Skip to main content
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน


ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง


ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว


ที่เคยใส่แต่ผ้าซิ่นสวยๆ เสื้อใหม่ๆ ก็ต้องกลับมาใส่ผ้าซิ่นเก่าๆ เสื้อเชิ้ตแขนยาวเก่าๆ ไปรับจ้างเขาเก็บผักบุ้งบ้าง ตัดหญ้าบ้าง ตามแต่ใครจะว่าจ้าง


ในวัยหกสิบที่ควรจะอยู่บ้านเลี้ยงหลาน ยายช้อยกลับต้องกลายเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการหาเงินเข้าบ้าน เนื่องจาก ตายิ่ง อดีตกำนัน ผัวของแกนั้น มีโรคประจำตัวหลายโรค ทำงานหนักไม่ได้ ยังดีที่พอช่วยดูแลสวนกล้วยหลังบ้านได้บ้าง

 

ส่วนลูกสองคนที่มีครอบครัวแล้วแต่ยังอยู่บ้านเดียวกันนั้น

รำยอง - ลูกสาว เรียนมาน้อย เคยทำงานในร้านตัดเย็บเสื้อผ้าในตัวอำเภอ ก็ต้องออกมาอยู่บ้าน เพราะไปทะเลาะกับเจ้าของร้าน เคยมีผัวที่แสนดี อยากได้อะไรก็หามาให้ ก็ต้องเลิกกับผัว เพราะชอบด่าพ่อผัวแม่ผัวอยู่เป็นประจำ เคยมีเพื่อนฝูงคบหากันหลายคนก็ต้องเลิกคบหากันไป เพราะชอบไปเอาเรื่องไม่ดีของคนนั้นคนนี้ไปว่าลับหลังให้คนอื่นฟัง ไปๆ มาๆ เลยไม่มีใครอยากคบ


อาจจะเรียกได้ว่า "เสีย" เพราะปากตัวเอง

กระนั้น รำยอง ก็ยังเชิดหน้าชูคอว่าข้าแน่ ไม่เคยแพ้ใคร


สามารถ - ลูกชาย ก็เรียนไม่สูง กระนั้น ยายช้อยก็ทั้งผลักทั้งดันให้เข้ารับราชการเป็นทหารชั้นประทวนจนได้ พอลูกชายได้เป็นทหาร ยายช้อยก็ป่าวประกาศไปทั่วว่า เดี๋ยวลูกก็ได้เป็นนายร้อย ตอนนี้เงินเดือนก็ร่วมหมื่นแล้ว ใครได้ฟังก็ไม่รู้จะตอบยังไง ได้แต่แอบกระซิบถามกันว่า ยายช้อยแกแกล้งโง่ หรือ แกคิดว่าคนอื่นโง่กันแน่ นายสามารถมีลูกสองคน เลิกกับเมียแล้ว แต่ก็มีกิ๊กเป็นระยะๆ


แปลกดีเหมือนกัน ที่ลูกทั้งสองคนล้วนเป็นม่าย และกลับมาอยู่บ้านพ่อแม่เหมือนเดิม

 

เป็นที่ทราบกันดีในหมู่บ้าน ว่าคนบ้านนี้ยกย่องเชิดชูความร่ำรวยเหนือสิ่งอื่นใด คนรวยคือคนดี คนจนคือคนเลว ต่อให้ชั่วช้าแค่ไหน ถ้าขับรถคันใหญ่ สวมใส่เฟอร์นิเจอร์ครบชุด ก็ย่อมจะเป็นคนดีในสายตาของครอบครัวนี้ แน่นอน พวกเขาทุกคนมีความคิดไปในแนวทางเดียวกันนั่นคือ พวกเขาเป็นคนรวย(เคยรวย) และมีหน้ามีตามากกว่าใครๆ ในหมู่บ้าน ฉะนั้น คนที่จะคบหากับพวกเขาได้ ก็ต้องเป็นคนมีฐานะเช่นเดียวกันเท่านั้น


ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่บ้านของครอบครัวนี้ จะไม่ค่อยมีใครอยากไปมาหาสู่เท่าใดนัก เพราะเขาจะไม่ต้อนรับคนที่จนกว่า


อันที่จริง หลังจากฐานะครอบครัวตกต่ำลง ยายช้อยดูจะเสียหน้าไปมาก เพราะเคยอวดร่ำอวดรวยไว้เยอะ พอต้องมารับจ้างเขา เสียงที่เคยดังเป็นลำโพงก็เบาลงไปหลายเดซิเบล


และแม้จะจนลง คนในครอบครัวนี้ก็ยังถือศักดิ์ศรีคนเคยรวยอย่างไรก็อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง

 

เรื่องอะไรต่อมิอะไรที่เป็นไปในทางเสื่อมเสียของครอบครัว ไม่มีใครอยากให้หลุดออกไปสู่ปากชาวบ้าน แต่ควันไฟนั้น ใครจะไปปิดมันได้เล่า เมื่อมีเรื่องก็ต้องมีคนรู้ ถึงไม่มีใครบอกก็ต้องมีคนไปสอดรู้จนได้ ทว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนๆ ยายช้อยก็ไม่เคยเอะอะโวยวาย หรือ ฟูมฟาย ได้แต่เก็บเงียบไว้เนื่องจากมีศักดิ์ศรีคนเคยรวยค้ำคออยู่


เรื่องที่รำยอง-ม่ายสาวผู้ก๋ากั่น ไปหว่านเสน่ห์ให้เด็กหนุ่มต่างหมู่บ้านในงานเลี้ยงอย่างไม่ค่อยจะงามนัก ยายช้อยก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น หรือ เรื่องที่รำยองไปป่าวประกาศรับสมัครน้องสะใภ้ไปทั่วหมู่บ้าน พลางคุยอวดว่า คนนั้นคนนี้ มาชอบน้องชายตัวเอง ซึ่งทำให้หญิงสาวที่ถูกเอ่ยชื่อซึ่งไม่เคยเหลียวมองนายสามารถด้วยซ้ำ พากันแค้นเคือง ยายช้อยก็ทำเป็นไม่ได้ยิน


เรื่องที่สามารถ - แวะเวียนไปทำคะแนนขายขนมจีบสาวสวยคนหนึ่ง ซึ่งก็คงไม่ผิดอะไร ถ้าหากสาวสวยคนนั้นจะมีผัวแล้ว เพียงแต่ผัวทำงานขับรถนานๆ จะกลับมาที ประมาณว่า ผัวเผลอแล้วเจอกัน ยายช้อยก็พูดทำนองว่า มันแค่ไปคุยกัน ไม่มีอะไร

 

ทว่า วันหนึ่ง ยายช้อยเป็นอันต้องโวยวายลั่นบ้าน อันเนื่องมาจาก ลูกสุดที่รักทั้งสองคน

เรื่องของเรื่องก็คือว่า

นายสามารถ หลังจากเป็นพ่อม่ายพวงมาลัยมาหลายเพลาก็ได้ไปตกลงคบหากับแม่ม่ายลูกติดคนหนึ่ง ซึ่งเข้าสเป๊คคือ บ้านรวย ชื่อ คุณนายจัน อายุไม่มากเท่าไร แต่ก็สี่สิบกลางๆ แล้ว


ครอบครัวของป้าช้อยให้การต้อนรับคุณนายจันเป็นอย่างดี คุณนายจันแวะเวียนมาค้างบ้านนี้ในวันหยุด บางทีก็พาลูกชายของแกมาเล่นกับลูกชายของนายสามารถซึ่งอยู่ในวัยเดียวกัน


คุณนายจันแกใจกว้างไม่เบา ซื้อนู่นซื้อนี่มาให้คนในครอบครัวยายช้อยทุกคน แกบอกว่า แกไม่ต้องการแต่งงาน ขอแค่ "อย่าหลอกกัน" ก็พอ


เมื่อทำท่าว่าจะได้สะใภ้คนใหม่แถมรวยเสียด้วยซี ยายช้อยก็เข้าฟอร์มเดิม ไปคุยขโมงว่า คุณนายจันแกร่ำรวยขนาดไหน แกใจดีขนาดไหน ฯลฯ ชาวบ้านก็ได้แต่พยักหน้าหงึกๆ รับฟังแต่โดยดี

 

ผ่านมาได้สักสามเดือน นายสามารถก็เริ่มออกลาย กลับเข้าฟอร์มเดิม นั่นคือตระเวนไปมีกิ๊กคนใหม่ ไม่สนใจคุณนายจันอีกต่อไป แม้ว่าคุณนายจันจะพยายามติดต่อ จะเทียวมาหาที่บ้าน นายสามารถก็จะหลบหลีกไปได้ทุกครั้ง


คราวหนึ่ง คุณนายจันแวะมาหา นายสามารถอยู่บ้าน แต่บอกให้รำยองไปบอกว่า ตัวเองไม่อยู่

รำยอง - นอกจากจะเข้าข้างน้องชายแล้ว ยังทำเกินหน้าที่ คือไปว่าคุณนายจันอีกว่า เขาไม่สนแล้วยังจะหน้าด้านมาเทียวหาอยู่ได้ กลับไปบ้านได้แล้ว แล้วไม่ต้องมาอีก ฯลฯ

คุณนายจัน ไม่ใช่พวกหน้าหนา แกไม่พูดอะไร หันหลังกลับขึ้นรถขับออกไปแต่โดยดี

สองพี่น้อง กระหยิ่มยิ้มย่อง ทำนองคนไม่รับผิดชอบหัวใจคนอื่น

 

ไม่กี่วันต่อมา คุณนายจันก็มาหายายช้อยที่บ้าน ขณะที่สองพี่น้องไม่อยู่ แกพูดไปก็ร้องไห้ไปว่า ทุ่มเทอะไรให้นายสามารถบ้าง จู่ๆ ก็มาทิ้งกันเสียเฉยๆ อย่างนี้ แถมรำยองยังมาชี้หน้าว่าแกเสียอีก แกผิดหวังแกเสียใจขนาดไหน แกระบายให้ยายช้อยฟังหมด

เท่านั้นเอง ความภาคภูมิใจในตัวลูกทั้งสองของยายช้อยก็พังทลาย

เย็นนั้น ทั้งรำยองทั้งสามารถ โดนยายช้อยด่าเช็ดร่วมชั่วโมง เด็กๆ ก็อ้าปากหวอ ไม่คิดว่าจะได้ยินคุณย่า ด่าคุณพ่อ กับคุณป้าของตัวเอง

 

หลังจากนั้น ยายช้อยก็มานั่งบ่นว่าลูกชาย-ลูกสาวตัวเองที่ร้านประจำหมู่บ้าน ทีแรกชาวบ้านก็เข้าใจว่า แกเป็นแม่ยายที่มีคุณธรรม ลูกสะใภ้โดนทำอย่างนั้นก็ทนไม่ไหว ที่ไหนได้


ยายช้อย แกได้แต่พร่ำบ่นว่า

 

"...ไอ้พวกโง่ เขารวยขนาดนั้น ยังไม่ยอมเอาเขาไว้ วันไหนเขาตาย สมบัติเขาก็ต้องเป็นของเรา มันยังไปไล่เขาอีก...ไอ้พวกโง่ ! โง่ ! โง่ ! บรมโง่ ! ..."

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…