Skip to main content
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคต
ทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียว
คือ เกษตรเคมี


ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก


ว่ากันง่ายๆ พืชผักประเภทหนักยาอย่าง ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บล็อกโคลี่ จะหาไอ้ที่สารเคมีน้อยๆ นั้น ยากเหลือหลาย ผักสวยๆ แบบปลอดสารแท้ๆ นั้นแทบจะไม่มี มีแต่ปลอดภัย คือฉีดยา แต่พ้นระยะอันตรายไปแล้ว ซื้อไปบริโภคได้
ส่วนประเภทเบายา เช่น กระเพรา โหระพา ใบแมงลัก แตงกวา ผักชี แม้ไม่ค่อยมีศัตรูพืช แต่ก็ต้องฉีดยากันเชื้อราบ้าง

พืชผักแต่ละอย่างก็มีรายละเอียดในการดูแลแตกต่างกันไป ใครถนัดอย่างไหนก็ปลูกอย่างนั้น ใครถนัดหลายอย่าง ก็ปลูกได้หลายอย่าง
ถ้าจะปลูกหลายอย่าง อย่างละเล็กอย่างละน้อย แค่พอไว้กินเอง นั้นไม่มีปัญหา (แต่ถ้าคิดว่าจะปลูกไว้กินเอง เหลือค่อยเก็บขาย กลับไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะถ้าไม่สวย ก็ไม่มีใครซื้อ)

แต่ถ้าจะปลูกหลายอย่าง เพื่อขาย นอกจากจะต้องมีความขยันขันแข็งอย่างยิ่งยวดแล้ว ยังต้องมีทุนอย่างยิ่งด้วย
ก็ผักแต่ละอย่าง ค่าปุ๋ย ค่ายา มันน้อยเสียเมื่อไร
ปุ๋ยกระสอบละ 500-800 บาท
ยาฆ่าแมลงขวดละ 300-500 บาท
ฮอร์โมนเร่งการเติบโตขวดละ 400-600 บาท

ปลูกหลายอย่างก็ใช้ยาหลายตัว แถมยาสมัยนี้ก็มีหลายยี่ห้อ หลายชื่อเสียเหลือเกิน จะฉีดยาฆ่าหนอนสักชนิด มียาให้เลือกใช้ตั้ง สิบกว่าชื่อ มองขวดจนตาลายยังไม่รู้จะเลือกอะไรดี จะเลือกแบบมั่วๆ ก็ไม่ได้ เพราะราคาไม่ใช่ถูกๆ แถมถ้าใช้ไม่ได้ผล คุมหนอนแมลงไม่อยู่ ก็เสี่ยงที่จะเสียไปทั้งหมด

แล้วถ้าเกิดใครสักคน ไม่อยากใช้ยาฆ่าแมลง หรืออยากใช้ให้น้อยกว่าคนอื่น จะเกิดอะไรขึ้น
?
หนอน แมลง มันก็จะมารุมลงแปลงผักที่ฉีดยาน้อย หรือไม่ได้ฉีดยาน่ะซี
คืนเดียวเท่านั้น รับรองว่า เรียบ ไม่ต้องฟื้นกันเลย
ในเมื่อใครๆ เขาก็ฉีดกันทั้งนั้น แล้วใครจะกล้าเสี่ยงไม่ฉีด
เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ ผักปลอดสาร ฯลฯ ใช่ว่าชาวบ้านจะไม่รู้ แต่ก็ก็จนด้วยคำถามเดิมๆ  "ใครล่ะ จะกล้าเสี่ยง?"

ใครต่อใครจึงต้องหาทางฉีดยาคุมศัตรูพืชให้อยู่ ภายใต้งบประมาณที่ประหยัดที่สุด ทีนี้แต่ละคนก็มีความเชื่อ และความนิยมแตกต่างกันไป บ้างก็ชอบยี่ห้อ บ้างก็ชอบที่ชื่อ บ้างก็เน้นแต่ว่า เอายาที่ผลิตจากบริษัทนี้ๆ เท่านั้น 
พอตอนเอามาใช้ บ้างก็เอายาตัวนั้นผสมกับยาตัวนี้ บ้างก็เอายาตัวนี้ไปผสมกับฮอร์โมนตัวนั้น หรือ ยาสองตัวกับฮอร์โมนอีกตัวหนึ่ง ฯลฯ  หลายคนขี้เกียจจำ ขี้เกียจไปคิดค้นสูตร ก็ใช้ตามๆ คนอื่น ใช้ดีก็ใช้ต่อไป ใช้ไม่ดีก็เปลี่ยนไปลองตัวอื่น
แต่ก็มีอีกไม่น้อย ที่มี "สูตรลับ"  ซื้อปุ๋ย ซื้อยาอะไรมาจากที่ไหน ไม่มีเสียละที่จะบอกใคร กระทั่งกระสอบปุ๋ย ขวดยา ยังแอบซ่อนไว้ไม่ให้ใครรู้
มันคงจะเป็นความภาคภูมิใจประหนึ่งได้ครอบครองภูมิปัญญา(เคมีเกษตร)อันล้ำค่าไว้

หน้าแล้งปีนี้ ปลูกแตงโมกับมะเขือเทศกันเยอะ
แตงโมต้องใช้ความเชี่ยวชาญไม่น้อยเลย ต้องรู้พันธุ์ รู้ดิน รู้ปุ๋ย รู้ยา รู้เทคนิคในการปลูก การดูแล ไปจนถึงการตัดขาย และที่สำคัญที่สุดคือ รู้ตลาด
ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ง่ายๆ โดยเฉพาะถ้ายังตัดใจ ตัดลูกแตงโมทิ้ง ไม่ลง

ลุงเหมือน คนปลูกแตงโมมานานกว่ายี่สิบปี พูดไว้น่าฟัง
"...ถ้าต้นหนึ่งออกสามลูก เราเอาไว้ทั้งสามลูก จะไม่ดีสักลูก เอาไว้สองลูกได้ราคาครึ่งเดียว เพราะน้ำหนักไม่ดี แต่ถ้าเอาไว้ลูกเดียว ขายได้เต็มราคา เพราะแตงได้กินปุ๋ยเต็มที่..."
ที่อันตรายที่สุด คือถ้าถูกน้ำท่วม หรือน้ำซึมมาเจิ่งๆ นองๆ แตงโมมีสิทธิ์เน่าได้ทั้งไร่
ถ้าฝนตก ก็ต้องภาวนาอย่าให้ท่วม

มะเขือเทศดูแลง่ายกว่า เพาะกล้าในกระบะ ทำแปลงคลุมผ้าพลาสติก ปักไว้ไว้ผูกต้นตอนที่มันโต ถ้าดูแลดีๆ มะเขือเทศแค่ไม่กี่ไร่ ก็ได้ผลผลิตหลายตัน(หนึ่งพันกิโลกรัม)
ถ้าได้ราคาสักกิโลกรัมละสิบบาท ก็พอยิ้มออกไม่ขาดทุน
ถ้าได้ถึงกิโลกรัมละ 15-20 บาท ก็นอนยิ้มร่า ฝันดีไปได้หลายวัน
แต่ถ้าไปถึงกิโลกรัมละ 25-30 บาท ปีนั้นก็เตรียมปลดหนี้ปลดสิน จ้างลิเกมาเล่น จ้างหนังมาฉาย
และถ้าหากเกิดร่วงไปเหลือแค่กิโลกรัมละ 2-5 บาท ก็แค่ช้ำชอกกันไปอีกครั้ง เหมือนๆ ที่เคยผ่านมา ปีหน้าค่อยเสี่ยงดวงกันใหม่

ว่าตามจริง มะเขือเทศฉีดยาแค่ครั้งเดียวเท่านั้น คือตอนที่ลูกมันกำลังจะสุก กำลังจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง ตอนนั้นละ ที่หนอนแมลงจะพากันมาปาร์ตี้โดยมิได้รับเชิญ จังหวะนี้เท่านั้นที่จะชี้ชะตาชาวสวนว่าจะได้หรือจะเสีย จังหวะนี้เท่านั้นที่ต้องฉีดยาคุมให้อยู่

ยายปี่กับตาเปลื้อง ก็ปลูกมะเขือเทศเหมือนคนอื่นๆ ที่นาสามไร่ติดบ้านถูกเปลี่ยนให้เป็นแปลงมะเขือเทศ ส่วนที่ติดๆ กันนั้น ก็ล้วนพี่น้องเพื่อนบ้าน ปลูกมะเขือเทศเหมือนๆ กันทั้งนั้น ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องทำมาหากินกันทุกวัน

เรื่องอะไรก็คุยได้ แต่พอคุยเรื่องปุ๋ย เรื่องยาฆ่าแมลง ว่าใช้ตัวนั้นสิดี ตัวนั้นไม่ได้เรื่อง  ยายปี่กับตาเปลื้อง กลับหุบปากเงียบไม่คุยเรื่องนี้กับใคร ซึ่งก็ไม่มีใครว่าอะไร เพราะแกเคยปลูกมะเขือเทศได้ราคาทุกปี แกก็คงหวงสูตรของแกเป็นธรรมดา

"...ปีนี้ใช้ยาอะไรล่ะแก ?" ลุงเหมือน ถามสองตายาย ในวงเสวนาเย็นวันหนึ่ง
"...ไม่บอกหรอกโว้ย นี่มันสูตรลับเคมีเกษตร..." ตาเปลื้องว่า แล้วก็หัวเราะชอบอกชอบใจ
"...จะหวงไว้ทำไมล่ะ แบ่งๆ กันมั่งซี..." น้าต่วน คนปลูกมะเขือเทศที่ติดๆ กัน หันมาถามยายปี่
"...อ้าว...ของอย่างนี้ บอกกันง่ายๆ ได้รึ เกิดได้ผลดีกันหมด ของข้าก็ราคาตกเท่ากับพวกเอ็งน่ะสิ..." ยายปี่ไม่ยอมบอกท่าเดียว

พอถึงเวลาที่ต้องฉีดยา สองตายายตรงแน่วไปร้านขายเคมีเกษตรเจ้าประจำ บอกชื่อยาที่ต้องการ
"...อ๋อ ตัวนั้นเขาเลิกผลิตไปแล้วครับ..." คนขายบอก
"...อ้าว แล้วจะทำยังไงล่ะ ฉันเคยใช้แต่ตัวนั้นเสียด้วยสิ..." ยายปี่ชักกังวล
"...ใช้ตัวนี้ก็ได้ครับ แทนกันได้ มาจากบริษัทเดียวกัน..." คนขายหันไปหยิบยาอีกตัวหนึ่งมาให้ดู
"...แล้วใช้ เอ่อ..." ตาเปลื้องหันซ้ายหันขวา ป้องปากกระซิบเสียงเบาเหมือนกลัวใครจะได้ยิน
"...ใช้ผสมกับฮอร์โมนตัวเดิมได้เหมือนกันหรือเปล่าล่ะ ?"
"...อ๋อ ลุงเคยใช้แบบผสมฮอร์โมนใช่มั้ย? แต่ตัวนี้เขาไม่ให้ผสมอะไรนะ ให้ใช้แค่ตัวนี้ตัวเดียวก็พอ..." คนขายอธิบาย
"...แล้วมันจะได้ผลเหมือนเดิมเรอะ?..." ยายปี่หันไปถามตาเปลื้อง
"...ซื้อมาก่อนเหอะแล้วค่อยว่ากัน...ใส่ถุงเลยๆ..." ตาเปลื้องบอกคนขาย แล้วหันไปนับเงินส่งให้

คืนนั้นตอนสามทุ่ม ตาเปลื้องกับยายปี่ แอบมาฉีดยา เพราะกลัวว่าใครจะมาแอบดูสูตรของแก
"...ตกลงจะผสมฮอร์โมนดีหรือเปล่าวะ?..." ยายปี่ยังไม่แน่ใจ
"...เฮ่ย...แกก็ไปฟังไอ้คนขาย มันจะรู้ดีกว่าเราที่เป็นคนใช้ยาได้ยังไง ถ้ามันเหมือนกันมันก็ต้องผสม ไม่ผสมมันก็ได้ผลเท่าของคนอื่นน่ะสิ..." ว่าแล้วตาเปลื้องก็ผสมฮอร์โมนกับยาใส่ถังฉีดพ่นไปด้วยกัน
พอฉีดยาเสร็จ สองตายายก็กระหยิ่มยิ้มย่องว่า คราวนี้ มะเขือเทศของข้า คงจะดก คงจะงามยิ่งกว่าของใครแน่ๆ

ทว่า พอตอนเช้ามืด สองตายายมารดน้ำแปลงมะเขือเทศ ก็แทบจะเป็นลม เพราะยอดมะเขือเทศแทนที่จะชูขึ้นฟ้า กลับเหี่ยวเฉา สลบไสล ราวกับโดนน้ำร้อนลวก

พอยายปี่โวยวายเสียงดัง เพื่อนบ้านก็เลยพากันมาดู
"...ก็เมื่อคืนข้าพ่นยา เช้ามามันก็เป็นอีแบบนี้แหละ..." ตาเปลื้องเสียงสั่นๆ ยังตกใจไม่หาย
"...แกผสมยาอะไรเข้าไปล่ะ ?..." ลุงเหมือนถาม ตาเปลื้องกับยายปี่อิดๆ ออดๆ อยู่พักหนึ่ง กลัวเพื่อนบ้านจะรู้ความลับ แต่แล้วก็ต้องบอก เพราะผลลัพธ์มันเห็นอยู่ตำตา
"...ก็คนขายเขาบอกแล้วไม่ใช่รึ ว่าไม่ให้ผสมๆ แกก็ยังไปผสมอีก มันก็เลยร้อนน่ะสิ พอมันร้อนยอดมันก็เลยเหี่ยว..." ลุงเหมือนวินิจฉัย
สองตายายทำหน้าเหมือนจะร้องไห้แต่ก็ร้องไม่ออก
ก็ยอดมันเหี่ยวเสียแล้ว ต้นมันจะโตได้ยังไง แล้วถ้าต้นมันไม่โต ลูกมันจะโตได้ยังไง

น้าต่วน หัวเราะเยาะเย้ยอย่างไม่ปิดบัง
"...ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร แล้วเป็นไงล่ะ...สูตรลับเคมีเกษตร ยอดพับไปเลย..."

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…