Skip to main content

เช้าตรู่ของวันอากาศดี

เสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้าน


พอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้า

เจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้า


ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”


เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า ทางสหกรณ์ฯ จะทำการสำรวจเรื่องความพอเพียง เพื่อจะได้จัดทำโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้แก่สมาชิก โดยเน้นเรื่องความพอเพียง และการพึ่งตนเอง

 

แบบสอบถามนั้นอยู่ไม่กี่คำถาม ไม่ยากต่อการตอบ คำถามส่วนใหญ่ถามเรื่องความรู้ ความเข้าใจเรื่องความพอเพียง คำถามบางข้อเป็นเรื่องการครอบครองที่ดินและการประกอบอาชีพ คำถามบางข้อถามเรื่องการกู้ยืมที่ทำกับสหกรณ์ฯ


จากนั้น เจ้าหน้าที่ก็พูดถึงหัวข้อการประชุมในวันนี้ซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มเกษตรกร แนวคิดเรื่องการพึ่งตนเอง โครงการที่สหกรณ์ฯ คาดว่าจะดำเนินการ และการแจ้งประเภทของที่ดินในครอบครองของตน เพื่อที่สหกรณ์ฯ จะได้จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล

...ชาวบ้านน่าจะรู้และเข้าใจเรื่องความพอเพียงกันดีอยู่แล้ว เพราะชาวบ้านอยู่กันแบบพอเพียงมาแต่ไหนแต่ไร แต่ข้าราชการอย่างเราๆ พอเพียงไม่ได้ เพราะข้าราชการมีสังคม เลยต้องจ่ายเยอะ อยากจะพอมันก็พอไม่ได้เสียที...”

คนที่เป็นหัวหน้า พูดอย่างยอมรับความจริง เรียกเสียงฮาจากชาวบ้าน


หัวหน้าเล่าว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางสหกรณ์ฯ ก็ได้จัดโครงการไปครั้งหนึ่งแล้ว โดยพาชาวบ้านส่วนหนี่งไปดูงานที่จังหวัดใกล้ๆ และจัดให้มีการอบรมเรื่องการทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ด้วยตนเอง ซึ่งดำเนินไปด้วยดี มาคราวนี้ก็จะจัดโครงการต่อเนื่องเพื่อขยายความรู้ความเข้าใจออกไปอีก


หัวหน้าถามว่า

...ใครอยากจะไปดูงาน หรืออยากจะเข้าอบรมตามที่สหกรณ์ฯ จัดบ้าง? ...”

ชาวบ้านยกมือกันพรึ่บ

เจ้าหน้าที่ยิ้มหน้าบาน

ชาวบ้านแอบกระซิบกัน

...ใครก็อยากไปทั้งนั้นแหละ เที่ยวฟรี กินฟรี…”

 

คุยเรื่องความพอเพียงได้ประมาณสิบห้านาที หัวหน้าก็ให้ประธานกับรองประธานกลุ่มเกษตรกรของหมู่บ้านขึ้นมาพูดเรื่องการรวมกลุ่ม,ผลประโยชน์ของการรวมกลุ่ม และ การกู้ยืมปุ๋ย-ยา


แล้วประธานกลุ่มก็พูดเข้าเรื่อง การกู้-ยืมเงินสหกรณ์ อันเป็นเป้าประสงค์หลักของการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ประธานฯ พูดเรื่องหลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของสมาชิกเก่า-สมาชิกใหม่ ระเบียบบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ


เมื่อประธานชี้แจงจบก็มีชาวบ้านคนหนึ่งลุกขึ้นถาม

...มีคนเขามาคุยว่า เขาเข้าเป็นสมาชิกแค่ปีเดียวก็กู้ได้ดอกเบี้ยแค่ 7 เปอร์เซนต์ต่อปี ฉันก็อยากถามว่าทำไมเขาถึงได้ ฉันเป็นสมาชิกมาตั้งหลายปี ยังไม่ได้ดอกเบี้ย 7 เปอร์เซนต์เลย...”


หัวหน้ารีบขอไมโครโฟนจากประธานมาชี้แจง

...เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ คนที่กู้ได้ดอกเบี้ย 7 เปอร์เซนต์ต้องเป็นลูกค้าชั้นดีเท่านั้น คือต้องเป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี กู้ไม่น้อยกว่าสามครั้งและส่งต้นส่งดอกครบถ้วนไม่เคยผิดนัด คือสหกรณ์ฯ เราจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ว่า...”


หัวหน้าอธิบายอีกยืดยาว ก่อนจะหันไปถามว่าเข้าใจหรือไม่ คนถามพยักหน้ารับแบบไม่ค่อยเต็มใจนัก

ใครมีอะไรจะถามอีกหรือเปล่า?” หัวหน้าถาม

คราวนี้ยกมือกันพรึ่บ

...ปีที่แล้วกู้เงินสหกรณ์มาลงทุนเลี้ยงหมู แต่หมูราคาตกขาดทุนไปหลายแสน ยังไม่มีเงินส่งสหกรณ์ฯ เลย ทำยังไงดี...” ป้าช้อย อดีตคนมีเงิน โอดครวญ

...ปุ๋ยตราหมีแดงที่สหกรณ์ฯ ให้กู้มาหว่านข้าว ปีที่แล้วหว่านแล้วข้าวออกรวงดกดี แต่มาปีนี้ ข้าวออกน้อยไปตั้งครึ่ง จะทำยังไงดี กลัวจะเป็นปุ๋ยปลอมนะเนี่ย...” ตาเหลิม ชาวนาเต็มขั้น โวยบ้าง

...ตอนแรกข้าวราคาดี ก็ทุ่มเต็มที่เลยกะว่าจะได้ปลดหนี้บ้าง ตอนนี้ราคาตกมาแล้ว กลัวจะขายข้าวแล้วไม่มีเงินใช้หนี้ สหกรณ์ฯ จะผ่อนผันหนี้ได้บ้างหรือเปล่าล่ะ ...” ลุงมั่น คนขยันถาม

ทีนี้ใครต่อใครก็มีคำถามอยากจะถามสหกรณ์ฯ บ้าง

ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นเรื่องการกู้ยืม และดอกเบี้ย

 

เป็นเวลาอีกกว่าสี่สิบห้านาทีที่เจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ ต้องช่วยกันชี้แจงเรื่องการกู้ยืม การชำระหนี้ การผ่อนผัน ฯลฯ แต่มีเรื่องต้องอธิบายมากมายเหลือเกิน หัวหน้าจึงตัดบทว่า ถ้าใครมีปัญหาต้องการคำชี้แจงก็ขอเชิญไปได้ที่ ที่ทำการสหกรณ์ฯ ตลอดเวลา


เมื่อจบการประชุมก็ใช้เวลาไปเบ็ดเสร็จชั่วโมงครึ่ง

ชาวบ้านช่วยกันเก็บเก้าอี้ เจ้าหน้าที่เก็บแบบสอบถาม

 

ศาลาว่างเปล่า เหลือแต่ตาผวนกับลุงใบ นั่งสูบยาเส้นคุยกัน

ปีนี้ได้กู้สหกรณ์ฯ หรือเปล่า” ลุงใบถาม

ตาผวนส่ายหน้า

ไม่กู้แล้ว...ข้าเพิ่งใช้หนี้หมดเมื่อปีที่แล้วนี่เอง”

แล้วจะทำอะไรต่อ”

ตาผวนหัวเราะหึๆ พ่นควันฉุย

ทำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นหนี้”

อยู่ว่างๆ ก็ไป...” ลุงใบชี้ไปทางที่ทำการสหกรณ์ฯ “เข้าโครงการพอเพียงกับเขาสิ ใครๆ เขาก็เข้ากัน ”

แล้วเอ็งไม่ไปเข้าโครงการกะเขาด้วยล่ะ”

ลุงใบส่ายหน้า

ลูกมันบอกให้หยุดทำได้แล้ว มันจะหาเลี้ยงเอง”

 

ตาผวน นิ่งคิดไปครู่หนึ่งก็หันมาถาม

เออ...ไอ้ที่ว่าพอเพียงนี่...หมายความว่า เราต้องพึ่งตัวเอง ต้องไม่ก่อหนี้ใช่หรือเปล่าวะ?”

ก็คงจะอย่างนั้น”

ตาผวนได้ฟังก็ขำก๊าก ลุงใบฉงน ถามว่าขำอะไร

มันจะพอเพียงกันได้ยังไง เมื่อกี้ สหกรณ์ฯ เขาก็มาส่งเสริมให้กู้ให้ยืม ไอ้ที่รวมกลุ่มกันนั้นก็หาเรื่องกู้ยืมทั้งนั้น แล้วที่สำคัญ...”

ตาผวนพูดไปหัวเราะไป

 

คนบ้านเราแต่ละคน...หนี้รุงรังยังกับลูกมะยม”

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…