Skip to main content

คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญ


วันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้าน

วันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง

ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ

แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..ข้าจะทำพวงมาลัยแบงค์ห้าร้อยคล้องคอให้ซะเลย...” ป้านิ่มว่า พลางยิ้มน้อยยิ้มใหญ่

...ได้ดูลิเกฟรีแล้วยังจะเอาไชยา มิตรชัยอีกเหรอป้า ? ...” น้าไก่สงสัย

...ข้าก็พูดไปงั้นแหละ...”

คืนนั้น ลิเกเล่นเรื่อง “มเหสีจำเป็น” ตามท้องเรื่อง เล่าถึง ตัวนางเอกซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ปลอมตนเป็นคนธรรมดา พร้อมด้วยสาวใช้คนสนิท หนีมาเที่ยวต่างเมือง ฝ่ายเจ้าชายเมืองนั้น กำลังกลัดกลุ้มพระทัยที่ถูกพระราชบิดาและพระราชมารดาบังคับให้แต่งงานกับเจ้าหญิงต่างเมือง เจ้าชายจึงคิดแผนจ้างหญิงสาวมาเป็นคนรัก เพื่อตบตาพ่อแม่ ซึ่งหญิงสาวคนนั้น ก็คือนางเอกที่ต้องตกกระไดพลอยโจนไปเป็นมเหสีจำเป็น


เรื่องดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ก่อนจะลงเอยอย่างสมหวังว่า ที่แท้ ทั้งสองก็เป็นคู่หมั้นคู่หมายกันอยู่แล้วนั่นเอง


ลิเก เริ่มเล่นตอนสองทุ่ม ไปจบเอาเกือบเที่ยงคืน เก้าอี้ห้าสิบตัวมีคนนั่งเต็ม ที่ยืนดูขาแข็งอีกหลายสิบ กระนั้นก็แทบจะไม่มีใครขยับกลับบ้านก่อนเลย พอลิเกจบก็เรียกเสียงปรบมือเกรียวกราว ป้านิ่ม น้าจู ยายแป้ว ยายจัน ควักแบงค์ห้าร้อย ส่งให้พระเอก นางเอก ที่เดินมากราบถึงตักคนให้ คนอื่นๆ ก็พากันควักแบงค์ยี่สิบ แบงค์ห้าสิบมาให้มั่ง กว่าจะเลิกราแยกย้ายกันกลับบ้าน พระเอกนางเอกกำเงินกันคนละฟ่อน สองฟ่อน


“...
พรุ่งนี้ จะไปงานที่ไหนต่อล่ะ ? ...” ยายนุ้ย เจ้าภาพถามหัวหน้าคณะ ขณะกำลังเก็บฉาก

...ไม่มีหรอกจ้ะ ช่วงนี้เข้าพรรษา งานหายาก...” หัวหน้าคณะยิ้มเศร้า ...ที่แม่นุ้ยจ้างพวกฉันนี่ก็เป็นงานเดียวในเดือนนี้ ...” พวกลิเก ชอบเรียกเจ้าภาพ หรือผู้อุปการะว่า แม่

... ไม่มีใครจ้าง แล้วอยู่กันยังไงล่ะ ?...”

...ก็แยกย้ายกันไป บ้างก็ไปรับจ้างเล่นแก้บน บ้างก็ไปรับจ้างเล่นตามงานศพ พวกที่มีสวน มีนาก็กลับไปทำ ก็อดบ้าง อิ่มบ้างเป็นธรรมดานั่นแหละจ้ะ ...”

...โถ...ลำบากแย่เลยนะ...”

...ไม่หรอกจ้ะ พวกฉันชินแล้ว...”

...เอางี้สิ ...ศาลาหมู่บ้านนี่นานๆ เขาถึงจะใช้ประชุมกันสักที ถ้ายังไม่มีที่ไปก็อยู่เล่นกันไปก่อน คนแถวนี้น่ะ เขาชอบดูลิเกกัน ได้น้อยได้มาก ก็ยังดีกว่าไปเร่ร่อนรับจ้างนะ...” ย้ายนุ้ยเสนอ


หัวหน้าคณะ กระพริบตาปริบๆ คิดคำนวณอย่างรวดเร็ว

...แล้วผู้ใหญ่บ้าน...”

...เดี๋ยวฉันไปขอให้ อยู่แค่ชั่วคราวคงไม่เป็นไรหรอก...”

หัวหน้าคณะ ก้มลงกราบขอบคุณยายนุ้ยผู้ชี้ทางสว่าง

 

นับจากวันนั้นเป็นต้นมา ลิเกคนยากคณะนี้ จึงเปิดวิกแสดงอยู่ที่ศาลากลางหมู่บ้านทุกค่ำคืน จะหยุดเล่น ก็แต่วันที่ฝนตกหนักจนไม่มีใครออกจากบ้านเท่านั้น


เพียงแค่สัปดาห์แรกผ่านไป หัวหน้าคณะก็เห็นว่า ตัดสินใจไม่ผิดเลยที่ปักหลักอยู่ที่นี่ เพราะ คนที่นี่ชอบดูลิเกกันจริงๆ จังๆ ดูกันได้ทุกคืน ไม่เคยเบื่อ ทางคณะก็เปลี่ยนเรื่องเล่นไปเรื่อยๆ ไม่มีซ้ำ ใช้เวลาตอนบ่ายซ้อม พอถึงเวลาเล่น ก็ดำเนินเรื่องไปตามบท


บางเรื่องก็มีหลายตอน ดูวันนี้ยังไม่จบก็ต่อวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ มะเรื่องนี้ ยาวยืดเป็นซีรีส์เกาหลี ขาประจำก็ไม่หนีไปไหน ยังคงมาให้กำลังใจกันคับคั่งทุกคืน

 

และไอ้ที่ถูกใจชาวคณะเหลือเกิน ก็คงเป็น บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ น้ำไฟไม่ต้องเสีย เปิดวิกกันที่ศาลา ชาวคณะก็กินอยู่หลับนอนกันเสียที่นั่น ห้องน้ำในศาลาก็มี แถมยังมีแม่ยก เอากับข้าวกับปลามาให้ทุกวัน...ปรีเปรมขนาดนี้ ลิเกก็ไม่อยากร่อนเร่ไปไหน

 

...เล่นทุกคืนไม่มีใครจ้าง แล้วลิเกมันได้เงินจากไหนล่ะ? ...” ไอ้เปีย คนไม่ดูลิเก ถามน้าหวี ซึ่งได้ยินเสียงลิเกเล่นชัดแจ๋วทุกวัน เพราะบ้านแกอยู่ตรงข้ามศาลา

...ก็เก็บเงินเอาน่ะสิ พอพระเอกออก ก็มีคนมาเดินเก็บตังค์ พอนางเอกออก ก็มาเก็บอีก แถมตอนใกล้ๆ จะจบก็มาเก็บอีกรอบ ก็ชาวบ้านน่ะนะ...มาดูแล้วก็ต้องให้ อย่างน้อยก็สิบยี่สิบ...”

...คนมาดูก็ใช่ว่าจะมาก คืนหนึ่งๆ มันจะได้เยอะสักแค่ไหนกันเชียว ? ...” ไอ้เปีย ถามพลางเคี้ยวลูกชิ้นทอดหยับๆ

...เอ็งก็คิดดูเอาเหอะ ขนาดข้า หลงไปดูเมื่อคืนก่อน ยังเสียไปคนเดียวตั้งหกสิบ แล้วที่ไปประจำๆ กันทุกคืน ตั้งร่วมยี่สิบสามสิบคนนั่นจะเสียคนละเท่าไร...คนละร้อยไม่พอละมั้ง...”

...แล้วจ่ายให้ทำไมตั้งเยอะแยะ เขาไม่ได้บังคับเสียหน่อย? ...”

...ข้าว่านะ...” น้าหวี ครุ่นคิด ...พวกลิเกมันต้องมีเมตตามหานิยม ใครไปดูก็ชอบ สงสาร เห็นใจ อดควักเงินให้ไปไม่ได้ พวกแม่ยกหลงลิเก ถึงให้นู่นให้นี่กันมากมายไงเล่า...แต่ข้าไม่ไปดูแล้ว เดี๋ยวอดให้ไม่ได้ เสียดายตังค์ว่ะ ...”

 

ว่ากันว่า คณะลิเกมีรายได้แต่ละคืน ร่วมพันสองพัน แต่หากเป็นคืนวันศุกร์วันเสาร์ รายได้จะมากเป็นเท่าตัว รายได้แค่นี้ อาจไม่มากหากแบ่งให้ชาวคณะทุกคน แต่กินฟรีอยู่ฟรี แต่ละคนเลยมีเงินเหลือเก็บกันวันละไม่น้อย


กระนั้น ก็ใช่ว่าจะมีแต่คนชอบ คนไม่ชอบก็มี แถมไม่ชอบอย่างหนักเสียด้วย

 

พี่โตคนทำงานโรงงาน กลับถึงบ้านสองทุ่ม อยากพักผ่อน ก็ไม่ค่อยได้พัก เพราะเสียงลิเกดังหนวกหูเหลือเกิน พี่โตไปโวยวายที่โรงลิเก จนผู้ใหญ่บ้านกับกำนันต้องมาช่วยไกล่เกลี่ย เป็นเรื่องเป็นราวกันอยู่หลายวัน จนลิเกต้องหันลำโพงไปอีกด้านหนึ่ง และเบาเสียงลงอีกหลายขีด กระนั้น พี่โตก็ยังไม่ค่อยพอใจ กลายเป็นคนแรกๆ ของกลุ่ม คนไม่เอาลิเก


ที่เด็ดสุดคือลุงจ่า

ลุงจ่า รำคาญป้านิ่มเมียแกที่ติดลิเกเหลือเกิน ไปดูทุกคืนน่ะไม่ว่า แต่เอาตังค์ไปให้ลิเกคืนละสามสี่ร้อย ลุงจ่า เห็นว่ามันเกินไป

...ทีแกไปกินเหล้า เข้าคาฟ่ คืนละตั้งเป็นพันข้ายังไม่บ่นเลย แค่นี้มีปัญหานักหรือไง...” ป้านิ่มโวยวาย

...ข้าเลิกเหล้าเลิกเที่ยวคาเฟ่มาตั้งปีแล้ว เอ็งนั่นแหละ เมื่อไรจะเลิกเอาตังค์ไปให้ลิเกเสียที เมื่อเช้าอีหนูมันมาบอกข้าว่า เอ็งไม่ให้ตังค์มันไปโรงเรียน เพราะให้ลิเกไปหมดแล้ว มันเลยต้องมาขอตังค์ข้า เอ็งจะว่ายังไง? ...” ลุงจ่า โวยมั่ง

แต่เถียงไปเถียงมา ลุงจ่าก็เถียงสู้เมียไม่ได้เหมือนเดิม พอตกค่ำ ป้านิ่มก็แต่งตัวไปนั่งหน้าแฉล้มดูลิเก คราวนี้ ลุงจ่า แอบตามไปพร้อมพกความแค้นมาเต็มกระเป๋า


ขณะลิเกกำลังดำเนินเรื่องไปอย่างสนุกสนาน ป้านิ่ม ที่นั่งอยู่แถวหน้า ก็ร้อง โอ้ย ! เสียงดัง แกยกมือขึ้นกุมหัว หันไปมองข้างหลัง


ลุงจ่า กำลังเหนี่ยวหนังสติ๊ก ก่อนจะปล่อยหินลูกเล็กเข้าเป้าที่กลางศรีษะป้านิ่มอีกครั้ง

โอ้ย !! ไอ้จ่า ! ไอ้บ้า ! เอ็งเอาหนังสติ๊ก มายิงข้าทำไม ?!” ป้านิ่ม ลุกขึ้นโวยวายเสียงดัง คนอื่นหันมามองเป็นตาเดียว พระเอกที่กำลังจะออกฉาก หยุดชะงักไปชั่วขณะ

อย่างเอ็งมันพูดไม่รู้เรื่อง ต้องโดนแบบนี้” ลุงจ่า ยิงโดนหัวป้านิ่มอย่างแม่นยำอีกหนึ่งลูก แล้วหัวเราะอย่างสะใจ


คราวนี้ ป้านิ่ม พ่นคำด่าออกมาเป็นชุดๆ พลางสาวเท้าเข้าหา ลุงจ่า ก็ว่องไวอย่างเหลือเชื่อ พอป้านิ่มขยับ แกก็ออกวิ่งพลางหันมายิง พอเสียงด่า กับร่างของสองลุงป้า ออกไปห่างจากโรงลิเก ชาวบ้านทุกคนก็ระเบิดเสียงหัวเราะกันอย่างครื้นเครง

...ลุงจ่า คิดได้ยังไงวะ เอาหนังกะติ๊ก มายิงป้านิ่ม...” ไอ้ปุ้ย หัวเราะจนน้ำตาไหล


ทุกคนพากันหัวเราะและพูดคุยเรื่องผัวเมียทะเลาะกันสดๆ ร้อนๆ ที่เพิ่งได้เห็น จนกระทั่งลืมลิเกไปชั่วครู่ พระเอกได้แต่ยิ้มแห้งๆ แต่พอหัวหน้าคณะพยักหน้าให้เล่นต่อพลางตีตะโพนเสียงดัง คนดูก็หันกลับมาดูลิเกตามเดิม

 

ลุงจ่า กลายเป็นสมาชิกหมายเลขสองของกลุ่มคนไม่เอาลิเก และกลุ่มที่ว่านี้ ก็ทำท่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อบ้าน ที่มีแม่บ้านติดลิเก


หลายครอบครัวเริ่มมีปัญหา เพราะคนในครอบครัวเกิดอาการ “หลงลิเก” มีเงิน มีของกิน ก็เอาไปให้ลิเก ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่หลายครั้ง ให้มากเสียจนคนในบ้านไม่มีจะกิน ขณะที่ลิเกผอมๆ ชักจะมีเนื้อมีหนัง บางคนก็เริ่มจะมีทองหยองใส่ ไอ้ตัวโกงถอยจักรยานคันใหม่เอี่ยมมาขับฉวัดเฉวียน


หัวหน้าคณะเริ่มเลียบเคียงถามคนในหมู่บ้านว่า แถวนี้มีที่ราคาถูกๆ ขายบ้างหรือเปล่า ใครได้ยินก็สงสัยว่า จะมาปลูกบ้าน หรือจะเปิดวิกลิเกเป็นการถาวรกันแน่ ขณะที่ ศาลาของหมู่บ้านก็เริ่มสกปรกเพราะคนอยู่กันเยอะ และถูกใช้งานทุกวันแต่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาด พอกรรมการหมู่บ้านมีเรื่องจะประชุม ก็ต้องย้ายไปขอยืมศาลาวัดแทน

 

คำถามเดียวที่กลุ่มคนไม่เอาลิเก และกลุ่มคนที่สงสัยว่าทำไมลิเกไม่ไปไหนเสียที ต่างพากันซุบซิบกันดังกระหึ่ม คือ

ผู้ใหญ่บ้าน ทำไมจึงยอมให้คณะลิเกใช้ศาลาของหมู่บ้านฟรีๆ ไม่ยอมไล่ไปไหนเสียที?”

บางคนรู้คำตอบดี แต่ขี้เกียจพูด อาจเพราะรู้ว่า พูดไปก็ไร้ประโยชน์ ทั้งระดับหมู่บ้านจนถึงระดับชาติ คำตอบนี้ก็ไม่ต่างกัน

 

ก็ถ้าผู้ปกครองไม่ได้ประโยชน์อะไร ทำไมสิ่งที่ไม่ถูกไม่ต้อง มันยังคงอยู่ได้เล่า ?

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…