เที่ยวฟรี กินฟรี…”

 

คุยเรื่องความพอเพียงได้ประมาณสิบห้านาที หัวหน้าก็ให้ประธานกับรองประธานกลุ่มเกษตรกรของหมู่บ้านขึ้นมาพูดเรื่องการรวมกลุ่ม,ผลประโยชน์ของการรวมกลุ่ม และ การกู้ยืมปุ๋ย-ยา


แล้วประธานกลุ่มก็พูดเข้าเรื่อง การกู้-ยืมเงินสหกรณ์ อันเป็นเป้าประสงค์หลักของการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ประธานฯ พูดเรื่องหลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของสมาชิกเก่า-สมาชิกใหม่ ระเบียบบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ


เมื่อประธานชี้แจงจบก็มีชาวบ้านคนหนึ่งลุกขึ้นถาม

...มีคนเขามาคุยว่า เขาเข้าเป็นสมาชิกแค่ปีเดียวก็กู้ได้ดอกเบี้ยแค่ 7 เปอร์เซนต์ต่อปี ฉันก็อยากถามว่าทำไมเขาถึงได้ ฉันเป็นสมาชิกมาตั้งหลายปี ยังไม่ได้ดอกเบี้ย 7 เปอร์เซนต์เลย...”


หัวหน้ารีบขอไมโครโฟนจากประธานมาชี้แจง

...เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ คนที่กู้ได้ดอกเบี้ย 7 เปอร์เซนต์ต้องเป็นลูกค้าชั้นดีเท่านั้น คือต้องเป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี กู้ไม่น้อยกว่าสามครั้งและส่งต้นส่งดอกครบถ้วนไม่เคยผิดนัด คือสหกรณ์ฯ เราจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ว่า...”


หัวหน้าอธิบายอีกยืดยาว ก่อนจะหันไปถามว่าเข้าใจหรือไม่ คนถามพยักหน้ารับแบบไม่ค่อยเต็มใจนัก

ใครมีอะไรจะถามอีกหรือเปล่า?” หัวหน้าถาม

คราวนี้ยกมือกันพรึ่บ

...ปีที่แล้วกู้เงินสหกรณ์มาลงทุนเลี้ยงหมู แต่หมูราคาตกขาดทุนไปหลายแสน ยังไม่มีเงินส่งสหกรณ์ฯ เลย ทำยังไงดี...” ป้าช้อย อดีตคนมีเงิน โอดครวญ

...ปุ๋ยตราหมีแดงที่สหกรณ์ฯ ให้กู้มาหว่านข้าว ปีที่แล้วหว่านแล้วข้าวออกรวงดกดี แต่มาปีนี้ ข้าวออกน้อยไปตั้งครึ่ง จะทำยังไงดี กลัวจะเป็นปุ๋ยปลอมนะเนี่ย...” ตาเหลิม ชาวนาเต็มขั้น โวยบ้าง

...ตอนแรกข้าวราคาดี ก็ทุ่มเต็มที่เลยกะว่าจะได้ปลดหนี้บ้าง ตอนนี้ราคาตกมาแล้ว กลัวจะขายข้าวแล้วไม่มีเงินใช้หนี้ สหกรณ์ฯ จะผ่อนผันหนี้ได้บ้างหรือเปล่าล่ะ ...” ลุงมั่น คนขยันถาม

ทีนี้ใครต่อใครก็มีคำถามอยากจะถามสหกรณ์ฯ บ้าง

ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นเรื่องการกู้ยืม และดอกเบี้ย

 

เป็นเวลาอีกกว่าสี่สิบห้านาทีที่เจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ ต้องช่วยกันชี้แจงเรื่องการกู้ยืม การชำระหนี้ การผ่อนผัน ฯลฯ แต่มีเรื่องต้องอธิบายมากมายเหลือเกิน หัวหน้าจึงตัดบทว่า ถ้าใครมีปัญหาต้องการคำชี้แจงก็ขอเชิญไปได้ที่ ที่ทำการสหกรณ์ฯ ตลอดเวลา


เมื่อจบการประชุมก็ใช้เวลาไปเบ็ดเสร็จชั่วโมงครึ่ง

ชาวบ้านช่วยกันเก็บเก้าอี้ เจ้าหน้าที่เก็บแบบสอบถาม

 

ศาลาว่างเปล่า เหลือแต่ตาผวนกับลุงใบ นั่งสูบยาเส้นคุยกัน

ปีนี้ได้กู้สหกรณ์ฯ หรือเปล่า” ลุงใบถาม

ตาผวนส่ายหน้า

ไม่กู้แล้ว...ข้าเพิ่งใช้หนี้หมดเมื่อปีที่แล้วนี่เอง”

แล้วจะทำอะไรต่อ”

ตาผวนหัวเราะหึๆ พ่นควันฉุย

ทำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นหนี้”

อยู่ว่างๆ ก็ไป...” ลุงใบชี้ไปทางที่ทำการสหกรณ์ฯ “เข้าโครงการพอเพียงกับเขาสิ ใครๆ เขาก็เข้ากัน ”

แล้วเอ็งไม่ไปเข้าโครงการกะเขาด้วยล่ะ”

ลุงใบส่ายหน้า

ลูกมันบอกให้หยุดทำได้แล้ว มันจะหาเลี้ยงเอง”

 

ตาผวน นิ่งคิดไปครู่หนึ่งก็หันมาถาม

เออ...ไอ้ที่ว่าพอเพียงนี่...หมายความว่า เราต้องพึ่งตัวเอง ต้องไม่ก่อหนี้ใช่หรือเปล่าวะ?”

ก็คงจะอย่างนั้น”

ตาผวนได้ฟังก็ขำก๊าก ลุงใบฉงน ถามว่าขำอะไร

มันจะพอเพียงกันได้ยังไง เมื่อกี้ สหกรณ์ฯ เขาก็มาส่งเสริมให้กู้ให้ยืม ไอ้ที่รวมกลุ่มกันนั้นก็หาเรื่องกู้ยืมทั้งนั้น แล้วที่สำคัญ...”

ตาผวนพูดไปหัวเราะไป

 

คนบ้านเราแต่ละคน...หนี้รุงรังยังกับลูกมะยม”

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…