Skip to main content

ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง


ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น

อธิบายที?” ลุงใบถาม

เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน ไม่รู้จักสิ้นสุด แล้วพอมันออกไป มันก็พลอยทำบ้านเมืองแย่ไปด้วย” ตาสุขว่าแบบปรัชญา


ถ้างั้น เอ็งว่า รัฐบาลนี้มันเปรียบเหมือนข้าวอะไร” ตาผวนแหย่

ข้าวเน่า” ตาสุขว่า

สามเฒ่าหัวเราะกันครืน


นี่แน่ะ...” ลุงใบเปิดประเด็นบ้าง “เอ็งพูดมาข้าก็คิดได้ ว่าไอ้การเมืองไทย มาเปรียบเทียบมันก็เหมือนเรื่องข้าวจริงๆ”

ยังไงล่ะ?” ตาสุขถาม

เก๊าะ...ทีเมล็ดข้าวเราเลือกเองได้ จะเอาพันธุ์ไหนแบบไหน ข้าวเบา ข้าวหนัก ข้าวนุ่ม ข้าวแข็ง แล้วทำไม นักการเมืองเราถึงเลือกเองบ้างไม่ได้?”

เอ๊า...เอ็งนี่ ส.. เขาก็เพิ่งจะเลือกไป เอ็งกับข้าก็เพิ่งจะเข้าคูหาไปกาบัตรกันมาหยกๆ ยังว่าเลือกเองไม่ได้อีกรึ?” ตาผวนท้วง


ลุงใบสั่นหัวดิก

ไม่ใช่...ข้าไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น ข้าหมายความว่า ไอ้พวกรัฐมนตรี รัฐมนโท นายก นาดำ ทั้งหลายน่ะ มันน่าจะให้ชาวบ้านเป็นคนเลือก ไม่ใช่ให้ไปเลือกกันเองอย่างทุกวันนี้”

อธิบายที?” ตาสุขกระดกกาแฟกระป๋อง

เก๊าะ...ทุกวันนี้รัฐบาลบริหารประเทศน่ะ เราไม่ได้เป็นคนเลือกนาโว้ย เราเลือกแต่ ส.. แล้วหัวหน้าพรรคไหนได้ ส..เยอะ หัวหน้าพรรคนั้นก็ได้จัดตั้งรัฐบาล เป็นนายกฯ ไป ทีนี้ไอ้นายกฯ นี่จะเลือกใครมาเป็นรัฐมนตรีมาร่วมรัฐบาล ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ไปยุ่งด้วย มันจะเอาน้องเมีย พี่เขย หลานพี่สะใภ้ เพื่อนคนใช้ของเมียน้อย มาเป็นรัฐมนตรีก็ได้ การเมืองบ้านเรามันก็เลยปั่นป่วนอลหม่าน มีแต่เรื่องผลประโยชน์ เรื่องพวกพ้อง วิ่งชิงเก้าอี้กันฝุ่นตลบอยู่ทุกวันนี้ไงเล่า” ลุงใบอธิบายทฤษฎีส่วนตัวให้ฟัง ตาผวนกับตาสุข พยักหน้าหงึกๆ


แถมแต่ละกระทรวง มันเอาใครมานั่งก็ไม่รู้ เจ้าเล่ห์หัวหมอยิ่งกว่าปลาหมอก็มี หน้าด้านยิ่งกว่าถนนก็มี ถ้าชาวบ้านเลือกเองได้ว่าใครจะมานั่งกระทรวงอะไร ทีนี้ไอ้การแบ่งเค้ก สัดส่วน โควต้ง โควต้า ส.. อะไร ก็เอวังไปเลย”

แล้วถ้าทำงานไม่ดี หรือ ทุจริตคอรัปชั่นล่ะ?” ตาสุขสงสัย

ก็ถอดถอนสิ แล้วเลือกตั้งใหม่”


แล้วนายกรัฐมนตรีล่ะ”

ก็เลือกเหมือนกันน่ะแหละ”

แล้ว ส..ล่ะ”

ก็เลือกเหมือนเดิม”


ตาสุข กับ ตาผวน นิ่งอึ้งไปกับความคิดแหวกแนวของลุงใบ

ถ้างั้น...” ตาผวนพยายามตั้งข้อสังเกตุ “ เวลาเลือกตั้งที ไม่ยุ่งยากตายเลยรึ ไหนจะผู้สมัคร ส.. ไหนจะผู้สมัครเป็นรัฐมนตรี”

แหม...ไม่เห็นยาก ส.. ก็เลือกเหมือนเดิมจะแบ่งเขตรวมเขตก็เถอะ แต่เลือกรัฐมนตรีอาจจะยุ่งหน่อยเพราะมีหลายตำแหน่ง หลายตัวเลือก แต่ก็ยุ่งแค่ตอนแรกเท่านั้นแหละ เพราะว่าพอเข้าไปทำงาน ถ้าไม่ดีจริง ก็อยู่ได้ไม่นาน เดี๋ยวก็ต้องโดนเปลี่ยนออก”

เออ...ก็เข้าท่าดีแฮะ” ตาสุขชักจะเห็นด้วย “แต่ถ้าอย่างนั้น มันมิต้องเลือกตั้งกันถี่ยิบเลยเรอะ รัฐมนตรีมีตั้งหลายตำแหน่ง”

เอ๊า ! ยิ่งดีสิ” ลุงใบหัวเราะชอบใจ “ปีหนึ่งๆ เลือกตั้งสัก 5-6 ครั้ง ชาวบ้านจะได้ตื่นตัวเรื่องการเมือง กกต. ก็จะได้มีงานทำบ้าง ปปช. ก็พุ่งเป้าเป็นรายๆ ไปเลย ทีนี้ ใครมันเหมาะจะไปบริหารกระทรวงไหน เราก็เลือกได้ ไม่ใช่ให้พวกนักการเมืองมันเลือกกันเอง อย่างนี้สิ อำนาจมันถึงเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เหมือนเราได้เลือกพันธุ์ข้าวเอง ยังไงมันก็ต้องออกมาดี ” ลุงใบตบท้ายอย่างฮึกเหิม


แต่ข้าว่า...ถ้าการเมืองไทยเปรียบกับเรื่องข้าวอย่างเอ็งว่า การเมืองไทยไปไม่รอดหรอกว่ะ ” ตาผวนแย้งบ้าง

ไหนว่ามาซิ...?”

คนทำไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ทำ เดี๋ยวนี้คนทำนา ได้ข้าวก็ขายหมด พอได้เงินค่อยเอาเงินไปซื้อข้าวกิน ส่วนคนกินข้าว เขาก็ไม่สนใจอะไรหรอก ขอให้ข้าวราคาถูกอย่างเดียว”

แล้วมันเหมือนเรื่องการเมืองยังไงเล่า?”

เก๊าะ...เราเลือกคนเข้าไปเป็นนักการเมือง แต่เราก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการที่เราเลือกพวกมันเข้าไป ส่วนพวกมัน พอได้เป็นน้กการเมืองแล้ว ก็ไม่สนอะไรอีก ขอให้อยู่จนครบสมัยก็พอแล้ว ไอ้ระบบที่เอ็งเสนอข้าก็ว่าเข้าท่าดี แต่ไม่มีไอ้รัฐมนโทคนไหนมันเอาด้วยหรอก เพราะมันเสียประโยชน์ มันโกงกินไม่ได้”


ตาสุข กับลุงใบพยักหน้าเห็นตาม

ตาผวนถอนหายใจเฮือกใหญ่

...ถ้านักการเมืองมันเลว มันก็เหมือนอย่างที่เอ็งว่านั่นละ...จะทำนาหว่าน หรือนาดำ ถ้าข้าวมันเน่า ต่อให้ใส่ปุ๋ยเป็นตันๆ มันก็ไม่ขึ้น ต่อให้เปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหม่ แต่ถ้ายังมีไอ้หน้าเดิมๆ อยู่ มันก็เน่าเหมือนเดิมนั่นละว้า...”

งั้นเอ็งว่า...อนาคตการเมืองไทย...จะมืดมิดมืดมนหรือเปล่าวะ?” ลุงใบพยายามสรุป

ตาผวนหัวเราะจนเห็นเหงือก


มันก็เหมือนเรื่องข้าวไงเล่า...เอ็งเห็นอนาคตของข้าวบ้างหรือเปล่าล่ะ...เหมือนกันนั่นแหละ ฮ่า – ฮ่า-ฮ่า !”


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…