Skip to main content
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่


ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...

\\/--break--\>
สุดท้ายด้วยสถานภาพที่ถูกยัดเยียดให้ว่าเป็นผู้เชื่อมสัมพันธไมตรี ทั้งคู่ก็จำต้องก้มหน้าก้มตายอมรับชะตากรรมแต่โดยดี

 

หลังการเดินทางไกล

ที่อยู่ใหม่ของทั้งคู่อยู่ในตู้กระจก แม้จะกว้างขวางและถูกจัดให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ แต่มันก็ยังไม่ใช่บ้าน


มาอยู่ได้ยังไม่ทันจะชินกับสภาพแวดล้อม ผู้คนก็แห่แหนกันมาดู ราวกับทั้งคู่เป็นตัวประหลาด ...ไม่ใช่สิ พวกเขามาดูด้วยความชื่นชมต่างหาก ลูกเด็กเล็กแดงก็ล้วนแต่ยินดีปรีดาที่ได้มาเห็นตัวเป็นๆ ในตู้กระจก


มันคงเป็นหน้าที่หลักของทั้งคู่ ในการให้ความบันเทิงแก่ผู้เข้าชม เพียงแค่นั่งกินอาหารหรือเดินไปเดินมา ผู้คนก็ยิ้มแย้มตื่นเต้น ...ช่างน่ารักเสียจริงๆ


เมื่อทั้งคู่มาอยู่ได้ไม่นาน สินค้าต่างๆ เกี่ยวกับตัวทั้งคู่ก็ถูกผลิตออกขาย และแน่นอนว่าต้องขายดี แม้จะไม่ถึงขนาดเทน้ำเทท่า แต่ก็มากพอที่จะทำให้ผู้ผลิตยิ้มได้

 

ไม่เคยมีใครถามว่า ทั้งคู่พอใจกับสภาพแวดล้อมใหม่แค่ไหน แต่ก็เดาเอาเองว่าคงจะพอใจ เพราะทั้งคู่กินได้ นอนหลับ ไม่แสดงอาการหงุดหงิดหรือปรับตัวไม่ได้ เมื่อเห็นดังนั้น พวกเขาจึงดำเนินการแผนการต่อไป


ไม่มีใครถาม(ตามเคย)ว่าทั้งคู่ รักกัน ชอบกัน หรือเปล่า แต่พวกเขาต้องการให้ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน


พวกเขาพยายามสารพัดวิธี แต่ไม่อาจเปิดเผยให้สังคมรับรู้ได้ เนื่องจากเกรงคำครหา ข่าวที่รั่วออกมาก็มีอยู่หลายกระแส เช่น ให้ดูหนังโป๊ ให้กินไวอากร้า พวกเขาใช้วิธีคิดแบบคนไปใช้กับสัตว์


หรือว่า...นี่คือความบ้าชนิดหนึ่งของคน ?

 

ในที่สุด เมื่อกระตุ้นอย่างไรก็ไม่ได้ผลแล้ว พวกเขาจึงหันมาใช้วิธีลัดด้วยการจับผสมเทียม ฉีดน้ำเชื้อเข้ามดลูกโดยตรงเสียเลย


ในฐานะที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน ตัวเธอจึงไม่มีสิทธิ์อุทธรว่าถูกบังคับขืนใจ ทั้งไม่มีสิทธิ์ถามในฐานะสัตว์ว่า เธอถูกกระทำเช่นนี้ด้วยเหตุผลใด


พวกเขาย่อมอ้างว่า ทำไปเพื่อดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของเธอซึ่งเหลืออยู่เพียงน้อยนิดให้สืบต่อไป แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงกลับมีมากกว่านั้น

 

เอาเป็นว่า...ในที่สุด เธอก็ตั้งท้องทั้งๆ ที่เธอไม่อยากจะตั้งท้อง และไม่ว่าจะอยากหรือไม่อยากมีลูก วันหนึ่ง เธอก็ได้คลอดลูกออกมา สร้างความตื่นตะลึง ตื่นเต้น ตระหนก ยินดีให้กับพวกเขาเป็นล้นพ้น


แล้วเธอก็ค่อยๆ เข้าใจ เหตุผลที่แท้จริงที่เธอต้องเดินทางมาสู่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมกับเพศตรงข้ามที่เธอไม่ได้รัก เพราะทันทีที่เธอคลอดลูก ลูกของเธอก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ของอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง ตามแต่ใครจะให้คุณค่า

 

  • สัญลักษณ์ของมิตรภาพระหว่างสองประเทศ

  • สัญลักษณ์ของความก้าวหน้า และความสำเร็จของเทคโนโลยีผสมเทียม

  • สัญลักษณ์ของความรุ่งโรจน์ โชติช่วง ของธุรกิจการท่องเที่ยว

  • สัญลักษณ์ของความคลั่งไคล้ในสิ่งมีชีวิตที่ดูน่ารักน่าทะนุถนอม ฯลฯ

 

ข่าวโทรทัศน์ ข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ ต่างรายงานเรื่องของเจ้าตัวน้อย-ลูกของเธออย่างใกล้ชิดทุกวัน วันละหลายครั้ง แล้วก็ตามเคย-ตามประเพณีที่สืบทอดกันมาของสังคมนี้ องค์กรที่ดูแลเธอแม่-ลูก ประกาศให้มีการประกวดตั้งชื่อลูกของเธอ และ- - ไม่น่าเชื่อเลย ราวกับว่าสิ่งนี้คือวาระแห่งชาติ ไปรษณียบัตรนับแสนนับล้านใบถูกขายออกไป เพื่อให้ผู้คนได้ช่วยกันตั้งชื่อ-เลือกชื่อ ซึ่งมีเป้าหมายแห่งการสร้างสรรค์นี้คือเงินรางวัลจำนวนล้านบาท


ผู้คนจากทั่วประเทศทยอยเดินทางมาเยี่ยมชมเธอและลูกน้อยราวกับว่า นี่คือสิ่งมีชีวิตที่พิเศษที่สุดในโลก นี่คือของขวัญจากสรวงสวรรค์ที่ประทานให้แก่ชาวเราในประเทศเล็กๆ แห่งนี้


ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อลูกน้อยของเธอเติบโตจนเห็นสีสันบนเรือนร่างชัดเจน และพบว่า ลูกน้อยของเธอมีลักษณะพิเศษบางอย่างที่ไม่พบในพวกพ้อง พวกเขาก็ยิ่งตื่นเต้นจนเพ้อคลั่ง

"...นี่คือความพิเศษเพียงหนึ่งเดียว นี่คือความเป็น unique ที่ไม่มีอีกแล้วในโลก..."

 

อา...สำหรับประชาชนในประเทศโลกที่สามที่คลั่งไคล้ในความเป็น "ที่สุดในโลก" สิ่งนี้ช่างมีความหมายมากมายเหลือเกิน

 

เมื่อลูกเธอเริ่มแข็งแรง พวกเขาก็จัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โตให้ เชิญคนใหญ่คนโตมาร่วมงาน และดูเหมือนว่า... การเฉลิมฉลองครั้งนี้ คงจะเป็นการเริ่มต้นที่ไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ เพราะ เธอกับลูกน้อย กำลังจะกลายสภาพเป็น สัญลักษณ์ใหม่ และความหวังใหม่ของธุรกิจการท่องเที่ยวที่จะดึงดูดเงินให้เข้ามาสู่พื้นที่อีกครั้งหนึ่ง

 

น่าสงสัยว่า หากวันหนึ่งที่เธอและลูกน้อยต้องกลับบ้านเกิดเมืองนอน พวกเขาเหล่านี้จะร่ำไห้อาลัยอาวรณ์หรือเปล่านะ ? และถ้าพวกเขาร่ำไห้ จะเป็นเพราะอาลัยเธอกับลูกน้อย

 

หรืออาลัย การลงทุนที่ทุ่มเทไป กับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ต้องสูญเสียไป เพราะไม่มีสองแม่ลูกอีกแล้ว ?

 

* (ป.ล.นับจากเธอคลอด เพศผู้ ผู้มีสถานะเป็นพ่อของลูกของเธอ หมดบทบาทในละครฉากนี้ และถูกลืมเลือนจากสังคมไปทันที ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องปกติของสังคมนี้ด้วยเช่นกัน)

 

 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…