Skip to main content

เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง

แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า


กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร


พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ”

เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน

แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ

มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง

มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...กูตาฝาดไปเอง...?

มองไปรอบบ้าน เมื่อไม่เห็นดวงไฟที่ว่านั้นแล้ว แกก็ปิดไฟ กะว่าจะรีบขึ้นบ้าน

แต่พอไฟดับเท่านั้นเอง ขนหัวแกก็ลุกซู่ ดวงไฟดวงนั้นมันมาอยู่ตรงเสาเรือนข้างตัวแก

ทิดช่วงเผ่นขึ้นเรือนด้วยความเร็วระดับสถิติโลก

...


ทั้งหมดนี้คือที่แกเล่าให้แก่เพื่อนบ้านไม่กี่คนได้ฟัง ไม่ถึงสัปดาห์ เรื่องนี้ก็เป็นที่รู้กันไปทั่วหมู่บ้านแถมยังลามไปถึงหมู่บ้านข้างเคียง แล้วก็ชักนำเรื่องในทำนองเดียวกันออกมาอีกหลายเรื่อง


ลุงราน กับป้าเจือน บ้านอยู่ติดทุ่งนา ก็เล่าว่า ตอนดึกๆ แกสองคนเจอดวงไฟที่ว่าเป็นประจำ มันมาลอยสูงๆ ต่ำๆ อยู่ในนา ตอนแรกคิดว่าเป็นหิ่งห้อยตัวใหญ่ ก็ไม่ได้สนใจ แต่พอได้ยินเรื่องของทิดช่วงก็เลยชักไม่แน่ใจซะแล้ว


ไอ้น้อยกับไอ้ต๊อก เคยออกไปวางเบ็ดตอนกลางคืนที่ริมหนองน้ำ เจอดวงไฟวิ่งไล่ จนต้องเผ่นกระเจิง หลังจากวันนั้น มันก็ไม่กล้าไปวางเบ็ดกันอีกเลย


น้าเป้าหนุ่มใหญ่วัยห้าสิบ เล่าว่า ดวงไฟนี้เห็นกันมาตั้งนานแล้ว บางช่วงก็หายไป บางช่วงก็กลับมาอีก คนสมัยก่อนเขาเรียกกันว่า “ผีจะกะ” เป็นครึ่งผีครึ่งคนเหมือนผีกระสือ พอตกกลางคืน ดวงไฟจะลอยออกจากร่างเจ้าของออกไปหากินของคาวของเน่า พวกเศษขยะ สิ่งปฏิกูล ซากสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ใหญ่ทั้งหลาย


“...
ตอนข้าหนุ่มๆ ยังชวนเพื่อนไปไล่จับอยู่เลย เสียดาย...ไปรอตั้งสามสี่คืน ไม่ยักกะเจอ...”

น้าเป้าคุย

...งั้น...ไปไล่จับกันอีกมั้ยเล่า? น้าเป็นคนนำนะ เดี๋ยวพวกฉันตาม...” ไอ้เป๊กชวน แต่น้าเป้าส่ายหน้าดิก

...ไม่เอาล่ะ วิ่งไม่ไหว...กูแก่แล้ว...”


ใครต่อใครก็พูดคุยกันเรื่องผี จากปากต่อปาก บางทีก็เสริมแต่งพูดคะนองปากกันไปตามประสา แต่เอาเข้าจริง ก็ไม่มีใครอยากเจอ


ผลสืบเนื่องจากเรื่องผีๆ ที่โหมกระพือไปทั่วหมู่บ้าน ทำให้พอตกกลางคืน ในหมู่บ้านจะเงียบกริบ พวกวัยรุ่นที่ชอบมาสุมหัวคุยเสียงดัง หรือ บิดรถเครื่องกันสนั่นหวั่นไหว ก็พลอยหายไปด้วย


กระทั่งพวกลักเล็กขโมยน้อย ขโมยกล้วย ขโมยมะนาว ที่มีไม่เว้นแต่ละคืน ก็พลอยเงียบไปด้วย

...แหม...ผีมันน่าจะออกมาทุกคืนนะ ข้าจะได้นอนหลับสบาย...” ยายแป้ว เจ้าทุกข์ผู้ถูกลักของในสวนบ่อยๆ รำพึงขอบคุณผี ที่ทำให้ให้พวกหัวขโมยมันกลัว


หัวข้อถัดมาในการพูดคุยแบบลับเฉพาะ(กอสสิป) เนื่องจากผีพวกนี้ เป็นครึ่งผีครึ่งคน จึงเกิดคำถามว่า แล้วใครกันล่ะ ที่เป็นผี ? ...

...เมื่อหลายปีก่อน เขาว่าเป็น ยายอิ่ม...” น้าหวี ผู้สัดทัดกรณีผีสาง อธิบาย “...ลูกชายแกเคยมาเล่าให้ข้าฟังว่า พอตกกลางคืนแม่แกจะออกจากบ้านไปไหนก็ไม่รู้ พักใหญ่ๆ ถึงจะกลับมาบ้าน เป็นอย่างนี้ทุกคืน...จะตามไปดูก็ไม่กล้า ตอนหลังๆ มันได้งานที่อื่น เลยย้ายออกไป...แต่ยายอิ่มแกก็ตายไปตั้งหลายปีแล้ว...”

แล้วตอนนี้น่าจะเป็นใครล่ะน้า?...” ไอ้เป๊กถาม


“...
ที่เข้าข่ายก็น่าจะเป็น ยายจอบ แม่แก่(ยาย)ของทิดช่วงนั่นแหละ เพราะอยู่บ้านเดียวกัน...ผีที่ไหนมันจะเข้ามาบ้านได้ ถ้าไม่ได้อยู่บ้านนั้น...” น้าหวีตั้งข้อสังเกตุ

แต่ยายจอบแกไม่สบาย ย้ายไปอยู่กับลูกชายคนโตในจังหวัดตั้งนานแล้วนี่...”

...อ้าว...เหรอ...ถ้างั้น ก็ต้องเป็นยายไน้ เพราะพวกนี้บ้านจะสะอาดผิดปกติ แล้วยายไน้ก็อยู่กับตาเผย ผัวแกแค่สองคน ลูกหลานไม่ได้อยู่ด้วย ยายไน้แน่ๆ เลย...”


น้าหวี ตั้งหน้าตั้งตา หาข้อสังเกตุจับคนมาเป็นผีให้ได้

...น้าหวี ไปไล่จับผีกับผมดีกว่า เขาว่าพวกนี้ ถ้าจับได้ก็จะรู้ว่าใครเป็น...” ไอ้เป๊กพยายามหาผู้ใหญ่ไปเป็นผู้นำ แต่น้าหวีส่ายหน้าดิก

...มึงจับได้ค่อยมาเรียกกูเหอะ...กูไม่ไปด้วยหรอก...” น้าหวีเดินหนีเข้าครัว


เรื่องผีโด่งดังถึงขนาดที่คนหมู่บ้านอื่นมาถาม และทำท่าว่าจะดังขึ้นเรื่อยๆ เพราะลุงจิตมีหลานทำงานอยู่ในบริษัททำรายการสารคดีที่กรุงเทพฯ แกบอกว่าจะติดต่อให้หลานมาถ่ายทำไปออกทีวี

ทว่า เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ เมื่อมีเรื่องใหม่มา เรื่องเก่าก็จางไป


เมื่อคณะลิเกมายึดศาลากลางหมู่บ้านเปิดวิกแสดงทุกค่ำคืน ทำให้ใครต่อใครพากันลืมเรื่องผีไปเสียสนิท


พระเอกก็หล่อ นางเอกก็สวย ทุกค่ำคืน เก้าอี้หน้าเวทีจะมีชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้านพากันมาจับจอง ก่อนลิเกจะเล่นก็มีการเรี่ยไรเงินพอเป็นพิธี พอพระเอกออก ก็ขอความกรุณาอีกรอบ พอนางเอกออก ก็ยังขอกันอีกรอบ กว่าลิเกจะเล่นจบ ชาวบ้านแต่ละคนก็จ่ายค่าดูไปคนละหลายสิบ


“...
พวกนี้เขามีของ มีคาถาเมตตามหานิยม ใครมาดูก็ต้องยอมให้ตังค์ทั้งนั้นแหละ...” ป้าแต้ว แม่ยกตัวหลักอธิบาย

ขณะที่ละครก็น้ำเน่า ดูข่าวก็เน่าพอๆ กับละคร เมื่อมีมหรสพมาให้ชมถึงที่ ชาวบ้านจึงหอบลูกจูงหลานไปดูลิเกกันทุกค่ำคืน กว่าลิเกจะเลิกก็เกือบห้าทุ่ม พวกเดินกลับบ้านคุยกันแซด ลืมเรื่องผีกันเสียสนิท


ผีตัวนั้น ถ้าหากมันมีอยู่จริง ก็คงจะโล่งอก ที่ไม่ต้องมีคนมาคอยจับจ้อง จะหากินก็สบายขึ้น

ของเน่าของบูด มูลคนมูลสัตว์ เศษอาหาร ฯลฯ ล้วนอาหารอันโอชะ

ทำนองเดียวกับ คนมีอำนาจในบ้านเมือง ล่อลวงประชาชนด้วยความบันเทิง


แล้วแอบโกงกินกันจนอิ่มแปร้


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…