Skip to main content

แกชื่อยายอิ่ม

ผู้เคยเฉิดฉายในวงสังคม เพราะคัดสรรเฉพาะสามีรวย หนีออกจากบ้านไปมีผัวตั้งแต่อายุสิบสอง

ผ่านมาสี่สิบกว่าปี มีผัวมากี่คน คงนับได้ยากเสียแล้ว


พอยายอิ่มแก่ตัวลูกก็หนีหาย ต่างคนต่างไป ไม่มีใครเลี้ยง สุดท้าย แกคว้าตาหงอก ผู้(อ้างว่า)เป็นผู้ดีเก่ามาไว้หาเลี้ยงจนได้


สมัยสาวๆ ยายอิ่มได้มรดกจากพ่อแม่ไปเยอะ แต่ขายกินจนหมด แกมีชื่อเสียงมากด้านความคด ในข้องอในกระดูก ถึงขนาดที่ แม้แต่พี่น้องด้วยกันก็ยังโดน จนต้องตัดพี่ตัดน้องกันนั่นแหละ


ในที่สุด พอแก่ตัวไม่มีที่จะอยู่ ต้องมาบีบน้ำตาขอที่จากแม่เฒ่า ซึ่งแม่เฒ่าแกก็ค่อยอยากจะให้ เพราะให้ไปมากแล้ว (แต่เอาไปขายกินหมด) แล้วแกก็ตั้งใจว่าจะเอาไว้แบ่งให้หลานๆ ที่ดูแลแก


สุดท้ายด้วยความสงสารลูก แม่เฒ่าก็จำต้องขายให้ในราคาถูกๆ กะว่าจะได้พอมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามชราบ้าง ทว่า เมื่อปลูกบ้านเสร็จ ยายอิ่มกลับทำเฉย เบี้ยวเงินค่าที่ของแม่ตัวเองซะงั้น


ก่อนแม่เฒ่าจะตาย แกบอกหลานๆ ไว้ว่า แกแช่งไว้แล้ว ใครเบี้ยวเงินแกขอให้มันมีอันเป็นไป

ตอนงานศพแม่เฒ่า ยายอิ่มแทบไม่มาดูดำดูดี ไม่ช่วยเงินสักบาท ไม่ออกแรงช่วยอะไรทั้งสิ้น

ชะรอยคำแช่งของคนแก่จะมีผล ยายอิ่มทำอะไรไม่เคยรอด


ขายข้าวแกง ก็ขออาศัยที่หน้าบ้านหลานสาว แต่ไปใช้ไฟใช้แก๊สเขาไม่เคยให้เงิน ไหว้วานหลานเขยไปขนของก็ไม่เคยให้ค่าน้ำมัน มากินมาใช้ที่บ้านหลานสาวตลอด แถมหยิบฉวยข้าวของในบ้านเขาไปใช้ก็ไม่เคยคืน แต่พอหลานสาวจะขอมะม่วงกินสักลูก สะบัดหน้าหนีเหมือนคนไม่รู้จักกัน


แรกๆ ข้าวแกงก็ขายดีแม้จะแพงไปหน่อย แต่แล้วยายอิ่มก็เริ่มเป็นแผลที่ขาเหวอะหวะ เรื้อรังรักษาไม่หาย แกบอกว่าแกเป็นเบาหวาน แต่ชาวบ้านคิดว่า เอ ไอ ดี เอส แน่ๆ เลยไม่มีใครกล้ากินของแก สุดท้ายต้องเลิกขาย


ยังไม่พอ ที่หน้าบ้านหลานสาวที่อาศัยขายของ แกยังทำท่าจะฮุบเป็นของตัวเอง หลานสาวเลยจำใจต้องกั้นรั้ว ต่างคนต่างอยู่ดีกว่า


ยายอิ่มตระเวนหางานไปทั่ว แต่ไม่มีใครให้ทำ เพราะเข็ดขามกับนิสัย มีไม่เคยแบ่ง แต่ชอบแย่งคนอื่นกิน แม้จะพยายามคบหากับคนมีตังค์เพื่อหวังผลประโยชน์บ้าง แต่คนรวยส่วนใหญ่ก็ไม่โง่ให้แกเอาเปรียบ


หลังๆ ตาหงอก ไปค้าขายที่กรุงเทพฯ ทำให้ยายอิ่มอยู่สบาย วันๆ ไม่ต้องทำอะไร ผัวหาเลี้ยง แถมทำเลี้ยงด้วย ว่ากันว่า ตาหงอกทำพระปลอม ตะกรุดปลอมขาย กระนั้นก็ยังมีคนปัญญาเบาเชื่อว่า ยายอิ่มกับผัว เป็นคนใจพระธรรมะธัมโม


ตาหงอกเองก็เอาเปรียบคนเก่งไม่แพ้ยายอิ่ม แถมยังชอบคุยเขื่อง จนทำให้ชาวบ้านหมั่นไส้


ทุกเช้าแกจะไปนั่งที่ร้านค้าประจำหมู่บ้าน กินกาแฟ (กระป๋อง) พูดถึงงานที่มีคนมาจ้าง แล้วพูดถึงเงินเรือนหมื่นเรือนแสน ถ้ามีใครสนใจไถ่ถาม แกยิ่งคุยฟุ้ง


สังเกตเสียหน่อยก็จะรู้ ถ้ารวยอย่างที่คุย คงไม่ปั่นจักรยานต๊อกๆ อยู่ ซื้อรถเครื่องไว้ใช้สักคันก็ไม่มีใครว่าหรอก


วันหนึ่ง ยายอิ่ม ติดจานดาวเทียม ต่อห้องให้นายอู๊ดลูกชาย กับเมียที่จะย้ายมาอยู่ด้วย ซึ่งในเวลาต่อมา ยายอิ่มคงจะคิดได้ว่า ไม่น่าเลย


นายอู๊ด ลูกชายยายอิ่ม ชาวบ้านรู้จักกันดี ในฐานะของคนที่ “คุณก็รู้ว่าไม่ควรไปยุ่ง” เพราะได้นิสัยแม่มาเต็มๆ ดูเหมือนจะคูณสองเสียด้วย


ขณะที่ยายอิ่มโกงอย่างเงียบๆ แต่นายอู๊ด โกงแบบซึ่งๆ หน้า ยืมเงินใครก็ชักดาบเฉยๆ เสียอย่างนั้น เงินร้อยเงินพัน ไม่เคยใช้คืน จนใครต่อใครเขารู้กันทั่ว กระทั่งญาติพี่น้องยังระอา ถ้าใครไม่ช่วย ไม่ให้ยืมเงิน นายอู๊ดก็จะตัดพ้อด้วยประโยคคลาสสิก

...ไม่เอาพี่เอาน้องเลย...”


ขณะที่ญาติๆ เริ่มคิดได้แล้วว่า พี่น้องแบบนี้ ไม่เอาเสียดีกว่า

นายอู๊ดเคยเมาเข้าไปยืมตังค์ญาติแล้วเขาไม่ให้ ก็ตามไปชกเขาถึงในบ้าน นายอู๊ดเกือบจะต้องไปนอนในคุก ถ้าผู้ใหญ่ไม่มาขอไว้


นายอู๊ดเคยก่อความเดือดร้อนไปทั่ว ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รอด เพราะปากดี แต่ไม่เคยทำความดีพฤติกรรมก็ใกล้เคียงโจรเข้าไปทุกขณะ ต่างตรงที่ไม่ได้เอาปืนไปจี้เท่านั้น

ร้ายยิ่งกว่านั้น ใครๆ ก็รู้ว่า นายอู๊ดเป็น “จ๊อกกี้” ชอบควบม้าเป็นประจำ แม้ตอนนี้จะราคาเม็ดละหลายร้อย แต่คนมันติดเสียแล้วก็ต้องหามาจนได้ เล่นเองไม่พอ ยังเอามาขายให้เด็กวัยรุ่นในหมู่บ้านติดงอมแงมไปตามๆ กัน


ตามแบบของคนเล่นของ เล่นมากเข้างานการก็ไม่ทำ เคยรับจ้างญาติทำงานในตลาดสบายๆ ก็ไม่ไป นอนอยู่บ้านให้ภรรยาหาเลี้ยง วันๆ เพื่อนฝูงแวะเวียนมาหา ทีละคนสองคน มาแล้วก็แวะเวียนเข้าไปในห้อง ทำอะไรกันเงียบๆ อยู่พักหนึ่ง ก็กลับออกไป


ตั้งแต่นายอู๊ดมาอยู่บ้านยายอิ่ม เพื่อนบ้านต้องระวังข้าวของให้ดี เผลอเมื่อไรมันขนไปขายหน้าตาเฉย


คนที่เดือดร้อนคือยายอิ่ม กับตาหงอก กลัวว่าสักวันจะมีแขกที่ไม่ได้รับเชิญมาเคาะประตู ถ้าเปิดมาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ คงต้องทรุดตัวลงกราบสถานเดียว


ทั้งนายอู๊ดเองก็ไม่เคยเกรงใจใครทั้งสิ้น อย่าว่าแต่ห้ามปรามหรือตักเตือนเลย อยู่ๆ ไปคิด(เอาเอง)ว่าตัวเองเป็นเจ้าของบ้าน ชี้นิ้วสั่งตาหงอกให้ทำกับข้าวให้ จนตาหงอกชักจะเหลืออด ต้องบ่นออกมาดังๆ ว่า

...ถ้าไม่ไหว กูก็ไปละโว้ย...”


นั่นคือ ถ้าทนไม่ไหวแกก็กลับไปอยู่เมืองกรุง สบายใจกว่า ทำมาหากินสะดวกกว่า

ยายอิ่มเองก็เริ่มจะคิดได้ว่า ตัดสินใจผิดที่ให้ลูกชายมาอยู่ด้วย เพราะนิสัยที่ติดตัวมันมาตั้งแต่เกิด ไม่เคยเปลี่ยนเลย เงินมันหามาได้ก็ไม่เคยให้แม่สักกะบาทเดียว ถ้าตาหงอกหนีกลับไปอยู่กรุงเทพฯ ยายอิ่มก็หมดสิ้นทุกอย่าง เพราะทุกวันนี้ ตาหงอกหาเลี้ยงทั้งนั้น


ในที่สุด ยายอิ่มก็เริ่มเปรยกับญาติที่มีเงินว่าอยากจะขายบ้าน กลับไปอยู่กรุงเทพฯ

เหตุผลนั้นถึงไม่บอกก็รู้ ยายอิ่มอยากจะย้ายหนีลูกชาย เพราะไล่มัน มันก็คงไม่ไปแน่ๆ


ชาวบ้านนินทากันหน้าร้านขายหมู

...ยายอิ่มทำกับแม่ตัวเองไว้ยังไง ตอนนี้ไอ้อู๊ดทำกับยายอิ่มยิ่งกว่าเสียอีก...”


เดี๋ยวนี้ พอตาหงอกจะเข้ากรุงเมื่อไร ยายอิ่มก็หวาดระแวงทุกครั้ง กลัวตาหงอกจะทิ้งแกไป ขณะที่ไอ้ลูกชายตัวดี ก็ไม่รู้วันไหนมันจะพาตำรวจเข้าบ้าน หรือจะพาความเดือดร้อนอะไรมาให้อีก


ไปๆ มาๆ จะพลอยซวยติดร่างแห เข้าตะรางตอนแก่ยิ่งแย่หนัก


คนเรายิ่งอายุมาก ความเสื่อมยิ่งเข้าครอบงำ

ร่างกายเสื่อมมันก็เป็นธรรมดาของสังขาร ไม่อาจฝืนได้

แต่จิตใจคนเรานั้น หากไม่พยายามยกขึ้นให้สูง มันก็จะเสื่อมเร็วยิ่งกว่าร่างกายเสียอีก

ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวไม่น่าคบแบบบ้านๆ อย่างยายอิ่มกับตาหงอก หรือ ครอบครัวอดีตผู้นำที่กำลังเผชิญชะตากรรม “ฟ้าเคืองสันหลัง” ดูๆ ไปก็คล้ายกัน


บั้นปลายชีวิตที่เต็มไปด้วยกิเลศ เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว

กับบั้นปลายชีวิตที่วางได้ ละได้

แตกต่างกันแค่ไหน


เราทุกคนมีสิทธิ์เลือกอย่างเท่าเทียม


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…