Skip to main content
 

ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกัน

ซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกัน

นานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย ยิ่งใครก็ไม่รู้ ปล่อยข่าวว่า จะมีนักข่าวเคเบิลทีวีตามมาด้วย ชาวบ้านเลยต้องขยันเก็บกวาดกันผิดปกติ

วัว ควาย เป็ด ไก่ หมู หมา แมว กระสอบ จอบ เสียม รถเข็น เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ ถูกเก็บ ถูกจัด ถูกวางแบบที่ไม่เคยเป็นระเบียบอย่างนี้มาก่อนในรอบสิบปี พวกหนุ่มๆ ถูกเกณฑ์มาทำความสะอาดอนามัย อบต. ศูนย์เด็กเล็ก ชมรมผู้สูงอายุ ถนนหนทางของหมู่บ้าน ทั้งเก็บขยะ ดายหญ้า กวาดถนน

และหมายกำหนดการในวันศุกร์ของท่านผู้ว่าฯ ที่จะมาตรวจเยี่ยมชาวบ้านนั้น ก็คือ 
           

14.00 น. ผู้ว่าฯ และคณะ เดินทางมาถึงที่ทำการ อบต. ซึ่งจะมีนายอำเภอ ปลัด กำนัน และ นายกฯ อบต. รอต้อนรับอยู่
14.15 น. นายอำเภอ กล่าวรายงานข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ พร้อมกับแนะนำหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ
15.00 น. กำนัน กล่าวรายงานข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน พร้อมกับแนะนำผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาต่างๆ ของตำบล
15.30 น. ผู้ว่าฯ รับฟังปัญหา และพูดคุยกับชาวบ้าน
16.30 น. ผู้ว่าฯ ออกเดินตรวจเยี่ยมตามบ้าน
17.00 น. ผู้ว่าฯ เดินทางกลับ

แต่ปรากฎว่า ตอนเช้าวันนั้นเอง คณะของผู้ว่าก็แจ้งมาว่า ผู้ว่าฯ ติดภารกิจด่วน หมายกำหนดการทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเหลือแค่หนึ่งในสาม นั่นคือ ผู้ว่าฯ มาถึง ก็รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน ออกเดินตรวจเยี่ยมชาวบ้าน แล้วก็เดินทางกลับ

พอกำนันรู้ ก็ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ไม่รู้ว่าโล่งอก หรือ เซ็งจัดกันแน่ เพราะอุตส่าห์ทำความสะอาดกันยกตำบลเสียเรี่ยมเชี่ยม
"...ก็ดีเหมือนกัน..." ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งพูดลอยๆ แบบไม่มีเหตุผลต่อท้าย

พอได้เวลาสี่โมงเย็น(เลื่อนจากเดิมลงมาอีกสองชั่วโมง) คณะของผู้ว่าฯ ก็เดินทางมาถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล มี นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ นายกฯ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน หลายสิบคน ไปร่วมต้อนรับ

เมื่อผู้ว่าฯ มาถึง ทุกคนก็ได้ทราบว่า กำหนดการจะเปลี่ยนไปอีก เพราะผู้ว่าฯ ไม่มีเวลาเดินตรวจเยี่ยมชาวบ้านแล้ว จึงจะเปลี่ยนไปเยี่ยมหน่วยงานในตำบลแทน

"...จะเอาที่ไหนล่ะ ไม่ได้จัดไม่ได้เตรียมอะไรไว้เลย..." นายกฯ อบต. กระซิบเสียงเครียดกับผู้ใหญ่บ้าน 4-5 คน ขณะที่กำนันกำลังกล่าวรายงานแนะนำหมู่บ้าน
"...กำหนดการก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา...เฮ้อ..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สามบ่นพลางส่ายหัว
"...จะให้ไปเยี่ยมหน่วยงานไหนล่ะ? โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก เด็กๆ มันก็กลับบ้านกันไปหมดแล้ว อนามัยก็มีเจ้าหน้าที่อยู่แค่สองคน กลุ่มแม่บ้าน ป่านนี้ก็ยังไม่กลับจากไร่จากนากันหรอก..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สี่ ชี้แจงอย่างจนใจ

ยืนเครียดกันอยู่สักพัก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ห้าก็เสนอขึ้นมาว่า
"...เอางี้สิ...ให้ผู้ว่าแกไปเยี่ยมชมรมผู้สูงอายุดีกว่า เดี๋ยวฉันไปเปิดที่ทำการไว้ให้ แล้วก็ช่วยกันเกณฑ์ไปสักสิบยี่สิบคน แค่ที่ยืนๆ อยู่นี่ก็คงพอ..."
พอได้ยินดังนั้น คนอื่นก็พยักหน้าเห็นด้วยทันที

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ห้าหัวไวจริงๆ เพราะ หนึ่ง ที่ทำการชมรมผู้สูงอายุ ก็อยู่ติดกับ ที่ทำการ อบต.นั่นเอง และ สอง ชาวบ้านที่เกณฑ์กันมาต้อนรับผู้ว่าฯ กว่าครึ่ง ก็เป็นคนแก่ คนเฒ่า สมาชิกชมรมทั้งนั้น ดังนั้น ทุกคนจึงช่วยกันจัดการทันที
"...ปลูกผักชีกันอีกแล้ว..." ผู้ใหญ่บ้านหมู่สามบ่นขำๆ
"...เอาเหอะ เขาอยากกิน ก็จัดให้เขาหน่อย..." นายกฯ อบต. พูดยิ้มๆ

พอเสร็จสิ้นการรายงาน(อย่างรวบรัด) คณะของผู้ว่าฯ ก็เดินตรงไปที่ชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวอยู่ไม่ไกลจาก อบต. ผู้เฒ่าผู้แก่สมาชิกชมรม มานั่งรอกันอยู่พร้อมหน้ากว่ายี่สิบคน ซึ่งอันที่จริง ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มเดียวกับที่ไปยืนต้อนรับผู้ว่าฯ นั่นเอง กระนั้น ก็ดูเหมือนผู้ว่าฯ จะไม่ได้สังเกตุ หรือไม่ก็เต็มใจที่จะมองข้าม ท่านผู้ว่าฯ จึงเข้าไปทักทายพูดคุยด้วยอย่างสนิทสนม

"...คุณตาอายุเท่าไรแล้วครับเนี่ย ยังดูแข็งแรงอยู่เลย" ท่านผู้ว่าฯ ทักตาชุ้ย ชายชราผิวเข้มร่างใหญ่ แกมีรอยสักทั่วตัว แต่หน้ายิ้ม ดูใจดีตลอดเวลา
"...ปีนี้ก็เจ็ดสิบห้าแล้วล่ะครับ" ตาชุ้ย ตอบยิ้มๆ
"โอ้โห...ยังดูแข็งแรงเหมือนเพิ่งอายุหกสิบเลยนะ" ผู้ว่าฯ หยอก เล่นเอาทุกคนหัวเราะครืน
"เมื่อก่อน คงทำไร่ทำนาเก่งน่าดูสินะ ถึงยังแข็งแรงอยู่อย่างนี้" ผู้ว่าฯ ถาม แต่ตาชุ้ยส่ายหัว
"เปล่าครับ...ผมไม่ได้ทำไร่ทำนาหรอก เมื่อก่อนผมเป็นมือปืน ยิงคนตายติดคุกอยู่ตั้งสิบกว่าปี เพิ่งจะออกมาได้สักเจ็ดแปดปีนี่แหละครับ" ตาชุ้ยตอบซื่อๆ เล่นเอา ท่านผู้ว่าฯ กับคณะเงียบกริบ แต่พวกชาวบ้านแอบปิดปากกลั้นหัวเราะกันแทบแย่

ตาชุ้ย เป็นอดีตมือปืน ตอนหนุ่มๆ โหดเหลือหลาย แต่พอออกจากคุกตอนแก่ ก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน ใจเย็น ยิ้มง่าย ไม่มีเรื่องราวกับใคร เข้าวัดถือศีลแปดทุกวันพระ แถมยังได้รับคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการวัดอีกต่างหาก

ท่านผู้ว่าฯ หัวเราะแหะๆ พยักหน้าเป็นเชิงรับรู้ ก่อนจะหันไปหาคุณยายอีกคนหนึ่ง ซึ่งกำลังนั่งเคี้ยวหมากหยับๆ อยู่ข้างๆ
"ยาย...ยังกินหมากอยู่อีกหรือ" ผู้ว่าฯ ทัก ยายไข่หันมายิ้มฟันดำปี๋
"จ้า...เลิกไม่ได้ร้อก...กินมาตั้งกะสาวๆ แล้ว..."
"ยายอายุเท่าไรแล้วจ้ะ" ผู้ติดตามคนหนึ่งของท่านผู้ว่าฯ ถามยาย
"ปีนี้ก็...แปดสิบเก้าแล้วล่ะ" ยายไข่ตอบทันที แกตอบคำถามนี้บ่อยเสียจนจำอายุตัวเองได้แม่น
พอยายไข่บอกอายุตัวเอง ก็เรียกเสียงฮือฮาจากคณะผู้ติดตามทันที
"โอ้โห...ยายจะเก้าสิบอยู่แล้ว ยังแข็งแรงอยู่เลย นี่เดินมาจากบ้านเองหรือเปล่า" ผู้ว่าฯ ถาม ยายไข่ใช้มือปาดน้ำหมากจากปาก พยักหน้าหงึกๆ
"บ้านก็อยู่เคียงๆ (ใกล้ๆ)นี่แหละ...เดินมาเองได้"
ผู้ว่าฯ นั่งลงข้างๆ ตั้งท่าจะคุยเป็นงานเป็นการ
"ยายมีเคล็ดลับอะไรถึงได้อายุยืนขนาดนี้ พอจะบอกผมบ้างได้มั้ยล่ะ เผื่อผมจะได้เอาไปเผยแพร่ให้ประชาชนคนอื่นเขารู้บ้าง"

คณะผู้ติดตามกระซิบกระซาบกัน คนหนึ่งหยิบกระดาษปากกาออกมาจด อีกคนบอกให้ กล้องโทรทัศน์จากเคเบิลทีวีเข้าไปเก็บภาพใกล้ๆ
แต่ยายไข่ ไม่ตอบคำถามผู้ว่าฯ แกเบะปาก ถอนหายใจเฮือกใหญ่ แล้วก็พูดว่า
"พวกเอ็ง...อย่าอยู่นานอย่างข้าเล้ย มันลำบาก...ทุกวันนี้ ข้าก็รอว่าเมื่อไรจะตายจะได้เลิกลำบากซะที"

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…