Skip to main content
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า

"...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."


เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ

ไอ้เปี๊ยก ลูกชายวัยรุ่นของพี่หวีกับพี่แสวง ออกจากโรงเรียนตอน ม.2 มันเคยเป็นเด็กเรียบร้อยและเรียนดี แต่เพื่อนที่มันคบ ไม่เรียบร้อย และไม่ชอบเรียน มันก็เลยถูกลากถูกจูงไปกับเขาด้วย ในที่สุด พี่แสวง ก็เลยให้มันมาช่วยงานที่อู่ซ่อมรถยนต์ที่แกทำงานอยู่


"...ไม่เรียน...เอ็งก็มาทำงานก็แล้วกัน..." พี่แสวง พูดอย่างปลงๆ เพราะเคยตั้งใจไว้ว่าอยากจะส่งให้มันเรียนสูงๆ แต่ในเมื่อมันไม่รักเรียน จะไปบังคับมันก็ไม่ได้


ผ่านไปสองปี ไอ้เปี๊ยก ก็คล่องงาน ทำได้แทบจะทุกอย่าง แม้จะยังขี้เกียจหรือเหลวไหลอยู่บ้าง แต่ค่าแรงวันละสองร้อยกว่าบาท ก็พิสูจน์ว่ามันดูแลตัวเองได้ น้าหวี กับพี่แสวง ก็เริ่มเบาใจ คิดว่า ต่อไป ถ้ามันเอาการเอางาน ก็น่าจะเป็นช่างซ่อมที่มีฝีมือได้

 

แต่แล้วเมื่ออายุสิบหกย่างสิบเจ็ด ไอ้เปี๊ยกก็ไปก่อเรื่องให้พ่อแม่ปวดกะบาลจนได้

ไอ้เปี๊ยกไปทำเด็กผู้หญิงรุ่นราวคราวเดียวกันท้อง

เรื่องมันแดงก็เพราะเด็กผู้หญิงกินยาขับลูกออก จนต้องเข้าโรงพยาบาล

"...ท้องได้สี่เดือนแล้วค่ะ..." คุณหมอบอก แม่ฝ่ายหญิงได้ยินดังนั้น ก็เป็นลมไปเลย

 

ฝ่ายนู้นเขาเป็นคนมีเงินมีหน้ามีตา เขาก็โวยวายจะเอาเรื่อง น้าหวีกับพี่แสวงต้องไปเจรจา ในที่สุด ต้องจัดงานแต่งงานให้ โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจ่ายค่าสินสอดทองหมั้นไปร่วมแสน

สามเดือนต่อมา พี่หวีกับพี่แสวงก็ได้อุ้มหลานชายน่าเกลียดน่าชังตัวจ้ำม่ำ พร้อมกับรับลูกสะใภ้วัยทีนเอจมาอยู่ด้วย

 

แรกๆ ก็ดูเหมือนทุกอย่างน่าจะไปได้ดี พี่แสวงกับไอ้เปี๊ยกทำงานที่อู่ พี่หวีขายลูกชิ้นปิ้งอยู่กับบ้าน มีลูกสะใภ้เลี้ยงหลานกับช่วยงานบ้าน บางวัน พ่อตาแม่ยายของไอ้เปี๊ยกเขาก็จะมาหาหลานเขาบ้าง พร้อมกับหอบข้าวของมาให้มากมาย


แม้คุณแม่มือใหม่จะยังดูเก้ๆ กังๆ ต่อทั้งการเลี้ยงลูกและงานบ้าน แต่พี่หวีก็พยายามบอกพยายามสอน ทั้งแม่ยายไอ้เปี๊ยกก็บอกว่า

"...อยู่บ้านมันก็ทำอะไรไม่ค่อยจะเป็นหรอก ค่อยๆ สอนมันไปเถอะนะ..."

ดังนั้น แม้พฤติกรรมจะยังขึ้นๆ ลงๆ พี่หวีกับพี่แสวงก็เชื่อว่า อีกหน่อยมันก็คงจะดีเอง

 

ทว่า เรื่องที่เบื่อหน่ายเหลือเกิน คือ ไอ้เปี๊ยกกับเมียชอบทะเลาะกัน

ทะเลาะกันได้แทบจะทุกวัน แทบจะทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่เล็กน้อยที่สุด ก็ต่อปากต่อคำกันจนเป็นเรื่องเป็นราว เมียไอ้เปี๊ยกขี้บ่นอย่างที่พี่แสวงเปรียบเทียบว่า

"...เหมือนมันอมรังผึ้งไว้ในปาก เดินไปไหนก็บ่นหึ่งๆๆ ไปด้วย..."


พี่หวีปลอบใจตัวเองว่า ผัวหนุ่มเมียสาว มันก็วัยรุ่นด้วยกันทั้งคู่ ยังอารมณ์ร้อนเอาแต่ใจตัวเอง อีกหน่อยมันโต มันก็คงจะเข้าใจ แล้วก็ใจเย็นลง

แต่ไม่มีใครรู้ว่า "อีกหน่อย" ที่ว่านั้นเมื่อไรจะมาถึง ? ...

 

ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันหนักขึ้นทุกวัน บางวันถึงกับขว้างปาข้าวของ พี่แสวงสุดจะทนต้องออกปากว่า ถ้าไม่หยุดทะเลาะกัน จะไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น เพราะแกทำงานเหนื่อยมาทั้งวัน กลับบ้าน ก็อยากพักผ่อน สองผัวเมียวัยรุ่น ก็เลยสงบปากสงบคำไปได้พักใหญ่

แต่แค่ไม่กี่วัน ก็ตั้งต้นมีปากเสียงกันอีกแล้ว

 

"...กูก็ไม่รู้ว่ามันจะอะไรกันนักกันหนา..." พี่หวี ระบายให้เจ้าปุ๊กฟัง

"...ไม่ใช่ว่าไอ้เปี๊ยกมันดีอะไรนักหนาหรอกนะ แต่เมียมันขี้บ่นจริงๆ ไอ้เปี๊ยกพูดนิดพูดหน่อยมันก็เถียง ไม่ยอมฟัง...เงินเดือนได้มา ไอ้เปี๊ยกก็ให้เมียมันหมด แต่เมียมันนะ...ไอ้เปี๊ยกจะขอสิบยี่สิบบาทไปซื้อขนมกินเมียมันยังไม่ให้เลย...แต่พอมันเข้าตลาดซื้อของ เสริมสวย อะไรต่ออะไรของมัน หมดไปตั้งหลายร้อย...งานบ้านไม่ต้องพูดถึง แทบจะไม่แตะเลย นานๆ ทีถึงจะลุกมากวาดบ้าน ล้างจาน นอกนั้นก็นอนดูทีวี...เสื้อผ้าลูก ขวดนมลูก ปล่อยทิ้งไว้เกลื่อน...ลูกมันมันก็ไม่ค่อยจะดูจะแล ไอ้เราก็ต้องเลี้ยงแทน ไหนจะขายของ ไหนจะงานบ้าน มันจะมาหยิบมาจับช่วยเราสักนิดก็ไม่ได้...เฮ้อ...กลุ้มจริงโว้ย..."


พี่หวี บ่นเรื่องลูกสะใภ้เป็นประจำ จนใครต่อใครก็เห็นใจ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องภายในครอบครัวเขา วิธีที่ที่สุดที่จะช่วยได้คือ รับฟัง


พี่แสวงกับพี่หวี เป็นพวกมีความอดทนสูง พยายามทนให้ถึงที่สุด พอทนไม่ไหวจริงๆ ถึงจะออกปากเตือนสักครั้ง พอเตือนที เหตุการณ์ก็ดีขึ้น แต่พอผ่านไปสักพัก ทุกอย่างก็กลับไปเป็นเหมือนเดิมพี่หวีพยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงพ่อตาแม่ยายของไอ้เปี๊ยกในทางที่ไม่ดี แต่แกก็อดสงสัยอยู่บ่อยๆ ไม่ได้ว่า เขาเลี้ยงลูกยังไงของเขา มันถึงเป็นคนแบบนี้ แถมพอไอ้เปี๊ยกทะเลาะกับเมีย จนเมียมันหอบลูกกลับไปอยู่บ้านมันทีไร แม่ยายไอ้เปี๊ยกจะยุให้เมียมันเลิกกับไอ้เปี๊ยกเสียแทบจะทุกที


แต่ผ่านไปไม่กี่วัน เมียไอ้เปี๊ยกก็หอบลูกกลับมาเหมือนเดิม

วันไหน พ่อตาแม่ยายมาเยี่ยม ไอ้เปี๊ยกจึงทำหน้าเซ็งไม่พูดอะไรสักคำ

 

ไอ้เปี๊ยก ออกอาการว่าเริ่มเบื่อเมีย(รวมถึงแม่ยาย) พอเมียกลับบ้านที มันก็จะออกไปเที่ยวไม่กลับบ้านกลับช่อง มีข่าวกระเซ็นกระสายว่ามันไปติดผู้หญิงคนใหม่ จนพี่หวีต้องไปตามมันกลับบ้าน


เมื่อความสัมพันธ์ของคู่ผัวเมียวัยรุ่นระหองระแหง แถมผู้ใหญ่ฝ่ายหนึ่งก็ทำตัวไม่ค่อยสมกับเป็นผู้ใหญ่ ในที่สุด ความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่ก็เลยพลอยแย่ไปด้วย

 

เย็นวันหนึ่ง ไอ้เปี๊ยกก็ถึงจุดสิ้นสุดของความอดทน เมื่อมันทะเลาะกับเมียดังลั่นบ้าน เมียมันไล่ให้มันไปพ้นๆ หน้า ไอ้เปี๊ยกไม่พูดไม่จา เดินไปสตาร์ทรถเครื่องขับออกจากบ้านหายไปในความมืด


ไอ้เปี๊ยกหายตัวไปสามคืน พี่หวีกับพี่แสวงร้อนใจ ออกตามหา แต่เพื่อนของมันทุกคนส่ายหน้าว่าไม่รู้ เมียมันก็อยู่ไม่ได้ ต้องหอบลูกกลับไปอยู่บ้าน


ล่วงเข้าสัปดาห์ที่สอง พี่หวีก็ได้ข่าวว่ามันไปอยู่บ้านเพื่อนคนหนึ่ง แต่ก่อนที่แกจะไปตาม พี่แสวงก็บอกว่า

"...มันคงจะกลุ้มเรื่องเมียมัน ปล่อยมันไปสักพักเถอะ...ข้าว่า มันไม่เป็นอะไรหรอก แล้วช่วงที่มันกับเมียมันไม่อยู่นี่นะ ข้ารู้สึกสบายใจดีว่ะ..."

พี่หวีได้ฟังดังนั้น ก็เห็นจริงตาม พอไม่มีเสียงทะเลาะกัน บ้านก็เงียบสงบไปเลย แม้จะเป็นห่วงไอ้เปี๊ยก แต่ในที่สุด พี่หวีก็ตัดสินใจไม่ไปตาม แต่ฝากบอกเพื่อนๆ มันว่า ให้ช่วยดูแลมันด้วย ถ้ามันเป็นอะไรก็ให้มาบอก

"...ดีเหมือนกันว่ะ สบายหูดี ..." พี่หวี เห็นด้วย

 

แต่คนที่ทำท่าว่าจะทุกข์ร้อนใจยิ่งกว่า คือเมียกับแม่ยายของไอ้เปี๊ยก เพราะเมียมันเทียวมาถามทุกวันว่า ไอ้เปี๊ยกกลับมาบ้านหรือยัง

"...ถ้ามันกลับมา หนูจะเลิกทะเลาะกับมัน..." เมียไอ้เปี๊ยกทำตาแดงๆ สำนึกผิด

แม่ยายไอ้เปี๊ยกก็โทรมาถามพี่หวีทุกวันว่า ไอ้เปี๊ยกกลับมาหรือยัง พอพี่หวีบอกว่ายัง แกก็อึกอักๆ บอกว่า ถ้ามันกลับมาให้โทรมาบอกด้วย

"...คงจะเบื่อเลี้ยงหลานแล้วล่ะสิ...ค่านม ค่ายา น่ะ พี่แสวงเขาจ่ายทั้งนั้น ทางนู้นเขาขี้เหนียวไม่เคยจ่ายสักกะบาท..." พี่หวีว่าอย่างรู้ทัน

ดูเหมือนแกจะเริ่มสบายใจจริงๆ เป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน

 

ยุคนี้ สมัยนี้

ผัวเมียวัยรุ่น ท้องแล้วจำใจต้องแต่ง มีกลาดเกลื่อน

จำนวนไม่น้อย ที่ความรับผิดชอบต่ำ เอาแต่ใจ ด้อยวุฒิภาวะ

อยู่กันได้ไม่นานก็เลิก เพราะไม่ได้รักกัน หรือ ไม่เคยเข้าใจคำว่าชีวิตคู่ด้วยซ้ำ

แน่ละ ชีวิตใคร คนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ

แต่สำหรับ วัยที่ยังไม่เดียงสาเหล่านี้

 

ผู้ใหญ่' ควรมีส่วนรับผิดชอบในการกระทำของพวกเขา มากน้อยสักแค่ไหน ?

 

 

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
แกชื่อยายอิ่ม ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้ สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด)…
ฐาปนา
นี่คือตลาดนัดประจำตำบล ที่เปิดมายาวนานหลายสิบปี ในละแวกใกล้เคียง 3-4 ตำบล เป็นที่รู้กันว่า ถ้า “นัดวันอาทิตย์” ก็ต้องมาที่นี่ ในระดับอำเภอ ตลาดนัดวันอาทิตย์ตอนเช้าของที่นี่ น่าจะใหญ่ที่สุด คึกคักที่สุด ลานกว้างพื้นที่หลายไร่ข้างวัด มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งสินค้ากันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า พอเริ่มสว่าง คนก็เริ่มมา หกโมงถึงเจ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเยอะ เพราะมีของให้เลือกมาก และแดดยังไม่ร้อน ก่อนที่ตลาดจะเริ่มวายประมาณแปดโมง จอดรถที่ข้างตลาด หรือ ถ้าไม่อยากเบียดเสียดก็ไปจอดในวัด บรรยากาศคึกคักของตลาดเห็นได้แต่ไกล ซอยอาหารทะเลตรงกับทางเข้าด้านที่ตรงมาจากวัด มีคนพลุกพล่านที่สุด…
ฐาปนา
ทุกเช้า ประมาณตีสี่ครึ่ง หอกระจายข่าวกลางหมู่บ้านจะเปิดข่าวเช้า(มืด)จากสถานีวิทยุของจังหวัด เป็นสัญญาณให้ทุกบ้านตื่นนอน เตรียมตัวมาปฏิบัติภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าว เตรียมใส่บาตร เตรียมตัวรอขึ้นรถไปโรงเรียน เตรียมตัวรอขึ้นรถไปทำงาน ใครไม่ตื่นก็ต้องตื่น เพราะเสียงดังจนตามเข้าไปถึงในฝัน รายการเช้ามืด เริ่มต้นด้วยเพลงปลุกใจให้ยึดมั่นในสถาบัน แล้วตามด้วยธรรมเสวนา จากเจ้าอาวาสวัดที่เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด ตามด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร การทำมาหากิน โครงการต่างๆ จากรัฐบาล และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ฐาปนา
ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากทะเล ป่าและเขาก็อยู่ไม่ไกล มีคลองส่งน้ำจากเขื่อนผ่านพื้นที่อย่างทั่วถึง ทำนาได้ปีละสองครั้ง ด้านป่าบนติดเขื่อน เขาปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ผลที่มีรสชาติไม่น้อยไปกว่าทางภาคใต้หรือทางภาคตะวันออก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ถนัดปลูกผัก เพราะเก็บขายได้ตลอดทั้งปี แต่ละวันจะมีรถสิบล้อขนผักผลไม้ วันละหลายสิบคันวิ่งจากตำบลต่างๆ ในอำเภอ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ พระประแดง สมุทรปราการ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ พร้อมด้วยผลิตผลทางการเกษตรสารพัดอย่าง ตั้งแต่ของจำเป็นในครัวอย่าง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริก หอม กระเทียม ไปจนถึงผักเจ้าประจำบนแผงผักทั้ง กะเพราะ โหระพา สะระแหน่ บวบ…
ฐาปนา
ดั้งเดิม ก่อนที่แต่ละบ้านจะมีเอกสารกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของตัวเอง บ้านส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “รั้ว” อย่างเป็นทางการ เพราะแต่ละบ้านในละแวกก็ล้วนพี่น้อง หรือนับไปนับมาก็ญาติกันทั้งนั้น อาจปลูกต้นไม้เป็นแนวให้บอกได้ว่าเป็นแดนใคร แต่จะถึงขั้นปักเสาขึงลวดหนาม หรือก่อกำแพงล้อมนั้นน้อยราย เพราะถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเงิน เขตบ้านใครก็บ้านมัน ถึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถึงไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ไม่ก้าวก่ายกันอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครคนหนึ่งเกิดอยากทำเอกสารสิทธิ์ที่ดินของตน จากที่เคยชี้นิ้วบอกว่านี่เขตใคร การออกเอกสารสิทธิ์…
ฐาปนา
วัยเยาว์ของเธอ ขณะที่หัวใจครึ่งหนึ่งเปี่ยมด้วยความฝันและความหวัง ทะเยอทะยานปรารถนา แต่หัวใจอีกครึ่งกลับอ่อนไหว บอบช้ำง่าย ทั้งยังอ่อนด้อยต่อโลกแห่งเหตุผล อนาคตเลือนลางอยู่ในความฝันยามหลับ และวนเวียนอยู่ในความคิดยามตื่น เธอร่ำร้องหาบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่อาจบอกได้ มองไม่เห็น ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้จุดสิ้นสุด พลังสร้างสรรค์ของเธอฟุ้งกระจาย ไร้ทิศทาง เมื่อคำว่า ความพร้อม อยู่ห่างจากความเข้าใจ เธอจึงได้แต่ก่นโทษตนเองอยู่เป็นนิจ เธอร่อนเร่ไปในเมืองของผู้อื่น จากเมืองสู่เมือง แลกความเพียรกับเงินเลี้ยงชีพ ยิ้มแย้มให้คำดูหมิ่นเพื่อจะได้เห็นเกียรติของตนเสื่อมค่าลง
ฐาปนา
(มะพร้าวกะทิ)ตอนอายุสิบขวบ ผมค้นพบว่าโลกนี้มีผลไม้ประหลาดที่เรียกว่า “มะพร้าวกะทิ” เมื่อพ่อซื้อมันมาจากตลาดฟังดูน่าหัวเราะ เหมือนชาวเมืองมาคอนโดค้นพบว่าโลกนี้มีน้ำแข็ง ในนวนิยายมหัศจรรย์เรื่องหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวแต่นี่คือเรื่องจริงในวัยเด็กของผมอาจเป็นเพราะมันไม่ใช่ของที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นที่ผมอยู่ ไม่ใช่ของที่หากินได้ทั่วไป จึงได้มีราคาสูงถึงลูกละ 50 บาท ซึ่งแน่ละ สำหรับยี่สิบปีก่อน ถือว่า แพงมาก แล้วเมื่อแพงขนาดนี้ ก็ย่อมไม่ใช่ของที่จะซื้อกันบ่อยๆผมจำความตื่นเต้นในการเจอหน้าครั้งแรกได้ดี มะพร้าวอะไรกัน มีเนื้อเต็มลูก ไม่แข็งแต่นิ่มๆ หยุ่นๆ รสชาติก็ลื่นๆ มันๆ…
ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว…
ฐาปนา
ในวัยหนุ่มสาว ขณะที่จิตใจยังถูกครอบงำด้วยความโรแมนติกเช่นเดียวกับหลายคน ผมฝันถึงบ้านที่มองเห็นภูเขา ฟ้ากว้าง ได้เฝ้ามองหมู่เมฆเคลื่อนคล้อย อาบกายด้วยแสงอัสดงทุกวัน หรือ บ้านที่อยู่ริมทะเล เห็นเส้นขอบฟ้าไร้จุดสิ้นสุด ไกวเปลตามลมเห่ ต้นมะพร้าวโยกเอน นอนฟังเสียงคลื่นกล่อมชั่วกาลทว่าในบริบทของชีวิต ผู้ที่สามารถมีบ้านอย่างที่ฝันมีไม่มากเลย ทั้งเมื่อมีแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่าจะแต่งเติมภาพฝันจนเสร็จจริง คนที่ให้ค่ากับความฝันสูงยิ่งทั้งไม่ยอมให้ความยากลำบากในชีวิตจริงมาบั่นทอนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ได้รับที่พำนักของหัวใจชั่วชีวิตเงื่อนไขของแต่ละคนไม่เท่ากัน…
ฐาปนา
เสียงจักจั่นกรีดปีกจากป่าเชิงดอย ฝ่าไอแดดร้อนมาถึงเคหะสถานเงียบงัน รถกระบะบรรทุกหนุ่มสาวร่างเปียกปอนยืนล้อมถังน้ำใบใหญ่แล่นผ่านไปหญิงชราถือสายยางเดินออกมาหน้าบ้าน ฉีดน้ำใส่พื้นถนน ไอน้ำระเหยขึ้นเด็กๆ หิ้วถังพลาสติก ขัน ปืนฉีดน้ำ มองสองข้างทางอย่างมีความหวังร้านขายน้ำปั่น น้ำแข็งไส ขายดีจนต้องสั่งน้ำแข็งเพิ่มในช่วงบ่ายเจ้าของโรงทำน้ำแข็ง หน้าบาน แต่ลูกจ้างหน้าเหี่ยว เพราะข้าวสารขึ้นราคาลิตรละหลายบาทแต่ค่าแรงเท่าเดิม    ดวงอาทิตย์กลับมาอยู่ใกล้ชิดโลก เหมือนคนรักที่ได้เจอกันแค่ปีละครั้งมวลอากาศอบอ้าวเข้าเกาะกุมผิว ยึดทุกรูขุมขน เหงื่อเค็มถูกขับซึมเสื้อ เหนอะหนะ…
ฐาปนา
“...ทว่าการเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์ครั้งนี้ต้องอาศัยปัญญามหาศาล ความกล้าหาญมหึมา และความมุ่งมั่นเหลือคณา เพราะความกลัวจะจู่โจมถึงแกนกลางของแนวคิดนี้ และป่าวร้องว่าผิดพลาด ความกลัวจะกัดกินเข้าไปยังแก่นแห่งสัจธรรมล้ำเลิศและแปลงให้เป็นเรื่องเท็จเทียม ความกลัวจะบิดเบือน และทำลาย ฉะนั้นความกลัวจะเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด ทว่าเธอไม่อาจมีและไม่อาจสร้างสังคมที่ปรารถนาและใฝ่ฝันมาช้านานจนกว่าจะเห็นปัญญาและกระจ่างชัดถึงปรมัตถ์สัจจ์ที่ว่า สิ่งที่เธอทำแก่ผู้อื่นเธอก็ได้ทำแก่ตัวเอง สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ผู้อื่น เธอก็ไม่ได้ทำให้ตัวเอง ว่าความเจ็บปวดของผู้อื่น ก็คือความเจ็บปวดของตัวเธอ…