Skip to main content
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า

"...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."


เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ

ไอ้เปี๊ยก ลูกชายวัยรุ่นของพี่หวีกับพี่แสวง ออกจากโรงเรียนตอน ม.2 มันเคยเป็นเด็กเรียบร้อยและเรียนดี แต่เพื่อนที่มันคบ ไม่เรียบร้อย และไม่ชอบเรียน มันก็เลยถูกลากถูกจูงไปกับเขาด้วย ในที่สุด พี่แสวง ก็เลยให้มันมาช่วยงานที่อู่ซ่อมรถยนต์ที่แกทำงานอยู่


"...ไม่เรียน...เอ็งก็มาทำงานก็แล้วกัน..." พี่แสวง พูดอย่างปลงๆ เพราะเคยตั้งใจไว้ว่าอยากจะส่งให้มันเรียนสูงๆ แต่ในเมื่อมันไม่รักเรียน จะไปบังคับมันก็ไม่ได้


ผ่านไปสองปี ไอ้เปี๊ยก ก็คล่องงาน ทำได้แทบจะทุกอย่าง แม้จะยังขี้เกียจหรือเหลวไหลอยู่บ้าง แต่ค่าแรงวันละสองร้อยกว่าบาท ก็พิสูจน์ว่ามันดูแลตัวเองได้ น้าหวี กับพี่แสวง ก็เริ่มเบาใจ คิดว่า ต่อไป ถ้ามันเอาการเอางาน ก็น่าจะเป็นช่างซ่อมที่มีฝีมือได้

 

แต่แล้วเมื่ออายุสิบหกย่างสิบเจ็ด ไอ้เปี๊ยกก็ไปก่อเรื่องให้พ่อแม่ปวดกะบาลจนได้

ไอ้เปี๊ยกไปทำเด็กผู้หญิงรุ่นราวคราวเดียวกันท้อง

เรื่องมันแดงก็เพราะเด็กผู้หญิงกินยาขับลูกออก จนต้องเข้าโรงพยาบาล

"...ท้องได้สี่เดือนแล้วค่ะ..." คุณหมอบอก แม่ฝ่ายหญิงได้ยินดังนั้น ก็เป็นลมไปเลย

 

ฝ่ายนู้นเขาเป็นคนมีเงินมีหน้ามีตา เขาก็โวยวายจะเอาเรื่อง น้าหวีกับพี่แสวงต้องไปเจรจา ในที่สุด ต้องจัดงานแต่งงานให้ โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจ่ายค่าสินสอดทองหมั้นไปร่วมแสน

สามเดือนต่อมา พี่หวีกับพี่แสวงก็ได้อุ้มหลานชายน่าเกลียดน่าชังตัวจ้ำม่ำ พร้อมกับรับลูกสะใภ้วัยทีนเอจมาอยู่ด้วย

 

แรกๆ ก็ดูเหมือนทุกอย่างน่าจะไปได้ดี พี่แสวงกับไอ้เปี๊ยกทำงานที่อู่ พี่หวีขายลูกชิ้นปิ้งอยู่กับบ้าน มีลูกสะใภ้เลี้ยงหลานกับช่วยงานบ้าน บางวัน พ่อตาแม่ยายของไอ้เปี๊ยกเขาก็จะมาหาหลานเขาบ้าง พร้อมกับหอบข้าวของมาให้มากมาย


แม้คุณแม่มือใหม่จะยังดูเก้ๆ กังๆ ต่อทั้งการเลี้ยงลูกและงานบ้าน แต่พี่หวีก็พยายามบอกพยายามสอน ทั้งแม่ยายไอ้เปี๊ยกก็บอกว่า

"...อยู่บ้านมันก็ทำอะไรไม่ค่อยจะเป็นหรอก ค่อยๆ สอนมันไปเถอะนะ..."

ดังนั้น แม้พฤติกรรมจะยังขึ้นๆ ลงๆ พี่หวีกับพี่แสวงก็เชื่อว่า อีกหน่อยมันก็คงจะดีเอง

 

ทว่า เรื่องที่เบื่อหน่ายเหลือเกิน คือ ไอ้เปี๊ยกกับเมียชอบทะเลาะกัน

ทะเลาะกันได้แทบจะทุกวัน แทบจะทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่เล็กน้อยที่สุด ก็ต่อปากต่อคำกันจนเป็นเรื่องเป็นราว เมียไอ้เปี๊ยกขี้บ่นอย่างที่พี่แสวงเปรียบเทียบว่า

"...เหมือนมันอมรังผึ้งไว้ในปาก เดินไปไหนก็บ่นหึ่งๆๆ ไปด้วย..."


พี่หวีปลอบใจตัวเองว่า ผัวหนุ่มเมียสาว มันก็วัยรุ่นด้วยกันทั้งคู่ ยังอารมณ์ร้อนเอาแต่ใจตัวเอง อีกหน่อยมันโต มันก็คงจะเข้าใจ แล้วก็ใจเย็นลง

แต่ไม่มีใครรู้ว่า "อีกหน่อย" ที่ว่านั้นเมื่อไรจะมาถึง ? ...

 

ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันหนักขึ้นทุกวัน บางวันถึงกับขว้างปาข้าวของ พี่แสวงสุดจะทนต้องออกปากว่า ถ้าไม่หยุดทะเลาะกัน จะไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น เพราะแกทำงานเหนื่อยมาทั้งวัน กลับบ้าน ก็อยากพักผ่อน สองผัวเมียวัยรุ่น ก็เลยสงบปากสงบคำไปได้พักใหญ่

แต่แค่ไม่กี่วัน ก็ตั้งต้นมีปากเสียงกันอีกแล้ว

 

"...กูก็ไม่รู้ว่ามันจะอะไรกันนักกันหนา..." พี่หวี ระบายให้เจ้าปุ๊กฟัง

"...ไม่ใช่ว่าไอ้เปี๊ยกมันดีอะไรนักหนาหรอกนะ แต่เมียมันขี้บ่นจริงๆ ไอ้เปี๊ยกพูดนิดพูดหน่อยมันก็เถียง ไม่ยอมฟัง...เงินเดือนได้มา ไอ้เปี๊ยกก็ให้เมียมันหมด แต่เมียมันนะ...ไอ้เปี๊ยกจะขอสิบยี่สิบบาทไปซื้อขนมกินเมียมันยังไม่ให้เลย...แต่พอมันเข้าตลาดซื้อของ เสริมสวย อะไรต่ออะไรของมัน หมดไปตั้งหลายร้อย...งานบ้านไม่ต้องพูดถึง แทบจะไม่แตะเลย นานๆ ทีถึงจะลุกมากวาดบ้าน ล้างจาน นอกนั้นก็นอนดูทีวี...เสื้อผ้าลูก ขวดนมลูก ปล่อยทิ้งไว้เกลื่อน...ลูกมันมันก็ไม่ค่อยจะดูจะแล ไอ้เราก็ต้องเลี้ยงแทน ไหนจะขายของ ไหนจะงานบ้าน มันจะมาหยิบมาจับช่วยเราสักนิดก็ไม่ได้...เฮ้อ...กลุ้มจริงโว้ย..."


พี่หวี บ่นเรื่องลูกสะใภ้เป็นประจำ จนใครต่อใครก็เห็นใจ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องภายในครอบครัวเขา วิธีที่ที่สุดที่จะช่วยได้คือ รับฟัง


พี่แสวงกับพี่หวี เป็นพวกมีความอดทนสูง พยายามทนให้ถึงที่สุด พอทนไม่ไหวจริงๆ ถึงจะออกปากเตือนสักครั้ง พอเตือนที เหตุการณ์ก็ดีขึ้น แต่พอผ่านไปสักพัก ทุกอย่างก็กลับไปเป็นเหมือนเดิมพี่หวีพยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงพ่อตาแม่ยายของไอ้เปี๊ยกในทางที่ไม่ดี แต่แกก็อดสงสัยอยู่บ่อยๆ ไม่ได้ว่า เขาเลี้ยงลูกยังไงของเขา มันถึงเป็นคนแบบนี้ แถมพอไอ้เปี๊ยกทะเลาะกับเมีย จนเมียมันหอบลูกกลับไปอยู่บ้านมันทีไร แม่ยายไอ้เปี๊ยกจะยุให้เมียมันเลิกกับไอ้เปี๊ยกเสียแทบจะทุกที


แต่ผ่านไปไม่กี่วัน เมียไอ้เปี๊ยกก็หอบลูกกลับมาเหมือนเดิม

วันไหน พ่อตาแม่ยายมาเยี่ยม ไอ้เปี๊ยกจึงทำหน้าเซ็งไม่พูดอะไรสักคำ

 

ไอ้เปี๊ยก ออกอาการว่าเริ่มเบื่อเมีย(รวมถึงแม่ยาย) พอเมียกลับบ้านที มันก็จะออกไปเที่ยวไม่กลับบ้านกลับช่อง มีข่าวกระเซ็นกระสายว่ามันไปติดผู้หญิงคนใหม่ จนพี่หวีต้องไปตามมันกลับบ้าน


เมื่อความสัมพันธ์ของคู่ผัวเมียวัยรุ่นระหองระแหง แถมผู้ใหญ่ฝ่ายหนึ่งก็ทำตัวไม่ค่อยสมกับเป็นผู้ใหญ่ ในที่สุด ความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่ก็เลยพลอยแย่ไปด้วย

 

เย็นวันหนึ่ง ไอ้เปี๊ยกก็ถึงจุดสิ้นสุดของความอดทน เมื่อมันทะเลาะกับเมียดังลั่นบ้าน เมียมันไล่ให้มันไปพ้นๆ หน้า ไอ้เปี๊ยกไม่พูดไม่จา เดินไปสตาร์ทรถเครื่องขับออกจากบ้านหายไปในความมืด


ไอ้เปี๊ยกหายตัวไปสามคืน พี่หวีกับพี่แสวงร้อนใจ ออกตามหา แต่เพื่อนของมันทุกคนส่ายหน้าว่าไม่รู้ เมียมันก็อยู่ไม่ได้ ต้องหอบลูกกลับไปอยู่บ้าน


ล่วงเข้าสัปดาห์ที่สอง พี่หวีก็ได้ข่าวว่ามันไปอยู่บ้านเพื่อนคนหนึ่ง แต่ก่อนที่แกจะไปตาม พี่แสวงก็บอกว่า

"...มันคงจะกลุ้มเรื่องเมียมัน ปล่อยมันไปสักพักเถอะ...ข้าว่า มันไม่เป็นอะไรหรอก แล้วช่วงที่มันกับเมียมันไม่อยู่นี่นะ ข้ารู้สึกสบายใจดีว่ะ..."

พี่หวีได้ฟังดังนั้น ก็เห็นจริงตาม พอไม่มีเสียงทะเลาะกัน บ้านก็เงียบสงบไปเลย แม้จะเป็นห่วงไอ้เปี๊ยก แต่ในที่สุด พี่หวีก็ตัดสินใจไม่ไปตาม แต่ฝากบอกเพื่อนๆ มันว่า ให้ช่วยดูแลมันด้วย ถ้ามันเป็นอะไรก็ให้มาบอก

"...ดีเหมือนกันว่ะ สบายหูดี ..." พี่หวี เห็นด้วย

 

แต่คนที่ทำท่าว่าจะทุกข์ร้อนใจยิ่งกว่า คือเมียกับแม่ยายของไอ้เปี๊ยก เพราะเมียมันเทียวมาถามทุกวันว่า ไอ้เปี๊ยกกลับมาบ้านหรือยัง

"...ถ้ามันกลับมา หนูจะเลิกทะเลาะกับมัน..." เมียไอ้เปี๊ยกทำตาแดงๆ สำนึกผิด

แม่ยายไอ้เปี๊ยกก็โทรมาถามพี่หวีทุกวันว่า ไอ้เปี๊ยกกลับมาหรือยัง พอพี่หวีบอกว่ายัง แกก็อึกอักๆ บอกว่า ถ้ามันกลับมาให้โทรมาบอกด้วย

"...คงจะเบื่อเลี้ยงหลานแล้วล่ะสิ...ค่านม ค่ายา น่ะ พี่แสวงเขาจ่ายทั้งนั้น ทางนู้นเขาขี้เหนียวไม่เคยจ่ายสักกะบาท..." พี่หวีว่าอย่างรู้ทัน

ดูเหมือนแกจะเริ่มสบายใจจริงๆ เป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน

 

ยุคนี้ สมัยนี้

ผัวเมียวัยรุ่น ท้องแล้วจำใจต้องแต่ง มีกลาดเกลื่อน

จำนวนไม่น้อย ที่ความรับผิดชอบต่ำ เอาแต่ใจ ด้อยวุฒิภาวะ

อยู่กันได้ไม่นานก็เลิก เพราะไม่ได้รักกัน หรือ ไม่เคยเข้าใจคำว่าชีวิตคู่ด้วยซ้ำ

แน่ละ ชีวิตใคร คนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ

แต่สำหรับ วัยที่ยังไม่เดียงสาเหล่านี้

 

ผู้ใหญ่' ควรมีส่วนรับผิดชอบในการกระทำของพวกเขา มากน้อยสักแค่ไหน ?

 

 

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…