Skip to main content
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า

"...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."


เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ

ไอ้เปี๊ยก ลูกชายวัยรุ่นของพี่หวีกับพี่แสวง ออกจากโรงเรียนตอน ม.2 มันเคยเป็นเด็กเรียบร้อยและเรียนดี แต่เพื่อนที่มันคบ ไม่เรียบร้อย และไม่ชอบเรียน มันก็เลยถูกลากถูกจูงไปกับเขาด้วย ในที่สุด พี่แสวง ก็เลยให้มันมาช่วยงานที่อู่ซ่อมรถยนต์ที่แกทำงานอยู่


"...ไม่เรียน...เอ็งก็มาทำงานก็แล้วกัน..." พี่แสวง พูดอย่างปลงๆ เพราะเคยตั้งใจไว้ว่าอยากจะส่งให้มันเรียนสูงๆ แต่ในเมื่อมันไม่รักเรียน จะไปบังคับมันก็ไม่ได้


ผ่านไปสองปี ไอ้เปี๊ยก ก็คล่องงาน ทำได้แทบจะทุกอย่าง แม้จะยังขี้เกียจหรือเหลวไหลอยู่บ้าง แต่ค่าแรงวันละสองร้อยกว่าบาท ก็พิสูจน์ว่ามันดูแลตัวเองได้ น้าหวี กับพี่แสวง ก็เริ่มเบาใจ คิดว่า ต่อไป ถ้ามันเอาการเอางาน ก็น่าจะเป็นช่างซ่อมที่มีฝีมือได้

 

แต่แล้วเมื่ออายุสิบหกย่างสิบเจ็ด ไอ้เปี๊ยกก็ไปก่อเรื่องให้พ่อแม่ปวดกะบาลจนได้

ไอ้เปี๊ยกไปทำเด็กผู้หญิงรุ่นราวคราวเดียวกันท้อง

เรื่องมันแดงก็เพราะเด็กผู้หญิงกินยาขับลูกออก จนต้องเข้าโรงพยาบาล

"...ท้องได้สี่เดือนแล้วค่ะ..." คุณหมอบอก แม่ฝ่ายหญิงได้ยินดังนั้น ก็เป็นลมไปเลย

 

ฝ่ายนู้นเขาเป็นคนมีเงินมีหน้ามีตา เขาก็โวยวายจะเอาเรื่อง น้าหวีกับพี่แสวงต้องไปเจรจา ในที่สุด ต้องจัดงานแต่งงานให้ โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจ่ายค่าสินสอดทองหมั้นไปร่วมแสน

สามเดือนต่อมา พี่หวีกับพี่แสวงก็ได้อุ้มหลานชายน่าเกลียดน่าชังตัวจ้ำม่ำ พร้อมกับรับลูกสะใภ้วัยทีนเอจมาอยู่ด้วย

 

แรกๆ ก็ดูเหมือนทุกอย่างน่าจะไปได้ดี พี่แสวงกับไอ้เปี๊ยกทำงานที่อู่ พี่หวีขายลูกชิ้นปิ้งอยู่กับบ้าน มีลูกสะใภ้เลี้ยงหลานกับช่วยงานบ้าน บางวัน พ่อตาแม่ยายของไอ้เปี๊ยกเขาก็จะมาหาหลานเขาบ้าง พร้อมกับหอบข้าวของมาให้มากมาย


แม้คุณแม่มือใหม่จะยังดูเก้ๆ กังๆ ต่อทั้งการเลี้ยงลูกและงานบ้าน แต่พี่หวีก็พยายามบอกพยายามสอน ทั้งแม่ยายไอ้เปี๊ยกก็บอกว่า

"...อยู่บ้านมันก็ทำอะไรไม่ค่อยจะเป็นหรอก ค่อยๆ สอนมันไปเถอะนะ..."

ดังนั้น แม้พฤติกรรมจะยังขึ้นๆ ลงๆ พี่หวีกับพี่แสวงก็เชื่อว่า อีกหน่อยมันก็คงจะดีเอง

 

ทว่า เรื่องที่เบื่อหน่ายเหลือเกิน คือ ไอ้เปี๊ยกกับเมียชอบทะเลาะกัน

ทะเลาะกันได้แทบจะทุกวัน แทบจะทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่เล็กน้อยที่สุด ก็ต่อปากต่อคำกันจนเป็นเรื่องเป็นราว เมียไอ้เปี๊ยกขี้บ่นอย่างที่พี่แสวงเปรียบเทียบว่า

"...เหมือนมันอมรังผึ้งไว้ในปาก เดินไปไหนก็บ่นหึ่งๆๆ ไปด้วย..."


พี่หวีปลอบใจตัวเองว่า ผัวหนุ่มเมียสาว มันก็วัยรุ่นด้วยกันทั้งคู่ ยังอารมณ์ร้อนเอาแต่ใจตัวเอง อีกหน่อยมันโต มันก็คงจะเข้าใจ แล้วก็ใจเย็นลง

แต่ไม่มีใครรู้ว่า "อีกหน่อย" ที่ว่านั้นเมื่อไรจะมาถึง ? ...

 

ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันหนักขึ้นทุกวัน บางวันถึงกับขว้างปาข้าวของ พี่แสวงสุดจะทนต้องออกปากว่า ถ้าไม่หยุดทะเลาะกัน จะไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น เพราะแกทำงานเหนื่อยมาทั้งวัน กลับบ้าน ก็อยากพักผ่อน สองผัวเมียวัยรุ่น ก็เลยสงบปากสงบคำไปได้พักใหญ่

แต่แค่ไม่กี่วัน ก็ตั้งต้นมีปากเสียงกันอีกแล้ว

 

"...กูก็ไม่รู้ว่ามันจะอะไรกันนักกันหนา..." พี่หวี ระบายให้เจ้าปุ๊กฟัง

"...ไม่ใช่ว่าไอ้เปี๊ยกมันดีอะไรนักหนาหรอกนะ แต่เมียมันขี้บ่นจริงๆ ไอ้เปี๊ยกพูดนิดพูดหน่อยมันก็เถียง ไม่ยอมฟัง...เงินเดือนได้มา ไอ้เปี๊ยกก็ให้เมียมันหมด แต่เมียมันนะ...ไอ้เปี๊ยกจะขอสิบยี่สิบบาทไปซื้อขนมกินเมียมันยังไม่ให้เลย...แต่พอมันเข้าตลาดซื้อของ เสริมสวย อะไรต่ออะไรของมัน หมดไปตั้งหลายร้อย...งานบ้านไม่ต้องพูดถึง แทบจะไม่แตะเลย นานๆ ทีถึงจะลุกมากวาดบ้าน ล้างจาน นอกนั้นก็นอนดูทีวี...เสื้อผ้าลูก ขวดนมลูก ปล่อยทิ้งไว้เกลื่อน...ลูกมันมันก็ไม่ค่อยจะดูจะแล ไอ้เราก็ต้องเลี้ยงแทน ไหนจะขายของ ไหนจะงานบ้าน มันจะมาหยิบมาจับช่วยเราสักนิดก็ไม่ได้...เฮ้อ...กลุ้มจริงโว้ย..."


พี่หวี บ่นเรื่องลูกสะใภ้เป็นประจำ จนใครต่อใครก็เห็นใจ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องภายในครอบครัวเขา วิธีที่ที่สุดที่จะช่วยได้คือ รับฟัง


พี่แสวงกับพี่หวี เป็นพวกมีความอดทนสูง พยายามทนให้ถึงที่สุด พอทนไม่ไหวจริงๆ ถึงจะออกปากเตือนสักครั้ง พอเตือนที เหตุการณ์ก็ดีขึ้น แต่พอผ่านไปสักพัก ทุกอย่างก็กลับไปเป็นเหมือนเดิมพี่หวีพยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงพ่อตาแม่ยายของไอ้เปี๊ยกในทางที่ไม่ดี แต่แกก็อดสงสัยอยู่บ่อยๆ ไม่ได้ว่า เขาเลี้ยงลูกยังไงของเขา มันถึงเป็นคนแบบนี้ แถมพอไอ้เปี๊ยกทะเลาะกับเมีย จนเมียมันหอบลูกกลับไปอยู่บ้านมันทีไร แม่ยายไอ้เปี๊ยกจะยุให้เมียมันเลิกกับไอ้เปี๊ยกเสียแทบจะทุกที


แต่ผ่านไปไม่กี่วัน เมียไอ้เปี๊ยกก็หอบลูกกลับมาเหมือนเดิม

วันไหน พ่อตาแม่ยายมาเยี่ยม ไอ้เปี๊ยกจึงทำหน้าเซ็งไม่พูดอะไรสักคำ

 

ไอ้เปี๊ยก ออกอาการว่าเริ่มเบื่อเมีย(รวมถึงแม่ยาย) พอเมียกลับบ้านที มันก็จะออกไปเที่ยวไม่กลับบ้านกลับช่อง มีข่าวกระเซ็นกระสายว่ามันไปติดผู้หญิงคนใหม่ จนพี่หวีต้องไปตามมันกลับบ้าน


เมื่อความสัมพันธ์ของคู่ผัวเมียวัยรุ่นระหองระแหง แถมผู้ใหญ่ฝ่ายหนึ่งก็ทำตัวไม่ค่อยสมกับเป็นผู้ใหญ่ ในที่สุด ความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่ก็เลยพลอยแย่ไปด้วย

 

เย็นวันหนึ่ง ไอ้เปี๊ยกก็ถึงจุดสิ้นสุดของความอดทน เมื่อมันทะเลาะกับเมียดังลั่นบ้าน เมียมันไล่ให้มันไปพ้นๆ หน้า ไอ้เปี๊ยกไม่พูดไม่จา เดินไปสตาร์ทรถเครื่องขับออกจากบ้านหายไปในความมืด


ไอ้เปี๊ยกหายตัวไปสามคืน พี่หวีกับพี่แสวงร้อนใจ ออกตามหา แต่เพื่อนของมันทุกคนส่ายหน้าว่าไม่รู้ เมียมันก็อยู่ไม่ได้ ต้องหอบลูกกลับไปอยู่บ้าน


ล่วงเข้าสัปดาห์ที่สอง พี่หวีก็ได้ข่าวว่ามันไปอยู่บ้านเพื่อนคนหนึ่ง แต่ก่อนที่แกจะไปตาม พี่แสวงก็บอกว่า

"...มันคงจะกลุ้มเรื่องเมียมัน ปล่อยมันไปสักพักเถอะ...ข้าว่า มันไม่เป็นอะไรหรอก แล้วช่วงที่มันกับเมียมันไม่อยู่นี่นะ ข้ารู้สึกสบายใจดีว่ะ..."

พี่หวีได้ฟังดังนั้น ก็เห็นจริงตาม พอไม่มีเสียงทะเลาะกัน บ้านก็เงียบสงบไปเลย แม้จะเป็นห่วงไอ้เปี๊ยก แต่ในที่สุด พี่หวีก็ตัดสินใจไม่ไปตาม แต่ฝากบอกเพื่อนๆ มันว่า ให้ช่วยดูแลมันด้วย ถ้ามันเป็นอะไรก็ให้มาบอก

"...ดีเหมือนกันว่ะ สบายหูดี ..." พี่หวี เห็นด้วย

 

แต่คนที่ทำท่าว่าจะทุกข์ร้อนใจยิ่งกว่า คือเมียกับแม่ยายของไอ้เปี๊ยก เพราะเมียมันเทียวมาถามทุกวันว่า ไอ้เปี๊ยกกลับมาบ้านหรือยัง

"...ถ้ามันกลับมา หนูจะเลิกทะเลาะกับมัน..." เมียไอ้เปี๊ยกทำตาแดงๆ สำนึกผิด

แม่ยายไอ้เปี๊ยกก็โทรมาถามพี่หวีทุกวันว่า ไอ้เปี๊ยกกลับมาหรือยัง พอพี่หวีบอกว่ายัง แกก็อึกอักๆ บอกว่า ถ้ามันกลับมาให้โทรมาบอกด้วย

"...คงจะเบื่อเลี้ยงหลานแล้วล่ะสิ...ค่านม ค่ายา น่ะ พี่แสวงเขาจ่ายทั้งนั้น ทางนู้นเขาขี้เหนียวไม่เคยจ่ายสักกะบาท..." พี่หวีว่าอย่างรู้ทัน

ดูเหมือนแกจะเริ่มสบายใจจริงๆ เป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน

 

ยุคนี้ สมัยนี้

ผัวเมียวัยรุ่น ท้องแล้วจำใจต้องแต่ง มีกลาดเกลื่อน

จำนวนไม่น้อย ที่ความรับผิดชอบต่ำ เอาแต่ใจ ด้อยวุฒิภาวะ

อยู่กันได้ไม่นานก็เลิก เพราะไม่ได้รักกัน หรือ ไม่เคยเข้าใจคำว่าชีวิตคู่ด้วยซ้ำ

แน่ละ ชีวิตใคร คนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ

แต่สำหรับ วัยที่ยังไม่เดียงสาเหล่านี้

 

ผู้ใหญ่' ควรมีส่วนรับผิดชอบในการกระทำของพวกเขา มากน้อยสักแค่ไหน ?

 

 

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก