Skip to main content

20080130 ภาพประกอบ หัวข้อคำตอบอยู่ในผืนดิน

“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์ แถมปีที่สองก็ไม่ต้องไปฝากอีกมันมีของมันสองหน่อแล้ว ธรรมชาติจะให้เรามากขึ้นเรื่อยๆ...”
(คำเดื่อง ภาษี ปราชญ์ชาวบ้านผู้ริเริ่มการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ)

ครอบครัวของแม่ผมเป็นครอบครัวชาวนา ตากับยายยังทำนาอยู่แม้ว่าลูกทุกคนจะมีครอบครัวไปหมดแล้ว
ที่นาของตามีอยู่หลายสิบไร่ นอกจากนี้ตายังเลี้ยงวัว และมีบ่อปลาอีกหลายบ่อ  พอถึงหน้านา รอบบ้านตาจะกลายเป็นทุ่งข้าวเขียวสุดลูกหูลูกตา ทุกช่วงปิดเทอมผมจะได้ไปอยู่กับตา ช่วยตาเลี้ยงวัวบ้าง จับปลาบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็จะวิ่งเล่นตามประสาเด็ก ภาพท้องนา จึงเป็นภาพที่อยู่ในใจผมมาตลอด

เมื่อผมอายุได้ประมาณสิบขวบ ตาให้ผมได้ลองดำนาเป็นครั้งแรก ในวัยนั้น อะไรแปลกๆ ใหม่ๆ คือเรื่องน่าสนุกทั้งสิ้น เมื่อรู้วิธี ผมก็โหมทำทั้งวัน สนุกอย่างลืมเหน็ดลืมเหนื่อย ผลของการดำนาวันแรก ผมเลยได้เป็นไข้นอนซมอยู่บนเตียงเนื่องจากตากแดดทั้งวัน คุยถึงเรื่องนี้ทีไร ตากับยายจะหัวเราะด้วยความเอ็นดูทุกครั้ง

หลังจากนั้นไม่นาน ตาจากไปด้วยโรคไต ยายขายนาส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็ให้เขาเช่า วัวถูกขายไป บ่อปลาถูกถม ผมไม่ได้กลับไปที่นั่นอีกเลย

ผมเติบโตเช่นเดียวกับบุตรข้าราชการทั่วไป จบมอหกต่อปริญญาตรี จบแล้วหางานทำ วนเวียนเข้าๆ ออกๆ เป็นลูกจ้างอยู่นานปี ก่อนจะพบหนทางของตัวเอง อาจเพราะบางสิ่งในวัยเด็กยังอยู่ในความทรงจำอย่างยาวนาน ผมจึงหวนหาวันคืนในท้องนามาตลอด

ยี่สิบปีเต็มนับจากครั้งแรกที่ผมได้ดำนา ผมได้ดำนาอีกครั้งบนที่นาแปลงเล็กๆ ของมูลนิธิที่นา  แม้จะเป็นเพียงที่นาแปลงเล็กๆ ที่แบ่งให้ทุกคนได้ลองทำคนละแถว สองแถว แต่มันก็ทำให้ผมได้สัมผัสกับประสบการณ์การดำนาอีกครั้ง

แสงแดด
พื้นเลนในท้องนา
ต้นกล้าข้าวเหนียวต้นเล็ก

ในอดีต ก่อนที่การปฏิวัติเขียวจะเปลี่ยนชีวิตมนุษย์ไปค่อนโลก ผืนดินคงอุดมกว่านี้ ธรรมชาติคงสมบูรณ์ยิ่งกว่านี้ เพียงแค่หว่านข้าวลงในแปลง ปล่อยให้สายลม แสงแดดและพื้นดินดูแล เมล็ดข้าวก็เติบโตจนกลายเป็นต้นข้าว ที่เต็มไปด้วยรวงข้าว มีเมล็ดข้าวในแต่ละรวงนับสิบนับร้อยเมล็ด หรือจะเพาะจากเมล็ดข้าว ให้เป็นต้นกล้า จากนั้นก็ดำนา ปักดำกล้าข้าว 3-4 ต้นเป็นหนึ่งกอ ทำไปทีละจุดๆ จนเต็มท้องนา ผ่านวันผ่านคืน ข้าวก็จะเติบโตเป็นแถวแนว เขียวไปทั้งท้องทุ่ง

หากไม่ได้ลงมือดำนา หากไม่ได้เฝ้ามองการเติบโตของต้นข้าว หากไม่ได้ลงมือเก็บเกี่ยว หากไม่ได้สีข้าว
หากไม่ได้หุงข้าว และหากไม่ได้ลิ้มรสข้าวที่ปลูกเอง ไหนเลยจะรับรู้ถึงความรักอันไพศาลจากธรรมชาติ

ธรรมชาติไม่เคยเรียกร้องสิ่งใด นอกจากให้ ทั้งยังให้มากเกินกว่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ แต่ความต้องการของมนุษย์กลับมากยิ่งกว่าที่ธรรมชาติมอบให้ และไม่เคยเพียงพอ นั่นจึงเป็นโศกนาฏกรรมตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ขณะที่ดำนา ผมเกิดความคิด ความรู้สึกหลายอย่าง เหมือนได้ย้อนกลับไปในวันที่ได้ดำนาเป็นครั้งแรก เพียงแต่ครั้งนี้มันมากกว่าความสนุกประสาเด็กในวันวาน

หากการวิปัสสนา คือหนทางแห่งการเรียนรู้ตนเอง ทำให้เห็นทุกข์และหาหนทางที่จะลด หรือไปให้พ้นจากความทุกข์

การได้ผลิตอาหารเองเช่นการปลูกข้าว ก็เป็นหนทางที่ทำให้เห็นความจริงว่า ชีวิตมนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่อาจหลีกพ้น และการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติเท่านั้น จึงจะเป็นหนทางสู่สันติ

หากความรักคือคำตอบ ธรรมชาติซึ่งเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก็มีคำตอบสำหรับทุกคำถาม

เมื่อการดำนาเสร็จสิ้น ผมนั่งมองแนวต้นกล้าเบี้ยวๆ เฉๆ ของตนเองและชาวนาสมัครเล่นทั้งหลายแล้วก็ให้นึกขำ
แน่นอน ความสำคัญของมันย่อมอยู่ที่การเติบโตของต้นข้าวไม่ใช่ความเป็นระเบียบเหมือนแถวทหาร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเที่ยงตรงสม่ำเสมอของระยะห่างก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตเช่นกัน

พวกเราเหมือนเด็กปอหนึ่งที่เพิ่งหัดเขียนกอไก่ กว่าจะเขียนได้เต็มหน้ากระดาษก็โย้ไปเย้มา  ขณะที่ชาวนาผู้ปลูกข้าวมาทั้งชีวิต เหมือนกับช่างอักษรผู้มีลายมืออันหมดจดงดงาม บรรจงเขียนอักษรแต่ละตัวด้วยความชำนาญ รวดเร็ว และเป็นระเบียบยิ่ง ทั้งเมื่อเขียนเสร็จแล้ว ต้นข้าวแต่ละกอ แต่ละแถวก็มีระยะห่างราวกับใช้ไม้บรรทัดวัด

ชาวนา นำเมล็ดข้าวหนึ่งเมล็ดไปฝากผืนดิน แล้วผืนดินก็คืนเมล็ดข้าวอีกสิบร้อย พัน หมื่นเมล็ดให้แก่ชาวนา

บางที เมื่อถึงวันหนึ่ง ผมอาจจะหมดความสนใจในการจับดินสอ ปากกา แล้วหันไปขีดเขียนบนผืนดินแทน มันคงจะคล้ายกับการจับดินสอหัดเขียนกอไก่อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่การดุ่มเดินไปเพียงลำพังแน่นอน เพราะผมรู้ว่าปลายทางของการทำงานนี้อยู่ที่ไหน

สักวันหนึ่ง...

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
 ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี  ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ  ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…