Skip to main content

ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง


ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น

อธิบายที?” ลุงใบถาม

เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน ไม่รู้จักสิ้นสุด แล้วพอมันออกไป มันก็พลอยทำบ้านเมืองแย่ไปด้วย” ตาสุขว่าแบบปรัชญา


ถ้างั้น เอ็งว่า รัฐบาลนี้มันเปรียบเหมือนข้าวอะไร” ตาผวนแหย่

ข้าวเน่า” ตาสุขว่า

สามเฒ่าหัวเราะกันครืน


นี่แน่ะ...” ลุงใบเปิดประเด็นบ้าง “เอ็งพูดมาข้าก็คิดได้ ว่าไอ้การเมืองไทย มาเปรียบเทียบมันก็เหมือนเรื่องข้าวจริงๆ”

ยังไงล่ะ?” ตาสุขถาม

เก๊าะ...ทีเมล็ดข้าวเราเลือกเองได้ จะเอาพันธุ์ไหนแบบไหน ข้าวเบา ข้าวหนัก ข้าวนุ่ม ข้าวแข็ง แล้วทำไม นักการเมืองเราถึงเลือกเองบ้างไม่ได้?”

เอ๊า...เอ็งนี่ ส.. เขาก็เพิ่งจะเลือกไป เอ็งกับข้าก็เพิ่งจะเข้าคูหาไปกาบัตรกันมาหยกๆ ยังว่าเลือกเองไม่ได้อีกรึ?” ตาผวนท้วง


ลุงใบสั่นหัวดิก

ไม่ใช่...ข้าไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น ข้าหมายความว่า ไอ้พวกรัฐมนตรี รัฐมนโท นายก นาดำ ทั้งหลายน่ะ มันน่าจะให้ชาวบ้านเป็นคนเลือก ไม่ใช่ให้ไปเลือกกันเองอย่างทุกวันนี้”

อธิบายที?” ตาสุขกระดกกาแฟกระป๋อง

เก๊าะ...ทุกวันนี้รัฐบาลบริหารประเทศน่ะ เราไม่ได้เป็นคนเลือกนาโว้ย เราเลือกแต่ ส.. แล้วหัวหน้าพรรคไหนได้ ส..เยอะ หัวหน้าพรรคนั้นก็ได้จัดตั้งรัฐบาล เป็นนายกฯ ไป ทีนี้ไอ้นายกฯ นี่จะเลือกใครมาเป็นรัฐมนตรีมาร่วมรัฐบาล ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ไปยุ่งด้วย มันจะเอาน้องเมีย พี่เขย หลานพี่สะใภ้ เพื่อนคนใช้ของเมียน้อย มาเป็นรัฐมนตรีก็ได้ การเมืองบ้านเรามันก็เลยปั่นป่วนอลหม่าน มีแต่เรื่องผลประโยชน์ เรื่องพวกพ้อง วิ่งชิงเก้าอี้กันฝุ่นตลบอยู่ทุกวันนี้ไงเล่า” ลุงใบอธิบายทฤษฎีส่วนตัวให้ฟัง ตาผวนกับตาสุข พยักหน้าหงึกๆ


แถมแต่ละกระทรวง มันเอาใครมานั่งก็ไม่รู้ เจ้าเล่ห์หัวหมอยิ่งกว่าปลาหมอก็มี หน้าด้านยิ่งกว่าถนนก็มี ถ้าชาวบ้านเลือกเองได้ว่าใครจะมานั่งกระทรวงอะไร ทีนี้ไอ้การแบ่งเค้ก สัดส่วน โควต้ง โควต้า ส.. อะไร ก็เอวังไปเลย”

แล้วถ้าทำงานไม่ดี หรือ ทุจริตคอรัปชั่นล่ะ?” ตาสุขสงสัย

ก็ถอดถอนสิ แล้วเลือกตั้งใหม่”


แล้วนายกรัฐมนตรีล่ะ”

ก็เลือกเหมือนกันน่ะแหละ”

แล้ว ส..ล่ะ”

ก็เลือกเหมือนเดิม”


ตาสุข กับ ตาผวน นิ่งอึ้งไปกับความคิดแหวกแนวของลุงใบ

ถ้างั้น...” ตาผวนพยายามตั้งข้อสังเกตุ “ เวลาเลือกตั้งที ไม่ยุ่งยากตายเลยรึ ไหนจะผู้สมัคร ส.. ไหนจะผู้สมัครเป็นรัฐมนตรี”

แหม...ไม่เห็นยาก ส.. ก็เลือกเหมือนเดิมจะแบ่งเขตรวมเขตก็เถอะ แต่เลือกรัฐมนตรีอาจจะยุ่งหน่อยเพราะมีหลายตำแหน่ง หลายตัวเลือก แต่ก็ยุ่งแค่ตอนแรกเท่านั้นแหละ เพราะว่าพอเข้าไปทำงาน ถ้าไม่ดีจริง ก็อยู่ได้ไม่นาน เดี๋ยวก็ต้องโดนเปลี่ยนออก”

เออ...ก็เข้าท่าดีแฮะ” ตาสุขชักจะเห็นด้วย “แต่ถ้าอย่างนั้น มันมิต้องเลือกตั้งกันถี่ยิบเลยเรอะ รัฐมนตรีมีตั้งหลายตำแหน่ง”

เอ๊า ! ยิ่งดีสิ” ลุงใบหัวเราะชอบใจ “ปีหนึ่งๆ เลือกตั้งสัก 5-6 ครั้ง ชาวบ้านจะได้ตื่นตัวเรื่องการเมือง กกต. ก็จะได้มีงานทำบ้าง ปปช. ก็พุ่งเป้าเป็นรายๆ ไปเลย ทีนี้ ใครมันเหมาะจะไปบริหารกระทรวงไหน เราก็เลือกได้ ไม่ใช่ให้พวกนักการเมืองมันเลือกกันเอง อย่างนี้สิ อำนาจมันถึงเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เหมือนเราได้เลือกพันธุ์ข้าวเอง ยังไงมันก็ต้องออกมาดี ” ลุงใบตบท้ายอย่างฮึกเหิม


แต่ข้าว่า...ถ้าการเมืองไทยเปรียบกับเรื่องข้าวอย่างเอ็งว่า การเมืองไทยไปไม่รอดหรอกว่ะ ” ตาผวนแย้งบ้าง

ไหนว่ามาซิ...?”

คนทำไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ทำ เดี๋ยวนี้คนทำนา ได้ข้าวก็ขายหมด พอได้เงินค่อยเอาเงินไปซื้อข้าวกิน ส่วนคนกินข้าว เขาก็ไม่สนใจอะไรหรอก ขอให้ข้าวราคาถูกอย่างเดียว”

แล้วมันเหมือนเรื่องการเมืองยังไงเล่า?”

เก๊าะ...เราเลือกคนเข้าไปเป็นนักการเมือง แต่เราก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการที่เราเลือกพวกมันเข้าไป ส่วนพวกมัน พอได้เป็นน้กการเมืองแล้ว ก็ไม่สนอะไรอีก ขอให้อยู่จนครบสมัยก็พอแล้ว ไอ้ระบบที่เอ็งเสนอข้าก็ว่าเข้าท่าดี แต่ไม่มีไอ้รัฐมนโทคนไหนมันเอาด้วยหรอก เพราะมันเสียประโยชน์ มันโกงกินไม่ได้”


ตาสุข กับลุงใบพยักหน้าเห็นตาม

ตาผวนถอนหายใจเฮือกใหญ่

...ถ้านักการเมืองมันเลว มันก็เหมือนอย่างที่เอ็งว่านั่นละ...จะทำนาหว่าน หรือนาดำ ถ้าข้าวมันเน่า ต่อให้ใส่ปุ๋ยเป็นตันๆ มันก็ไม่ขึ้น ต่อให้เปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหม่ แต่ถ้ายังมีไอ้หน้าเดิมๆ อยู่ มันก็เน่าเหมือนเดิมนั่นละว้า...”

งั้นเอ็งว่า...อนาคตการเมืองไทย...จะมืดมิดมืดมนหรือเปล่าวะ?” ลุงใบพยายามสรุป

ตาผวนหัวเราะจนเห็นเหงือก


มันก็เหมือนเรื่องข้าวไงเล่า...เอ็งเห็นอนาคตของข้าวบ้างหรือเปล่าล่ะ...เหมือนกันนั่นแหละ ฮ่า – ฮ่า-ฮ่า !”


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก