Skip to main content

20080306 ภาพปกหนังสือ สนทนากับพระเจ้า 2

“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำ
ความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่
สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายใน
ให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”

(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)

สำหรับผู้ที่เคยอ่านสนทนากับพระเจ้าเล่ม 1 มาแล้ว การได้อ่านสนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 ในรอบแรกๆ เป็นไปได้ที่จะรู้สึกแตกต่าง ไม่คุ้นเคย ด้วยเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นหนักไปในเรื่องปัญหาที่มนุษยชาติกำลังประสบร่วมกันอยู่ ทั้งความอดอยากหิวโหย ความเป็นธรรมในด้านเศรษฐกิจ-สังคม, การศึกษา, การจัดการทรัพยากร ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า หากเล่ม 1 คือการทบทวนตนเอง เล่ม 2 ก็คือการทบทวนสังคมโลก และที่ดูเหมือนจะยอกย้อนก็คือ เมื่อพิจารณาถึง สาเหตุสำคัญของทุกปัญหาในโลก เรากลับต้องย้อนมาทบทวนจิตสำนึกของตนเอง

“...เธอไม่อาจแก้ปัญหาที่กระหน่ำมนุษยชาติอยู่นี้ได้ด้วยมาตรการของรัฐบาลหรือกลไกทางการเมืองหรอกนะ เธอพยายามทำอย่างนี้มาเป็นพันๆ ปีแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเกิดได้ที่เดียวเท่านั้นคือ ในหัวใจของมวลมนุษย์...” (หน้า 231)

ความจริงที่ตีแสกหน้าเรานั่นคือ ข้อความที่ว่า หลายพันปีแห่งอารยธรรมมนุษย์ จิตสำนึกของเราไม่ได้วิวัฒน์ไปไกลสักเท่าใดเลย เรายังคงปล่อยให้ผู้คนมากมายอดอยากหิวโหย เรายังคงยอมรับระบบใครดีใครได้ให้คงอยู่ต่อไปในสังคม เรายังคงข่มขืนทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง เรายังคงก่อสงครามทำลายชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยความเห็นแก่ตัวอย่างสุดโต่ง และเรายังคงออกกฎหมายกันไม่หยุดหย่อนเพื่อบังคับให้ทุกคนเป็น “คนดี”

“เรา” ที่หมายถึงมนุษย์ทุกคน ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบที่มีต่อโลกที่เราอยู่อาศัย ไม่ว่าจะชาวป่าผู้อยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ หรือชาวเมืองผู้อยู่กับความศิวิไลซ์ก็ตาม, แน่ละ หากมองอย่างปัจเจก ใครก็ย่อมกล่าวได้ว่า ฉันไม่ได้ฆ่าใคร ฉันไม่ได้ตัดไม้ทำลายป่า ฉันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกครองที่ก่อความเดือดร้อนให้กับชนชั้นล่าง แต่ในฐานะปัจเจก มีใครบ้างเล่าที่ดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสังคม?

ทุกชีวิตล้วนต้องเกี่ยวพันกับสังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมือง ที่ไม่ยินยอมให้สิทธิการดำรงตนอย่างโดดเดี่ยวแก่ผู้ใด ฉะนั้น ปัญหาที่เกิดกับสังคม ไม่ว่าใกล้หรือไกลตัว มนุษย์ทุกผู้ล้วนเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น ปัญหาสำคัญก็คือ สำนึกรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละคน ไม่ได้มีมากพอที่จะขับเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ได้เลย

ถามว่า การเปลี่ยนแปลงในระดับจิตสำนึกนั้นควรเริ่มต้นที่ใด? ที่ใคร?
“...จิตสำนึกที่แผ่ขยายไปทั่วโลก คือสิ่งจำเป็นสำหรับตอนนี้ ทว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างไรใช่ไหม...ต้องมีใครสักคนเริ่มไง โอกาสรอเธออยู่ตรงหน้าแล้ว เธอเป็นบ่อเกิดของจิตสำนึกใหม่ได้ เธอสามารถเป็นแรงบันดาลใจ จริงๆ แล้วเธอนั่นละที่ต้องเป็น...” (หน้า 232)

ในส่วนของความเห็นของ “พระเจ้า” ต่อคำถามในเรื่องสังคม ข้อแนะนำให้ยกเลิกรูปแบบเดิมๆ ขององค์กรในโครงสร้างของสังคม อาจดูเหมือนแนวคิดแบบอนาธิปไตย แต่เหตุผลที่ว่า แท้จริงแล้ว การวิวัฒน์สู่จิตสำนึกใหม่ของมนุษยชาติ มีปัญหาอยู่ที่ใครบางคนไม่ยอมให้มีการแบ่งปัน หรือเปลี่ยนแปลงเพราะมันคือผลประโยชน์มหาศาล รวมทั้งการเปิดเผยระบบการเงินที่จะทำให้ “ผู้คนไม่สามารถทำในสิ่งที่ตนไม่อยากให้คนอื่นรู้ได้อีกต่อไป” เป็นข้อสังเกตที่น่าพิจารณามาก

โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าหากใช้ “การเปิดเผย” (visibility)  ซึ่งเป็นความจริงที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา เป็นรากฐานของทุกอย่างของสังคม ความคดโกง ความไม่เป็น ความไม่เสมอภาคต่างๆ ในสังคมจะหมดสิ้นไปทันที ซึ่งแน่ละ ผู้มีอำนาจและผู้มีเงินตราในสังคมย่อมต่อต้านเรื่องเหล่านี้อย่างถึงที่สุด และหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็ชวนให้คิดเหลือเกินว่า หรือแท้จริงแล้ว ชนชั้นนำเหล่านี้นี่เอง เป็นตัวขัดขวางการวิวัฒน์ของจิตสำนึกใหม่ของสังคม?

การคาดหวังให้การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นที่จุดบนสุดของสังคมแล้วแผ่ขยายลงมาสู่เบื้องล่าง คืออุดมคติที่เป็นเพียงภาพลวงแห่งความฝันของการปกครองทุกระบอบในโลก ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย, เผด็จการ,สังคมนิยม, ราชาธิปไตย หรือแบบใดก็ตามแต่ ผู้คาดหวังถึงสิ่งดีงามจากผู้ปกครองมักจะต้องพบกับผลลัพธ์เดียวกันทั้งสิ้นนั่นคือ ความผิดหวัง

เราไม่อาจหวังให้ผุ้มีอำนาจทำให้สังคมดีขึ้น เช่นเดียวกับเราก็ไม่อาจหวังได้ว่า สักวันหนึ่งหากเรามีอำนาจเราจะเปลี่ยนสังคมให้ดีอย่างที่เราต้องการ เพราะนอกจากจะเป็นจริงได้ยากแล้ว ยังไม่มีใคร(แม้แต่ตัวเรา)ที่จะกล้ารับประกันว่า หากวันใดเรามีเงิน มีอำนาจ เรายังคงเป็นเราคนเดิมอยู่หรือไม่ มีตัวอย่างของคนมากมายที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อได้ขึ้นเถลิงอำนาจ จากที่เคยมีความสามารถมีความดีพอเป็นความหวังอยู่ได้บ้าง ก็กลับกลายเป็นมัวเมาเสพติดในอำนาจ และเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้สังคมแตกแยก

เราไม่อาจหวังให้ใครดีได้ ชีวิตและชะตากรรมของผู้อื่นคือสิทธิ์ของผู้นั้น ไม่ใช่ของเรา
สิ่งเดียวที่เราหวังได้ คือตัวเราเอง
จิตสำนึกใหม่ ท่ามกลางสังคมที่กำลังล่มสลาย อยู่ภายในตัวเราทุกคน
โลกอารยะหรือโลกพระศรีอาริย์ที่ทุกคนใฝ่ฝัน อาจอยู่เพียงแค่ “ปลายจมูก” ดังที่ท่านพุทธทาสเคยกล่าวไว้ แต่เราคาดหวังไปไกล จนมองข้ามความเป็น “ผู้สร้าง” หรือศักยภาพของตัวเราเอง

หากความหวังใดๆ ไม่ได้ก่อเกิดขึ้นจากตัวเราแล้ว เรายังจะหวังได้ที่ใคร ?

** ขอขอบคุณ คุณอัฐพงศ์ เพลินพฤกษา สำหรับหนังสือสนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 และความปรารถนาดีเสมอมา




 

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก