Skip to main content

เช้าตรู่ของวันอากาศดี

เสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้าน


พอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้า

เจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้า


ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”


เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า ทางสหกรณ์ฯ จะทำการสำรวจเรื่องความพอเพียง เพื่อจะได้จัดทำโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้แก่สมาชิก โดยเน้นเรื่องความพอเพียง และการพึ่งตนเอง

 

แบบสอบถามนั้นอยู่ไม่กี่คำถาม ไม่ยากต่อการตอบ คำถามส่วนใหญ่ถามเรื่องความรู้ ความเข้าใจเรื่องความพอเพียง คำถามบางข้อเป็นเรื่องการครอบครองที่ดินและการประกอบอาชีพ คำถามบางข้อถามเรื่องการกู้ยืมที่ทำกับสหกรณ์ฯ


จากนั้น เจ้าหน้าที่ก็พูดถึงหัวข้อการประชุมในวันนี้ซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มเกษตรกร แนวคิดเรื่องการพึ่งตนเอง โครงการที่สหกรณ์ฯ คาดว่าจะดำเนินการ และการแจ้งประเภทของที่ดินในครอบครองของตน เพื่อที่สหกรณ์ฯ จะได้จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล

...ชาวบ้านน่าจะรู้และเข้าใจเรื่องความพอเพียงกันดีอยู่แล้ว เพราะชาวบ้านอยู่กันแบบพอเพียงมาแต่ไหนแต่ไร แต่ข้าราชการอย่างเราๆ พอเพียงไม่ได้ เพราะข้าราชการมีสังคม เลยต้องจ่ายเยอะ อยากจะพอมันก็พอไม่ได้เสียที...”

คนที่เป็นหัวหน้า พูดอย่างยอมรับความจริง เรียกเสียงฮาจากชาวบ้าน


หัวหน้าเล่าว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางสหกรณ์ฯ ก็ได้จัดโครงการไปครั้งหนึ่งแล้ว โดยพาชาวบ้านส่วนหนี่งไปดูงานที่จังหวัดใกล้ๆ และจัดให้มีการอบรมเรื่องการทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ด้วยตนเอง ซึ่งดำเนินไปด้วยดี มาคราวนี้ก็จะจัดโครงการต่อเนื่องเพื่อขยายความรู้ความเข้าใจออกไปอีก


หัวหน้าถามว่า

...ใครอยากจะไปดูงาน หรืออยากจะเข้าอบรมตามที่สหกรณ์ฯ จัดบ้าง? ...”

ชาวบ้านยกมือกันพรึ่บ

เจ้าหน้าที่ยิ้มหน้าบาน

ชาวบ้านแอบกระซิบกัน

...ใครก็อยากไปทั้งนั้นแหละ เที่ยวฟรี กินฟรี…”

 

คุยเรื่องความพอเพียงได้ประมาณสิบห้านาที หัวหน้าก็ให้ประธานกับรองประธานกลุ่มเกษตรกรของหมู่บ้านขึ้นมาพูดเรื่องการรวมกลุ่ม,ผลประโยชน์ของการรวมกลุ่ม และ การกู้ยืมปุ๋ย-ยา


แล้วประธานกลุ่มก็พูดเข้าเรื่อง การกู้-ยืมเงินสหกรณ์ อันเป็นเป้าประสงค์หลักของการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ประธานฯ พูดเรื่องหลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของสมาชิกเก่า-สมาชิกใหม่ ระเบียบบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ


เมื่อประธานชี้แจงจบก็มีชาวบ้านคนหนึ่งลุกขึ้นถาม

...มีคนเขามาคุยว่า เขาเข้าเป็นสมาชิกแค่ปีเดียวก็กู้ได้ดอกเบี้ยแค่ 7 เปอร์เซนต์ต่อปี ฉันก็อยากถามว่าทำไมเขาถึงได้ ฉันเป็นสมาชิกมาตั้งหลายปี ยังไม่ได้ดอกเบี้ย 7 เปอร์เซนต์เลย...”


หัวหน้ารีบขอไมโครโฟนจากประธานมาชี้แจง

...เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ คนที่กู้ได้ดอกเบี้ย 7 เปอร์เซนต์ต้องเป็นลูกค้าชั้นดีเท่านั้น คือต้องเป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี กู้ไม่น้อยกว่าสามครั้งและส่งต้นส่งดอกครบถ้วนไม่เคยผิดนัด คือสหกรณ์ฯ เราจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ว่า...”


หัวหน้าอธิบายอีกยืดยาว ก่อนจะหันไปถามว่าเข้าใจหรือไม่ คนถามพยักหน้ารับแบบไม่ค่อยเต็มใจนัก

ใครมีอะไรจะถามอีกหรือเปล่า?” หัวหน้าถาม

คราวนี้ยกมือกันพรึ่บ

...ปีที่แล้วกู้เงินสหกรณ์มาลงทุนเลี้ยงหมู แต่หมูราคาตกขาดทุนไปหลายแสน ยังไม่มีเงินส่งสหกรณ์ฯ เลย ทำยังไงดี...” ป้าช้อย อดีตคนมีเงิน โอดครวญ

...ปุ๋ยตราหมีแดงที่สหกรณ์ฯ ให้กู้มาหว่านข้าว ปีที่แล้วหว่านแล้วข้าวออกรวงดกดี แต่มาปีนี้ ข้าวออกน้อยไปตั้งครึ่ง จะทำยังไงดี กลัวจะเป็นปุ๋ยปลอมนะเนี่ย...” ตาเหลิม ชาวนาเต็มขั้น โวยบ้าง

...ตอนแรกข้าวราคาดี ก็ทุ่มเต็มที่เลยกะว่าจะได้ปลดหนี้บ้าง ตอนนี้ราคาตกมาแล้ว กลัวจะขายข้าวแล้วไม่มีเงินใช้หนี้ สหกรณ์ฯ จะผ่อนผันหนี้ได้บ้างหรือเปล่าล่ะ ...” ลุงมั่น คนขยันถาม

ทีนี้ใครต่อใครก็มีคำถามอยากจะถามสหกรณ์ฯ บ้าง

ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นเรื่องการกู้ยืม และดอกเบี้ย

 

เป็นเวลาอีกกว่าสี่สิบห้านาทีที่เจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ ต้องช่วยกันชี้แจงเรื่องการกู้ยืม การชำระหนี้ การผ่อนผัน ฯลฯ แต่มีเรื่องต้องอธิบายมากมายเหลือเกิน หัวหน้าจึงตัดบทว่า ถ้าใครมีปัญหาต้องการคำชี้แจงก็ขอเชิญไปได้ที่ ที่ทำการสหกรณ์ฯ ตลอดเวลา


เมื่อจบการประชุมก็ใช้เวลาไปเบ็ดเสร็จชั่วโมงครึ่ง

ชาวบ้านช่วยกันเก็บเก้าอี้ เจ้าหน้าที่เก็บแบบสอบถาม

 

ศาลาว่างเปล่า เหลือแต่ตาผวนกับลุงใบ นั่งสูบยาเส้นคุยกัน

ปีนี้ได้กู้สหกรณ์ฯ หรือเปล่า” ลุงใบถาม

ตาผวนส่ายหน้า

ไม่กู้แล้ว...ข้าเพิ่งใช้หนี้หมดเมื่อปีที่แล้วนี่เอง”

แล้วจะทำอะไรต่อ”

ตาผวนหัวเราะหึๆ พ่นควันฉุย

ทำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นหนี้”

อยู่ว่างๆ ก็ไป...” ลุงใบชี้ไปทางที่ทำการสหกรณ์ฯ “เข้าโครงการพอเพียงกับเขาสิ ใครๆ เขาก็เข้ากัน ”

แล้วเอ็งไม่ไปเข้าโครงการกะเขาด้วยล่ะ”

ลุงใบส่ายหน้า

ลูกมันบอกให้หยุดทำได้แล้ว มันจะหาเลี้ยงเอง”

 

ตาผวน นิ่งคิดไปครู่หนึ่งก็หันมาถาม

เออ...ไอ้ที่ว่าพอเพียงนี่...หมายความว่า เราต้องพึ่งตัวเอง ต้องไม่ก่อหนี้ใช่หรือเปล่าวะ?”

ก็คงจะอย่างนั้น”

ตาผวนได้ฟังก็ขำก๊าก ลุงใบฉงน ถามว่าขำอะไร

มันจะพอเพียงกันได้ยังไง เมื่อกี้ สหกรณ์ฯ เขาก็มาส่งเสริมให้กู้ให้ยืม ไอ้ที่รวมกลุ่มกันนั้นก็หาเรื่องกู้ยืมทั้งนั้น แล้วที่สำคัญ...”

ตาผวนพูดไปหัวเราะไป

 

คนบ้านเราแต่ละคน...หนี้รุงรังยังกับลูกมะยม”

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…